
แจ้งความปลัด อบต.
เรื่องมีอยู่ว่า เช้าวันหนึ่งพนักงานอบต.แต่งตัวสวมเสื้อเชิตสีขาวแขนยาว กางเกงสีดำนุ่งทับเรียบร้อยและใส่รองเท้าหนัง (แบบที่นักกฎหมายแต่งกัน) ระหว่างเดินเข้ามาเซ็นต์ชื่อทำงาน ปลัดซึ่งอยู่บริเวณนั้น ก็ได้กล่าวกับพนักงานคนดังกล่าวต่อหน้าเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ว่า "เก่ง (นามสมมุติ) แต่งตัวไว้ทุกข์ให้กับตัวเองหรือไง" โดยที่พนักงานอบต. คนดังกล่าวไม่ได้กล่าวตอบโต้ หรือแสดงกิริยาใดๆ เมื่อเซนต์ชื่อเสร็จก็เดินออกไปตามปกติ
รบกวนขอสอบถามเพื่อนๆนิติกรเพื่อเป็นข้อคิดเห็นในการพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไปว่า พฤติการณ์ดังกล่าว ถ้าท่านเป็นพนักงานที่เข้ามาเซ็นต์ชื่อ ท่านจะแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับการกระทำของปลัดหรือไม่ เพราะเป็นการดูหมิ่น ดูถูก เหยียดหยาม ไม่ให้เกียรติ พนักงาน หรือหากท่านมีข้อเสนอเนะอื่นก็ช่วยแนะนำด้วย ขอบคุณครับ
นิติกร 101.109.176.* [ วันพุธ ที่ 10 สิงหาคม 2559 เวลา 14:55 น. ]
การพูดเพียงเท่านี้เป็นการดูหมิ่น ดูถูก หรือเหยียดหยามแล้วหรือ
โดยคุณ นิติกรgan 1.179.170.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 09:53 น. ] ผู้ตอบคนที่ 1
[ ลบคำตอบที่ 1 ]
พูดเพียงแค่นี้ ยังไม่ถือว่าดูหมิ่นเหยียบหยามหรอก ดูที่เจตนา เขาอาจจะไม่ได้มีเจตนาก็ได้
คิดมากไปหรือเปล่า อะไรนิดอะไรหน่อยไม่ได้
โดยคุณ on 14.207.60.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 10:32 น. ] ผู้ตอบคนที่ 2
[ ลบคำตอบที่ 2 ]
มาตรา 397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.231.* [ วันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม 2559 เวลา 09:20 น. ] ผู้ตอบคนที่ 3
[ ลบคำตอบที่ 3 ]
หากกลับกัน ปลัด ชื่อ เก่ง และโดนถามว่า
" ป เก่ง (นามสมมุติ) แต่งตัวไว้ทุกข์ให้กับตัวเองหรือไง"
ผลคือ
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.235.* [ วันอาทิตย์ ที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 10:04 น. ] ผู้ตอบคนที่ 4
[ ลบคำตอบที่ 4 ]
ต้องขอขอบคุณ คุณนิ๋ง ที่ช่วยกรุณานำข้อกฎหมายมาชี้แนะ และเป็นคำตอบเป็นประโยชน์มากครับ
การแสดงความคิดเห็นใดๆ ของนักกฎหมาย ถ้าอยู่บนพื้นฐานของข้อกฎหมายเช่นคุณนิ๋ง โดยไม่ได้ใช้ความรู้สึกส่วนตัวของเราเองลำพัง ปัญหาในบ้านเมืองคงลดลงไปเยอะ
โดยคุณ นิติกร 182.53.195.* [ วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม 2559 เวลา 16:23 น. ] ผู้ตอบคนที่ 5
[ ลบคำตอบที่ 5 ]
ความผิดฐานนี้ มีทั้ง
ข่มเหง
รังแก
รำคาญ
คุกคาม
อับอาย
เพศ
อย่างใด อย่างหนึ่ง...
ก็เข้าฐานความผิด
และกรณีลหุโทษ ส่วนใหญ่ไม่ดูเจตนา ...
ไม่เหมือนความผิดในภาค 2
ต่างกันมาก...
แม้เป็นความผิดลหุโทษ แต่หากผู้เสียหายเอาเรื่อง (ถึงที่สุด)
โอกาส จำคุก ก็มีได้เสมอ....
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2518
นายปรีชา โจทก์
ร้อยตำรวจโทสุทธี ที่ 1 นางสุนีย์ ที่ 2 จำเลย
ป.อ. มาตรา 1(3), 310, 397
จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุ เป็นเพียงขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวโจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แต่เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้าน แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถาน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397
________________________________
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์จอดขวางถนนซอยเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถนำรถยนต์ออกไปจากซอยได้ เป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโจทก์ให้ปราศจากเสรีภายในร่างกาย และเป็นการรังแกข่มเหงและก่อความเดือดร้อนรำคาญต่อโจทก์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310, 397 และ 83
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง มีคำสั่งประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ให้จำคุกจำเลยคนละ 15 วัน และปรับคนละ 500 บาท โทษจำคุกให้ยกเสีย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุนั้น โจทก์ไม่ได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่อย่างใด โจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยนั้นได้ จำเลยเพียงแต่ขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ดังโจทก์ฎีกา
ส่วนฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะถอยรถออกไปจำเลยมิได้มีเจตนาจะปิดกั้นไม่ให้โจทก์เอารถออก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ยอมถอยรถให้โจทก์ออกเป็นการรังแกข่มเหงโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะเป็นซอยในที่ดินของนางสวรรค์ สุวรรณเนตร ซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้านอยู่อาศัย แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในที่ดินในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397
พิพากษายืน
( พิชัย รชตะนันทน์ - ชุ่ม สุนทรธัย - อุดม ทันด่วน ) หมายเหตุ
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.230.* [ วันอังคาร ที่ 23 สิงหาคม 2559 เวลา 10:58 น. ] ผู้ตอบคนที่ 6
[ ลบคำตอบที่ 6 ]