• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

การเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ที่อบต มีการเบิกจ่ายเงินผู้สูงอายุ โดยให้ นักพัฒนาชุมชน เป็นคนยืมเ

เริ่มโดย admin, 18-05-2018, 08:01:54

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

admin



การเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ที่อบต มีการเบิกจ่ายเงินผู้สูงอายุ โดยให้ นักพัฒนาชุมชน เป็นคนยืมเงินมาเบิกจ่าย โดยในการเบิกจะทำฎีกาเงินยืม แล้วส่วนการคลังจะออกเชคให้ ซึ่งจะต้องเอาเงินเข้าบัญชี โดยทุกครั้ง นักพัฒนาชุมชน จะโอนเข้าบัญชีซึ่งเป็นชื่อของตนเอง แล้วถอนออกมาทันที หลังจากจ่ายเงินเสร็จก็ทำฎีกาส่งใช้เงินยืม เช่นนี้ ถือว่าปฏิบัติ ถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ครับ
- การนำเงินเข้าบัญชี ตนเองจะถือว่ามีพฤติกรรม ส่อไปในทางไม่สุจริต หรือผิดระเบียบไหมครับ โดยทางปลัด นายก ก็ทราบมาโดยตลอด

ชี้แนะด้วยครับ

นักพัฒ 1.1.214.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 2 สิงหาคม 2555 เวลา 21:41 น. ]



เรื่องนี้มีของกรณีคือ
หนึ่ง การจ่ายเงินตามสิทธิ
สอง การยืมเงิน

หากเป็นกรณีที่หนึ่งคือ การจ่ายเงินตามสิทธิ ตามข้อ 69 (2) ก็ต้องเป็นการจ่ายลงเงินไม่เกิน สองพันบาทเท่านั้น

หากเช็คที่จ่ายเป็นจำนวนหมื่นหรือแสนบาท หากไม่เคยขอยกเว้นตาม ข้อ 4 ก็มีหวังโดนแน่ๆ

หากเป็นกรณีที่สองคือ การจ่ายเงินยืมตามข้อ 84 ก็ต้องหาหลักฐานมาเบิกล้างหนี้ แต่กรณีนี้จะไม่ใช่การจ่าย เ งินยืมแต่เป็นการจ่ายเงินตามข้อ 69(2)


ดังนั้นถ้ามีการตรวจพบตามข้อ 102 โดย สตง มีหวังหัวโต.....


หากยังคงต้องการปฏิบัติเช่นนั้นอยู่อีก ให้ขกยกเว้นตาม ข้อ 4 ไป ........



ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗


ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ใน
กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ให้ขอทำความตกลงกับปลัดกระทรวงมหาดไทยก่อนการปฏิบัติ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย อาจมอบอำนาจตามวรรคสองให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้


หมวด ๗
ข้อกำหนดในการจ่ายเงิน
ส่วนที่ ๑
การจ่ายเงิน

ข้อ ๖๙ การเขียนเช็คสั่งจ่ายให้ปฏิบัติ ดังนี้
(๒) การจ่ายเงินตามสิทธิที่พึงจะได้รับให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน หากมีความจำเป็นที่จะต้องสั่งจ่าย เพื่อขอรับเงินสดมาจ่ายให้กระทำได้ในการจ่ายเงินที่มีวงเงินต่ำกว่าสองพันบาทโดยให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามหัวหน้าหน่วยงานคลัง หรือกรณีที่ไม่มีหัวหน้าหน่วยงานคลัง หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ระดับสาม หรือเทียบเท่าขึ้นไปและขีดฆ่าคำว่า "หรือตามคำสั่ง" หรือ "หรือผู้ถือ" ออก ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด


ส่วนที่ ๓
การจ่ายเงินยืม

ข้อ ๘๔ การจ่ายเงินยืมจะจ่ายได้แต่เฉพาะที่ผู้ยืมได้ทำ สัญญาการยืมเงินตามแบบที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด และผู้บริหารท้องถิ่นได้อนุมัติให้จ่ายเงินยืมตามสัญญาการยืมแล้วเท่านั้น โดยจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) มีงบประมาณเพื่อการนั้นแล้ว
(๒) ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ


หมวด ๑๐
การตรวจเงิน

ข้อ ๙๘ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำบัญชีและทะเบียนรายรับรายจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชีหรือทะเบียนอื่นใดตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด

ข้อ ๙๙ ให้หัวหน้าหน่วยงานคลังทำรายงานแสดงรายรับรายจ่ายและงบทดลองเป็นรายเดือนเสนอปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำเสนอผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อทราบในฐานะหัวหน้าผู้บังคับบัญชา และส่งสำเนาให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลให้ส่งนายอำเภอ

ข้อ ๑๐๐ ให้หัวหน้าหน่วยงานคลังจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบอื่น ๆ ตามแบบที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด เพื่อส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปี และส่งสำเนาให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลให้ส่งนายอำเภอ

ข้อ ๑๐๒ ในการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการรับจ่ายเงิน ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกหรือรับเงิน และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลัง มีหน้าที่ให้คำชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และหากได้รับข้อทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกและหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังปฏิบัติตามคำทักท้วงโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสี่สิบห้าวันนับจากวันที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับแจ้งข้อทักท้วงนั้น

ข้อ ๑๐๓ ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชี้แจงข้อทักท้วงไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยืนยันว่ายังไม่มีเหตุผลที่จะล้างข้อทักท้วง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชี้แจงเหตุผลและรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับคำยืนยันจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งผลการวินิจฉัยภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับรายงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับทราบผลการวินิจฉัย



โดยคุณ นิ๋ง 1.4.253.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 08:45 น. ] ผู้ตอบคนที่ 1
[ ลบคำตอบที่ 1 ]
อยากให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา

admin



สังเกต นะคะ ในข้อ 103 ระบุว่า หาก สตง ยืนยันความเห็นเขา อปท ทำได้เพียงรายงาน ผวจ และหาก ผวจ แจ้งผลกลับ อปท อย่างไร ก็ต้องดำเนินการอย่างนั้น นะคะ

ที่สำคัญ ผวจ มักทำเกินคือ ส่งหารือตลอด โดยไม่ดูว่า มีเงื่อนเวลาอยู่คือ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งผลการวินิจฉัยภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับรายงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แปลว่าจบตรงนี้...
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.253.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 08:59 น. ] ผู้ตอบคนที่ 2
[ ลบคำตอบที่ 2 ]

แล้วปกติ การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ถ้าจะจ่ายเป็นเงินสด ควรมีวิธีการ ดำเนินการเบิกจ่ายอย่างไรครับ ถ้าไม่ขอยกเว้นระเบียบตามที่คุณนิ๋งว่า
โดยคุณ นักพัฒ 1.1.217.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 12:35 น. ] ผู้ตอบคนที่ 3
[ ลบคำตอบที่ 3 ]



โอนเข้าบัญชี ผู้สูงอายุ

เขายกเว้นค่าธรรมเนียมให้ไม่ต้องเสียค่าโอน

ก็หลักการเหมือนการจ่ายเงินเดือนนั้นแหละ ทำบัญชีรายชื่อพร้อมหมายเลขบัญชีผู้สูงอายุ จ่ายแบบนี้ไปเลย....
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.253.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 14:15 น. ] ผู้ตอบคนที่ 4
[ ลบคำตอบที่ 4 ]



การจ่ายเงินสด ยังไง ก็ต้องทำตามระเบียบฯ อย่างเดียว
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.253.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 14:16 น. ] ผู้ตอบคนที่ 5
[ ลบคำตอบที่ 5 ]

http://saraburilocal.go.th/attachments/249_379.pdf


หากยังไงก็จะจ่ายเป็นเงินสด ให้ได้


ก็ต้องทำแบบ ข้อ ๖๙ การเขียนเช็คสั่งจ่ายให้ปฏิบัติ ดังนี้
(๒) การจ่ายเงินตามสิทธิที่พึงจะได้รับให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน หากมีความจำเป็นที่จะต้องสั่งจ่าย เพื่อขอรับเงินสดมาจ่ายให้กระทำได้ในการจ่ายเงินที่มีวงเงินต่ำกว่าสองพันบาทโดยให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามหัวหน้าหน่วยงานคลัง หรือกรณีที่ไม่มีหัวหน้าหน่วยงานคลัง หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ระดับสาม หรือเทียบเท่าขึ้นไปและขีดฆ่าคำว่า "หรือตามคำสั่ง" หรือ "หรือผู้ถือ" ออก ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด


แบบตรงๆ ไปเลย

เขียนเช็ค ระบุชื่อ นักพัฒนฯ ไปเลย ใบละ สองพัน บาท แล้วก็ให้ไปขึ้นเงินมาให้เขา


ซึ่งก็คงต้องใช้เช็คงวดๆ หนึ่ง นับสิบเล่ม เลยแหละ



ซึ่งแบบนี้ไ่ม่ต้องขออนุญาตหรือขอยกเว้นอะไรทั้งนั้น


แต่ในความเป็นจริง นักพัฒน์ก็ยังคงตกที่นั่ง แบกเงินอยู่คนเดียวเหมือนเดิม แม้จะเป็นไปตามระเบียบฯ

เออ... เบิกเยอะๆ ไม่กลัวเขามาปล้น เหรอ..
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.253.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 14:28 น. ] ผู้ตอบคนที่ 6
[ ลบคำตอบที่ 6 ]




อีกอย่างหนึ่ง นะคะ จะเตือนไว้ การทำฏีกา ยืมเงิน ไปจ่ายเบี้ยยังชีพหนะ ......


ไม่มีระเบียบกำหนดใไ้กระทำได้นะคะ


ที่สำคัญที่สุดคือ นิยามคำว่า การยืมเงิน นั้น ไม่เคยหมายถึงการยืมเงินเอาไปจ่ายให้คนอื่น....... มันถูกจำกัดเฉพาะตัวบุคคลคนนั้นโดยลำพัง .... เช่น ยืมไปราชการ ,ยืมทำโครงการ เช่น การแข่งกีฬา ซึ่งการกระทำพวกนี้จะต้องมีใบเสร็จการซื้อ หรือสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่ตามมา

แต่การไปจ่ายเบี้ยยังชีพ ไม่มีกรณีเช่นที่ว่าเลย...... อีกทั้งงบประมาณเพื่อการนี้ก็ไม่ได้ตั้งไว้ด้วย ก็ผิดตั้งแต่นิยามแรกของข้อ 84 (1) แล้ว ....หละคุณ


ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
(๒๐) "เงินยืม" หมายความว่า เงินงบประมาณหรือเงินนอกงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จ่ายให้แก่บุคคลใดยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการหรือปฏิบัติราชการอื่นใด


การจ่ายเงินยืม

ข้อ ๘๔ การจ่ายเงินยืมจะจ่ายได้แต่เฉพาะที่ผู้ยืมได้ทำ สัญญาการยืมเงินตามแบบที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด และผู้บริหารท้องถิ่นได้อนุมัติให้จ่ายเงินยืมตามสัญญาการยืมแล้วเท่านั้น โดยจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) มีงบประมาณเพื่อการนั้นแล้ว

โดยคุณ นิ๋ง 1.4.253.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 14:41 น. ] ผู้ตอบคนที่ 7
[ ลบคำตอบที่ 7 ]
อยากให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา

admin



ชีวิตมันมีมากกว่า ใช่หรือไม่ใช่ ผิดหรือไม่ผิด ถูกหรือไม่ถูก


แต่ให้รู้เท่ารู้ทันการณ์


ที่เหลือก็ลองชั่งน้ำหักดุว่าจะกระทำอย่างไร


ส่วนไอ้พวกปล..ั หรือ นา...ก.... พวกนั้นแหละ ก็เพียงคนมุดน้ำเจอกัน อย่าไปให้น้ำหนักอะไรมาก


ให้นึกถึงตอนสอบเข้าทำงาน คุณเข้ามาทำเพื่ออะไร เพื่อใคร


โดยคุณ นิ๋ง 1.4.253.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 14:48 น. ] ผู้ตอบคนที่ 8
[ ลบคำตอบที่ 8 ]

คุณนักพัฒน์ ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ทุกที่ก็ทำแบบคุณนี่แหละ
ดู รมท.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยฯ 2552 ข้อ 13 นะ
โดยคุณ นิติกร 10 115.67.0.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 17:27 น. ] ผู้ตอบคนที่ 9
[ ลบคำตอบที่ 9 ]




การจ่ายเงินสดให้ผู้สูงอายุหนะ มันก็เป็นไ
ปตามระเบียบฯ อยู่แล้วเพราะยังไงเสียผู้สูงอายุก็รับคนละไม่เกินสองพันบาท ซึ่งสามารถจ่ายเป็นเงินสดได้


ประเด็นตรงที่จ่ายเช็คเป็นชื่อพนักงานส่วนตำบล เกินสองพันบาทต่างหาก ......ที่เป็นปัญหา....


แล้วมีตรงไหน....ที่ระบุให้พนักงานส่วนตำบล รับเช็คยอดรวมของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดไปเบิกในบัญชีตัวเองได้.......




ข้อ ๑๓ การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้แก่ผู้มีสิทธิตามระเบียบนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือในนามบุคคลที่รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นรายเดือนภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน
ในการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับมอบอำนาจต้องตรวจสอบจนแน่ใจว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่ได้รับมอบอำนาจและต้องได้รับการยืนยันว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังมีชีวิตอยู่
การโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้เป็นไปตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือตามที่ตกลงกันเป็นอย่างอื่น
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.252.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 20:12 น. ] ผู้ตอบคนที่ 10
[ ลบคำตอบที่ 10 ]

ถาม สตงแล้ว เขาบอกทำได้ครับ ไม่ผิดเขาบอกว่า เพราะ ถ้าไม่ทำแบบนั้น จะทำยังไง
โดยคุณ นักพัฒ 1.1.217.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 20:49 น. ] ผู้ตอบคนที่ 11
[ ลบคำตอบที่ 11 ]



งั้น ก็คงไม่ตอบอะไร แล้ว
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.252.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 22:25 น. ] ผู้ตอบคนที่ 12
[ ลบคำตอบที่ 12 ]

ที่อบต มีการเบิกจ่ายเงินผู้สูงอายุ โดยให้ นักพัฒนาชุมชน เป็นคนยืมเงินมาเบิกจ่าย โดยในการเบิกจะทำฎีกาเงินยืม แล้วส่วนการคลังจะออกเชคให้ ซึ่งจะต้องเอาเงินเข้าบัญชี โดยทุกครั้ง นักพัฒนาชุมชน จะโอนเข้าบัญชีซึ่งเป็นชื่อของตนเอง แล้วถอนออกมาทันที หลังจากจ่ายเงินเสร็จก็ทำฎีกาส่งใช้เงินยืม เช่นนี้ ถือว่าปฏิบัติ ถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ครับ
- การนำเงินเข้าบัญชี ตนเองจะถือว่ามีพฤติกรรม ส่อไปในทางไม่สุจริต หรือผิดระเบียบไหมครับ โดยทางปลัด นายก ก็ทราบมาโดยตลอด

ชี้แนะด้วยครับ


ก็เห็นถามระเบียบฯ อันเป็นหนังสือสั่งการ ก็ตอบในแนวทางของระเบียบฯ ที่ระบุการใดกระทำำได้ และ้ข้อจำกัด มีเพียงใด


ก็คิดว่าร้อนใจ .... โทษที


โดยคุณ นิ๋ง 1.4.252.* [ วันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2555 เวลา 22:29 น. ] ผู้ตอบคนที่ 13
[ ลบคำตอบที่ 13 ]

ผิดนั้นผิด ไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ แต่จะต้องสอบ ต้องลงโทษกันเลยรึไง นี่สิสำคัญ เจตนาเขามีเพียงใด ที่วาส่อไปในทางทุจริต มันน่าเป้นเรื่องการควบคุมภายในของหน่วยงาน ถามว่าใครเป้นคนสั่ง ให้ทำแบบนี้ก็ผู้บังคับบัญชาล่ะ ก็ถือว่หน่วยงานละวางระบบให้เป็นแบบนี้ ใครผิดละ ถ้าไม่ใช่คนที่สั่ง คนเขียนเช็ค อีกหมายคนมีส่วนหมดละ ที่ว่า มีหลายแห่งทำมาแบบนี้ก็ใช่แล้วล่ะ แต่ไม่มีมีคนซวยโดนทักมาไหมแบบนี้ ที่นี่ก็สั่งจ่ายในนามปลัด จะได้ไปบอกปลัด ไว้ ถ้าจะทำคงต้องขอยกเว้นระเบียบฯ ตามที่ทหลายท่านแนะนำถูกต้องแน่นอน
+++ถ้าจะสอบคงต้องช่วยกันมากกมายยยยย
โดยคุณ แจม 125.26.227.* [ วันอาทิตย์ ที่ 5 สิงหาคม 2555 เวลา 22:37 น. ] ผู้ตอบคนที่ 14
[ ลบคำตอบที่ 14 ]

การรับเบี้ยยังชีพหากสั่งจ่ายผ่านธนาคาร ก็จะต้องถูกธนาคารสั่งให้มีเงินคงเหลือไว้ในบัญชี จำนวน ..... บาท เพื่อรักษาสภาพของบัญชี ทำให้ผู้สูงอายุเดือดร้อนไม่สามารถนำเงินที่ได้ทั้งจำนวนมาใช้ได้ ทั้งที่รอมานานหว่าจะครบ 1 เดือน บางครั้งต้องไปเป็นหนี้ทางทางเพื่อรอเงินช่วยเหลือ เมื่อถึงเวลากลับได้ไม่ครบตามที่เป็นหนี้เขาไว้ เดือนต่อไปจะเป็นหนี้เขาไม่ได้เท่าเดิม ใครจะแก้ปัญหาหรือทราบปัญหานี้หรือไม่
โดยคุณ ผู้ผ่านมา 182.52.128.* [ วันจันทร์ ที่ 6 สิงหาคม 2555 เวลา 11:25 น. ] ผู้ตอบคนที่ 15
[ ลบคำตอบที่ 15 ]

การจ่ายเบี้ยยังชีพ(เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ)นั้น
1. นักพัฒน์ส่งใบขอยืมเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เช่น 500,000 บาท
2. วางฏีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ 500,000 บาท
3. การออกเช็คสั่งจ่ายในนาม นักพัฒนาชุมชน ไม่ต้องขีดคร่อม ขีดเฉพาะผู้ถือก็พอ
4. สามารถไปเบิกเงินสดที่ธนาคารได้โดยไม่ต้องเอาเข้าบัญชีตัวเอง แล้วโอนเข้าบัญชีให้ผู้มีสิทธิ ภายในวันนั้น
5. กลับมานำหลักฐานการโอนเงิน/เงินสดเหลือจ่ายมาคืน ส่วนการคลังทันที
6. การส่งใช้เงินยืมไม่ต้องทำฎีกาอีก
พี่ไปอบรมมาแล้วกรมแนะนำให้ทำแบบนี้ปลอดภัยชัวร์ค่ะ
โดยคุณ นักวิชาการเงินฯ 101.108.176.* [ วันอังคาร ที่ 7 สิงหาคม 2555 เวลา 09:40 น. ] ผู้ตอบคนที่ 16
[ ลบคำตอบที่ 16 ]



แล้ววิทยากร รับรองความปลอดภัยแบบนี้ใช่หรือไม่....

(แค่ถามดู...)

เวลาโดนสอบฯ (หากเคราะห์ร้าย)

คงต้องรบกวนวิทยากรท่านนั้นมาให้ปากคำด้วย คงได้เนาะ

โดยคุณ นิ๋ง 1.4.227.* [ วันอังคาร ที่ 7 สิงหาคม 2555 เวลา 10:45 น. ] ผู้ตอบคนที่ 17
[ ลบคำตอบที่ 17 ]

ไม่อยากแสดงความคิดเห็นเลย....แต่ทำไปได้อย่างไร ระเบียบมีทำไมไม่ปฏิบัติตาม...
โดยคุณ นิติกร นว. 49.48.191.* [ วันพุธ ที่ 8 สิงหาคม 2555 เวลา 09:15 น. ] ผู้ตอบคนที่ 18
[ ลบคำตอบที่ 18 ]

บางเรื่องผมมองว่าระเบียบก็ล้าหลัง ภาษาชาวบ้านเรียกว่าไม่ทันกิน ขั้นตอนเยอะแยะมากมาย
โดยคุณ ไม่ชอบความซับซ้อน 1.179.128.* [ วันศุกร์ ที่ 10 สิงหาคม 2555 เวลา 09:19 น. ] ผู้ตอบคนที่ 19
[ ลบคำตอบที่ 19 ]

1.แล้วในใบขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ เขาขอรับเป็นเงินสดหรือเข้าบัญชีล่ะ
2.ถ้ารับเป็นเงินสดเราต้องมีระเบียบวินัยในการทำเอกสารและใครจะรับผิดชอบเงินที่ถอนออกมาแยะๆๆ
3.มันไม่มีแล้วที่เขาจ่ายเงินสด....นัดธนาคารไปเปิดบัญชีให้เขาสิ..ต้องทำความเข้าใจกับผู้รับผิดชอบทั้ง นายก ปลัด นักพัฒ คลัง ถ้าโดนก็ผิดหมดแหละไม่มีใครรอด
โดยคุณ จากคนเคยทำงาน 118.173.201.* [ วันอังคาร ที่ 14 สิงหาคม 2555 เวลา 21:16 น. ] ผู้ตอบคนที่ 20
[ ลบคำตอบที่ 20 ]

อยากจะสอบสวนเรื่องนี้จังเพื่อให้เกิดความกระจ่างในทางปฎิบัติว่าแบบไหนที่ถูกต้องและลุลวงตามวัตถุประสงค์ของเบี้ยยังชีพที่ต่อไปอาจจะเพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นเหมือนประเทศที่เขาเป้นรัฐสวัสดิการเช่นแถบสแกนดิเนเวีย
โดยคุณ มันเป็นยังไง 110.77.236.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 16 สิงหาคม 2555 เวลา 10:03 น. ] ผู้ตอบคนที่ 21
[ ลบคำตอบที่ 21 ]

อยากจะสอบถามผู้ที่มีความรู้ตรงนี้ว่า หากเราจ่ายเบี้ยยังชีพจำนวน 100 คน เป็นเงิน 20,000 บาท(สมมุติ) โดยจ่ายในวันที่ 1 กันยายน 2555 แต่ในวันนั้นมีผู้สูงอายุมารับเงินเพียง 50 คน ซึ่งจะมีเงินเหลือ 10,000 บาท โดยจะนำจ่ายต่อไปอีก 10 วัน จึงจะส่งคืน อยากทราบว่าแบบนี้เราจะทำเอกสารอย่างไรให้ถูกต้องเกี่ยวกับเงินที่เหลือจ่ายในแต่ละวัน เพราะในใบสำคัญรับเงินจะลงวันที่ตามวันรับจริงทุกวัน
โดยคุณ งง งง ส่งเมล์ถึง งง งง 192.168.212.122, 203.114.111.* [ วันอังคาร ที่ 18 กันยายน 2555 เวลา 11:55 น. ] ผู้ตอบคนที่ 22
[ ลบคำตอบที่ 22 ]

พนักงานราชการครู ที่เกษียนแล้วแต่ได้ทำสัญญาจ้างต่อ จะสามารถรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้หรือไม่
โดยคุณ ผู้อยากทราบ 118.174.44.* [ วันจันทร์ ที่ 15 ตุลาคม 2555 เวลา 11:50 น. ] ผู้ตอบคนที่ 23
[ ลบคำตอบที่ 23 ]

สามารถยืมเงินและเบิกจ่ายเป็นเงินสดให้ผู้สูงอายุได้เลย ไม่ผิดระเบียบฯ ครับ หลักการเดียวกับยืมเงินในโครงการ หลักฐานการส่งใช้เงินยืมคือใบสำคัญรับเงินครับ และกรณียืมนี้สามารถยืมได้ 30 วัน เช่นยืมวันที่ 1 กันยายน ก็ส่งใช้เงินยืมภายในวันที่ 30 กันยายน
โดยคุณ การเงิน 61.19.70.* [ วันจันทร์ ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:39 น. ] ผู้ตอบคนที่ 24
[ ลบคำตอบที่ 24 ]

อยากถามว่า
1. นาย ก. เป็นผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับเบี้ย 500 บาททุกเดือน
- วันที่ 3 เดือนสิงหาคม 55 ได้รับ 500 บาท
- วันที่ 5 เดือนกันยายน 55 ได้รับ 500 บาท
- วันที่ 4 เดือนตุลาคม55 ได้รับ 500 บาท
- ต่อมา นาย ก. ได้เสียชีวิตลง วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 นาย ก.
ไม่ได้รับเงิน 500 บาท เนื่องจากทาง อบต.เบิกเงิน วันที่ 7 พ.ย.55
สอบถาม เจ้าหน้าที่ ได้ความว่า นาย ก.เสียชีวิตก่อนวันที่ทำการเบิกเงิน ไม่มีสิทธิได้รับเงิน ของเดือน พฤศจิกายนและยังอ้างระเบียบว่าการเบิกเงินสามารถเบิกได้ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือน เบิกวันไหนก็ได้
ถามว่า
ถูกหรือผืดกันแน่ ที่ทาง อบต.เบิกวันไหนก็ได้ แต่ถ้ามีคนตายก่อนวันทำการเบิก ไม่มีสิทธิรับเงิน

(แต่การเบิกจ่ายในแต่ละเดือนเบิกวันไม่ตรง แต่เบิกภายในกำหนดคือ ไม่เกินวันที่ 10 ของเดือน)
โดยคุณ ประชาชนตาดำ ดำ ส่งเมล์ถึง ประชาชนตาดำ ดำ 122.155.36.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11:38 น. ] ผู้ตอบคนที่ 25
[ ลบคำตอบที่ 25 ]

กรณีนายกไม่ยอมให้โอนเงินเข้าบัญชีผู้สูงอายุ แต่ให้เบิกเงินสดมาจ่ายแทน จะแก้ปัญหาอย่างไรดี
โดยคุณ คลัง สุราษฎร์ธานี 118.173.189.* [ วันศุกร์ ที่ 14 ธันวาคม 2555 เวลา 13:16 น. ] ผู้ตอบคนที่ 26
[ ลบคำตอบที่ 26 ]

นายก อบต.สามารถออกคำสั่งแต่งตั้งสมาชิกสภา อบต.เป็นผู้จ่ายเงิน (กรณีสมาชิกสภาอบต.มารับเงินสดที่ อบต) เบี้ยผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ได้หรือไม่ มีระเบียบหนังสือสั่งการว่าทำได้หรือเปล่า
โดยคุณ ผู้สงสัย 182.52.94.* [ วันศุกร์ ที่ 14 ธันวาคม 2555 เวลา 14:42 น. ] ผู้ตอบคนที่ 27
[ ลบคำตอบที่ 27 ]
อยากให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา

admin

จากคำถามข้างต้นนามผู้รับเช็คต้องเป็นผู้เบิกหรือว่าหัวหน้าหน่วยงานคลัง
โดยคุณ เจ้าหน้าที่การเงิน 118.173.178.* [ วันจันทร์ ที่ 17 ธันวาคม 2555 เวลา 14:27 น. ] ผู้ตอบคนที่ 28
[ ลบคำตอบที่ 28 ]

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
ดิฉันเป็น จนท. มารับงานใหม่ ทำงานต่อจากนักพัฒคนเก่าที่ย้ายไป
เกิดกรณี ประกาศรายชื่อผิด คือ เอาชื่อผู้สูงอายุไปประกาศได้รับเบี้ยความพิการ ดิฉันก็ทำเรือ่งเบิกเบี้ยความพิการให้ แน่นอนที่ผู้สูงอายุไม่ยอมแน่ ๆ เพราะต้องได้ 600 อย่างนี้ จะแก้ปัญอย่างไรค่ะ เพราะเบิกเบี้ยความพิการนี้ออกมาได้ 4 เดือนแล้ว ต้องคืนเงินทั้งหมดไหม แล้วจะเปลี่ยนประเภทในปีงบนี้ได้เลยหรือไม่
โดยคุณ จนท.ใหม่ 125.27.126.* [ วันจันทร์ ที่ 14 มกราคม 2556 เวลา 10:27 น. ] ผู้ตอบคนที่ 29
[ ลบคำตอบที่ 29 ]

ปัจจุบันเป็นนักพัฒน์ ทั้งพิมพ์ฏีกาเอง เป็นคณะกรรมการรับเงิน เก็บรักษาเงิน เบิกเงินเอง และในใบสำคัญเวลาให้คนแก่เซ็นรับเงินสด จนท.การเงินและบัญชี ก็จะให้เปลี่ยนชื่อผู้จ่ายจากการเงินมาเป็นชื่อนักพัฒน์ ก็เลยส่งสัยมันต้องเป็นชื่อของใครกันแน่ค่ะ ขอผู้รู้ตอบหน่อยนะค่ะ
โดยคุณ นักพัฒน์ ส่งเมล์ถึง นักพัฒน์ 110.77.197.* [ วันจันทร์ ที่ 21 มกราคม 2556 เวลา 12:50 น. ] ผู้ตอบคนที่ 30
[ ลบคำตอบที่ 30 ]

ตอบ "คุณนักพัฒน์" กรณีตั้งให้คุณเบิกเงิน คุณจ่ายต้องลงชื่อจ่ายเงิน ถูกต้องแล้ว (ตอบตามรายละเอียดที่ให้มาน่ะ) หลักการเดียวกับการยืมเงินเดินทางไปราชการ กล่าวคือ เราคือผู้จ่ายไปในทางราชการจากเงินที่ยืมมา แต่การเงินจะเป็นเซ็นจ่ายให้กับเราผู้ยืมค่ะ
โดยคุณ นักพัฒน์ เชียงใหม่ (ที่ย้ายจากการเงินฯ) 171.5.61.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม 2556 เวลา 22:59 น. ] ผู้ตอบคนที่ 31
[ ลบคำตอบที่ 31 ]

ตอบ "จนท.ใหม่" กรณีเช่นนี้ให้ทำเรื่องหารือไปที่จังหวัดเลยจะดีกว่านะคะ จังหวัดจะทำการแนะนำให้ว่าควรทำเช่นไร ก็ปฏิบัติเช่นนั้นค่ะ ดีกว่าเราจะเดาและแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่ทราบว่าถูกหรือผิด ที่พูดเช่นนี้อย่าเคืองกันน่ะคะ เพราะว่า จากที่เคยทำมา ขอแชร์ประสบการณ์ให้ฟังนะคะ มีผู้สูงอายุรายหนึ่ง อายุ 61 ปี (ตามบัตรประชาชน) แต่ภายหลังพิสูจน์ได้ว่า อายุ 71 เพราะแจ้งอายุผิดเพี้ยนไปถึงสิบปี ผลก็คือ ทำให้ได้รับเบี้ยยังชีพช้าและไม่ตรงตามขั้นบรรไดอายุ ไม่รู้จะทำยังไง จะให้มาลงทะเบียนใหม่เพื่อรับในอีกปีงบประมาณโน่นไหม หรือจะให้ไปเลย จึงตัดสินใจหารือไปทางจังหวัด ผลปรากฎคือ ในปีที่จะถึงให้ปรับขึ้นได้เลย โดยไม่ต้องให้ขึ้นบัญชีใหม่ เพราะยังไงก็มีเงินเหลือจากผู้สูงอายุที่เสียชีวิตให้ปรับเกลี่ยจ่ายได้อยู่แล้ว เราก็พ้นผิดแล้วค่ะ เพราะได้หารืออย่างถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว ^ ^
โดยคุณ นักพัฒน์ เชียงใหม่ 171.5.61.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม 2556 เวลา 23:11 น. ] ผู้ตอบคนที่ 32
[ ลบคำตอบที่ 32 ]

1. เบิกเงินผิดช่วงอายุถื่อว่าผิดวินัยหรือเปล่าครับ
แต่เราได้ประสานกับผู้สูงอายุนำเงินคืนให้กับเทศบาลได้นะครับ
2. เบิกเงินให้คนตายไปแล้วหนึ่งปีงบประมาณถือ่ว่าผิดวินัยหรือไม่ครับ
สามารถนำเงินคืนเทศบาลได้เช่นกันครับ
ขอคำตอบด่วนนะครับ ตอนนี้กำลังจะโดนสอบวินัย ร้ายแรงด้วยครับ ขอบคุณครับ
โดยคุณ สงสารคนทำงาน ส่งเมล์ถึง สงสารคนทำงาน 203.113.118.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 17:52 น. ] ผู้ตอบคนที่ 33
[ ลบคำตอบที่ 33 ]

การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพเป็นเงินสดปัจจุบันทำอยู่หลายแห่ง แต่ขั้นตอนที่ขอเสนอแนะมีดังนี้ค่ะ

1. ผู้สูงอายุฯลฯ กรอกความประสงค์ขอรับเงินสด
2. จัดทำโครงการ "ให้บริการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพถึงหมู่บ้าน" เสนอนายกอนุมัติ ซึ่งการจ่ายเงินอาจจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำแต่ละหมู่รับผิดชอบ โดยกำหนดวัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน หรือนายกแต่งตั้งนักพัฒนาฯ และมีผุ้ช่วยหนึ่งคน ก็ได้ แล้วจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำต่างๆ และผู้ที่ประสงค์ขอรับเงินสดทราบ
3. ให้เบิกจ่ายเป็นเงินยืม ทำใบยืมตามระเบียบ จ่ายเช็คขีดคร่อม ขีดหรือผู้ถือ ตามปกติ แล้วก็นำจ่ายฯ หากภายใน 15 วัน จ่ายไม่หมด ให้นำเงินที่เหลือส่งคืนกองคลัง คลังออกใบเสร็จรับเงินให้ และส่วนที่จ่ายไปแล้วก็ส่งคืนเป็นใบสำคัญรับเงินที่จ่ายให้แต่ละคน แค่นี้ก็ส่งใช้เงินยืมเรียบร้อยแล้ว
4. เมื่อสิ้นสุดโครงการก็มีแบบสอบถามประชาชน ผู้นำ และที่สำคัญเลยคือผู้สูงอายฯ ว่าชอบกับโครงการแบบนี้หรือไม่ เรียบร้อยแล้ว นำผลสรุปส่งนายก ...

สำหรับการลงชื่อจ่ายเงิน .... ก่อนที่จะลงชื่อจ่ายเงิน ... นายกต้องมีคำสั่งแต่งตั้งให้นักพัฒนาฯ เป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินของโครงการอะไรก็ระบุไปคะ ดูในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินฯ 2547 ค่ะ

การจ่ายเงินเป็นเงินสด หัวใจสำคัญเลยคือ ต้องมาจากความต้องการของผู้ที่จะรับเงิน.. ดังนั้น การตรวจของสตง. แม้จะมีเงินผ่านเข้าบัญชี แต่ถ้าเรามีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ สตง.ไม่มีปัญหาหลอกค่ะ ขอให้ทำงานเชิงรุก และนำจ่ายเงินจริงๆ ก็เพียงพอแล้ว และที่สำคัญ...รีบเบิกจ่าย....นำจ่ายให้เร็วที่สุด ส่งใช้เร็วที่สุด....ก็เยี่ยมแล้วค่ะ
โดยคุณ รองปลัด อบต. ส่งเมล์ถึง รองปลัด อบต. 27.55.144.* [ วันอาทิตย์ ที่ 3 มีนาคม 2556 เวลา 00:22 น. ] ผู้ตอบคนที่ 34
[ ลบคำตอบที่ 34 ]

ขอเสนอแนะ ...สำหรับคุณสงสารคนทำงาน.... เห็นแจ้งว่าขอคำตอบด่วน...เนื่องจากจะ
โดนสอบวินัย ร้ายแรง ... ตอบแบบไม่เห็นเอกสาร...การสอบวินัยร้ายแรง...ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ให้สอบเรื่องวินัยร้ายแรง เช่น สตง. หรือ ปปช. เพราะหากเป็นหน่วยงานที่สามารถสั่งให้ลงโทษวินัยได้เลย...ก็แก้ไขยากหน่อย...แต่ทั้งนี้...ต้องถามว่า....ตอนทีเบิกเงินผิดช่วงอายุ หรือแม้แต่เบิกให้คนตาย.... การจ่ายเงินจ่ายแบบโอนเงิน หรือจ่ายเงินสด แล้วต้องดูรายละเอียดประกอบด้วย....

การจ่ายเงินแบบนี้ผิดวินัยอยู่แล้ว...แต่ทั้งนี้เหมือนอย่างที่บอก...ต้องดูว่าหน่วยงานใหนพบ หรือ อบต.ตรวจพบแล้วนายกสั่งให้ดำเนินวินัยอย่างร้ายแรง...คงต้องขอรายละเอียดเพิ่มเติมกว่านี้...

โดยคุณ รองปลัด อบต. ส่งเมล์ถึง รองปลัด อบต. 27.55.144.* [ วันอาทิตย์ ที่ 3 มีนาคม 2556 เวลา 00:36 น. ] ผู้ตอบคนที่ 35
[ ลบคำตอบที่ 35 ]

อยากได้หนังสือสั่งการเกี่ยวกับการคืนเงินเบี้ยยังชีพกรณีเหลือจ่ายให้กับจังหวัดค่ะ
โดยคุณ จัดเก็บฯ 1.1.129.* [ วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 11:43 น. ] ผู้ตอบคนที่ 1
[ ลบคำตอบที่ 1 ]

อยากได้หนังสือสั่งการเกี่ยวกับการคืนเงินเบี้ยยังชีพกรณีเหลือจ่ายให้กับจังหวัดค่ะ
โดยคุณ จัดเก็บฯ 1.1.129.* [ วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 11:43 น. ] ผู้ตอบคนที่ 2
[ ลบคำตอบที่ 2 ]

อยากได้หนังสือสั่งการเกี่ยวกับการคืนเงินเบี้ยยังชีพกรณีเหลือจ่ายให้กับจังหวัดค่ะ
โดยคุณ จัดเก็บฯ 1.1.129.* [ วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 11:43 น. ] ผู้ตอบคนที่ 3
[ ลบคำตอบที่ 3 ]

อบต.ตำบลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ผู้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการไปแสดงตนเพื่อแจ้งยึืนยันความประสงค์ขอรับเงินบี้ยยังชีพต่อไป
ขอสอบถามผู้รู้ว่าจำเป็นต้องไปแสดงตนหรือไม่ถ้าไม่ไปแสดงตนจะมีผลอย่างไร
โดยคุณ ผู้อยากรู้ 223.206.32.* [ วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 20:40 น. ] ผู้ตอบคนที่ 4
[ ลบคำตอบที่ 4 ]

อบต.ตำบลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ผู้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการไปแสดงตนเพื่อแจ้งยึืนยันความประสงค์ขอรับเงินบี้ยยังชีพต่อไป
ขอสอบถามผู้รู้ว่าจำเป็นต้องไปแสดงตนหรือไม่ถ้าไม่ไปแสดงตนจะมีผลอย่างไร
โดยคุณ ผู้อยากรู้ 223.206.32.* [ วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 20:45 น. ] ผู้ตอบคนที่ 5
[ ลบคำตอบที่ 5 ]

อบต.ตำบลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ผู้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการไปแสดงตนเพื่อแจ้งยึืนยันความประสงค์ขอรับเงินบี้ยยังชีพต่อไป
ขอสอบถามผู้รู้ว่าจำเป็นต้องไปแสดงตนหรือไม่ถ้าไม่ไปแสดงตนจะมีผลอย่างไร
โดยคุณ ผู้อยากรู้ 223.206.32.* [ วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 20:45 น. ] ผู้ตอบคนที่ 6
[ ลบคำตอบที่ 6 ]

ตอนนี้ ตกลงใครมีหน้าที่จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ระหว่างเจ้าหน้าที่การเงิน หรือเจ้าหน้าที่วิเคราะห์
โดยคุณ การเงิน ส่งเมล์ถึง การเงิน 118.173.231.* [ วันพุธ ที่ 11 ธันวาคม 2556 เวลา 15:23 น. ] ผู้ตอบคนที่ 7
[ ลบคำตอบที่ 7 ]

ขอสอบถาม ผู้รู้ เรื่อง การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พิการ ฯ เนื่องจากเบี้ยยังชีพเป็นโครงการตามนโยบายของรัฐ ในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงิน การรับลงทะเบียน และอื่นๆ เป็นหน้าที่ของนักพัฒฯ แล้วทำไม มาถึงขั้นตอนการเบิก -จ่ายเงินต้องให้ นักพัฒทำฎีกา ทำใบสำคัญรับเงิน ไปเบิกเงิน นับเงิน และออกจ่ายเบี้ย
ทั้งๆที่ ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไม่เห็นมีลักษณะงานนี้ แล้ว อบต.มี เจ้าหน้าที่การเงิน ไว้ทำไม ใครรู้ช่วยอธิบายให้หน่อย
โดยคุณ งง งง 118.172.98.* [ วันศุกร์ ที่ 3 มกราคม 2557 เวลา 16:36 น. ] ผู้ตอบคนที่ 8
[ ลบคำตอบที่ 8 ]

อยากถามว่า
1. นาย ก. เป็นผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับเบี้ย 500 บาททุกเดือน
- วันที่ 3 เดือนสิงหาคม 55 ได้รับ 500 บาท
- วันที่ 5 เดือนกันยายน 55 ได้รับ 500 บาท
- วันที่ 4 เดือนตุลาคม55 ได้รับ 500 บาท
- ต่อมา นาย ก. ได้เสียชีวิตลง วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 นาย ก.
ไม่ได้รับเงิน 500 บาท เนื่องจากทาง อบต.เบิกเงิน วันที่ 7 พ.ย.55
สอบถาม เจ้าหน้าที่ ได้ความว่า นาย ก.เสียชีวิตก่อนวันที่ทำการเบิกเงิน ไม่มีสิทธิได้รับเงิน ของเดือน พฤศจิกายนและยังอ้างระเบียบว่าการเบิกเงินสามารถเบิกได้ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือน เบิกวันไหนก็ได้
ถามว่า
ถูกหรือผืดกันแน่ ที่ทาง อบต.เบิกวันไหนก็ได้ แต่ถ้ามีคนตายก่อนวันทำการเบิก ไม่มีสิทธิรับเงิน

(แต่การเบิกจ่ายในแต่ละเดือนเบิกวันไม่ตรง แต่เบิกภายในกำหนดคือ ไม่เกินวันที่ 10 ของเดือน)
โดยคุณ ประชาชนตาดำ ดำ 122.155.36.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11:38 น. ] ผู้ตอบคนที่ 25

ขอความกระจ่างอีกได้ไหมค่ะ
โดยคุณ แอน 14.207.58.* [ วันจันทร์ ที่ 6 มกราคม 2557 เวลา 18:15 น. ] ผู้ตอบคนที่ 9
[ ลบคำตอบที่ 9 ]

ขอสอบถาม ตั้งแต่ปี2554ได้รับเบี้ยยังชีพผู้พิการเดือนละ500บาทโดยโอนเข้าบัญชีแต่ต่อมาปี2555 ได้รับการโอนเงินเบี้ยยังชีพผู้พิการเข้าบัญชีครั้งละ500บาทเป็นจำนวนสองครั้งต่อเดือนรวมเป็นเงินที่ได้ในหนึ่งเดือนคือ1000บาท
แต่มาวันนี้มีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบแล้วบอกว่าโอนเงินเข้าบัญชีผิดและบอกว่าจะต้องคืนเงินให้เจ้าให้กับเจ้าหน้าที่เป็นเวลาสองปีเต็มรวมเป็นเงิน12000 บาท แต่ตอนนี้ในบัญชีไม่ถึงจำนวนเท่ากับที่ต้องจ่ายคืนดิฉันก็บอกไปว่าถ้าจะให้จ่ายทีเดียวดิฉันไม่มี ขอความกรุณาแนะนำหน่อยค่ะ
คำถาม 1 เป็นความผิดของใคร 2 แล้วดิฉันจะต้องคืนเงินหรือไม่อย่างไรถ้าจำเป็นต้องคืนส่วนที่โอนเกินหรือโอนผิดจะต้องจ่ายคืนอย่างไรช่วยอธิบายให้หน่อย ขอบคุณอย่างยิ่ง
โดยคุณ may ส่งเมล์ถึง may 118.172.64.* [ วันพุธ ที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 20:13 น. ] ผู้ตอบคนที่ 10
[ ลบคำตอบที่ 10 ]

สอบถามหน่อยค่ะ คือคุณยายเสีย เมื่อวันที่ 29 เม.ย.57 แต่ อบต.มาจ่ายเงินเบี้ยยีังชีพ วันที่ 30 เม.ย.57 ไม่มีสิทธิรับเงินหรอคะ
(อ่านในระเบียบการจ่ายเงินเบี้ย ฯ ต้องจ่ายให้เสร็จภายในวันที่ 10 ไม่ใช่หรอคะ แล้วทำไม อบต.มาจ่ายตอนสิ้นเดือนล่ะ)
โดยคุณ pui ส่งเมล์ถึง pui 1.4.152.* [ วันจันทร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18:25 น. ] ผู้ตอบคนที่ 11
[ ลบคำตอบที่ 11 ]

คือ พ่อหนูเสียค่ะ มีใบมาที่บ้านให้ไปยื่นรับเงินคนชรา แต่ใช้เอกสารหลายอย่างมาก แล้วที่นี้เอกสารแบบฟรอ์มหนูต้องเอาอะไรที่ไหน ใครรู้บอกหนูที
โดยคุณ pukanjean ส่งเมล์ถึง pukanjean 192.168.3.102, 124.121.206.* [ วันอังคาร ที่ 29 กรกฎาคม 2557 เวลา 11:56 น. ] ผู้ตอบคนที่ 12
[ ลบคำตอบที่ 12 ]

สมมุติว่าในเดือนเมษายน 2558 เราได้เบิกจ่ายเบี้ยยังชีพไปแล้วตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2558 และในเดือนพฤษภาคม มีวันหยุดหลายวันติดต่อกันถึงวันที่ี 5 พฤษภาคม 2558 ซึ่งนโยบายผู้บริหารจะุจ่ายเบี้ยยังชีพทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน เราจะสามารถเบิกจ่ายเงินของของเดือนพฤษภาคม 2558 ในวันที่ 30 เมษายน 2558 ได้หรือไม่ เนื่องจากวันที่ี 1 ธนาคารหยุดทำการ

โดยคุณ ยังสงสัย ส่งเมล์ถึง ยังสงสัย 1.1.181.* [ วันพุธ ที่ 29 เมษายน 2558 เวลา 10:39 น. ] ผู้ตอบคนที่ 13
[ ลบคำตอบที่ 13 ]

นาง ก.เกิด 20 ต.ค.97 อบต.นำหลักฐานมาให้กรอกลงชื่อพ.ย.57 ตอนนี้ยังไม่ได้รับเงิน
ถามว่าจะได้รับเงินเมื่อไหร่ครับ
นาย ส. เกิด 6 ก.ค.58 ยังไม่ไ้ด้กรอกเอกสารอะไรเลย ถามว่าจะได้รับหรือไม่ เมื่อไรครับ
โดยคุณ คุณหน่อง ส่งเมล์ถึง คุณหน่อง 1.47.103.* [ วันอังคาร ที่ 18 สิงหาคม 2558 เวลา 11:16 น. ] ผู้ตอบคนที่ 14
[ ลบคำตอบที่ 14 ]

คุณพ่อเสียไปแล้ว อยู่ดีดีเขตแจ้งว่าได้โอนเงินเข้าบัญชีพ่อมา 2+ ปี ค่าเบี้ยสูงอายุ รวมเป็นเงินสองหมื่นกว่าบาท ซึ่งข้าพเจ้าไม่ทราบเลยว่าคุณพ่อมีบัญชีนี้อยู่เนื่องจากก่อนเสียชีวิตไม่เคยทราบว่าคุณพ่อมีภรรยาใหม่ และคุณพ่อไปจดทะเบียนกับภรรยาใหม่ก่อนตายไม่นาน อย่างนี้จะทำอย่างไร เพราะว่าจากเอกสารเลขที่บัญชีที่แจ้งมาข้าพเจ้าได้ไปตรวจสอบแล้วยอดเงินในบัญชีเหลือไม่ถึง 100 บ. อันนี้เป็นความผิดเจ้าหน้าที่หรือของใคร เพราะไม่มีเวลาไปติดตามเรื่องนี้ เนื่องจากภรรยาใหม่ของคุณพ่อข้าพเจ้าก็ไม่เคยรู้จัก รู้แต่ว่าตอนเสียชีวิตก็มาแบ่งเอามรดกไป ซึ่งทางลูกๆและญาติก็เพิ่งทราบหลังคุณพ่อเสียว่าไปจดทะเบียนกับภรรยาใหม่
โดยคุณ Nong ส่งเมล์ถึง Nong 203.157.15.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 24 กันยายน 2558 เวลา 11:06 น. ] ผู้ตอบคนที่ 15
[ ลบคำตอบที่ 15 ]

กรณีจ่ายในลักษณะ เงินยืม คือยังไม่ได้รับเงิน แต่ได้รับใบแจ้งจัดสรร ถูกต้องไหมค่ะ เพราะไม่ใช่การยืมเงินงบประมาณ
แล้วกรณี ได้รับเงินแล้ว จะยืมได้หรือ ขอระเบียบด้วนค่ะ
ถ้าจ่ายในรูปคณะทำงาน ตามหนังสือซักซ้อมฯ การจ่ายเบี้ย ลงวันที่ 18 ม.ค2556(ถ้าจำไม่ผิด) โดยจ่ายให้ข้าราชกาา ระดับ สาม3 คน ตามระเบียบเบิกจาย ข้อ 69(2) เมื่อคณะกรรมการรับเงินจากธนาคาร ก็มาจ่ายให้กับผู้สูงอายุ
คณะกรรมการสามารถถือเงินได้ 15 วัน ถ้าภายใน 15 วัน มีเงินเหลือ ให้ส่งคืนคลัง นำกลับไปบัญชีหน่วยงาน ระหว่างเดือนมีผู้สูงอายุมาขอรับ ต้องเขียนคำร้อง และทำฎีกาสั่งจ่าย หน.คลัง เป็นรายๆ ไป หรือจะไว้รอเบิกในรูปคณะทำงาน พร้อมกับเดือนถัดไป (โดยไม่ต้องเขียนคำร้อง และผู้สูงอายุรอได้) โดยจัดทำบันทึกขอเบิกให้ชัดเจน หรือแยฎีกาไปเลย
ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกไปไหม ชี้แนะด่วยค่ะ
โดยคุณ k 1.47.168.* [ วันพุธ ที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 21:55 น. ] ผู้ตอบคนที่ 16
[ ลบคำตอบที่ 16 ]

ดิฉันยืมเงินเบี้ยยังชีพมาจ่ายผู้สูงอายุและผู้พิการในพื้นที่ จำนวน 900 กว่าราย ถ้าจ่ายไม่หมดคือผู้รับเบี้ยยังมารับไม่ครบ เงินที่เหลือจะทำอย่างไร เป็นกังวลมากเรื่องนี้เพราะทั้งปลัดทั้งนายก มายืมไปหมุนเรื่อย ถ้าใช้ไม่ทันดิฉันจะต้องควักกระเป๋าจ่าย ถ้าเก็บไว้กับตัวเองจะผิดระเบียบหรือไม่คะ
โดยคุณ นักพัฒนาชุมชน 113.53.46.* [ วันอังคาร ที่ 1 พฤษภาคม 2561 เวลา 15:24 น. ] ผู้ตอบคนที่ 17
[ ลบคำตอบที่ 17 ]


อยากให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา