• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

องค์การบริหารส่วนตำบลขออนุญาตทำไม้ยางหรือปลูกป่าในเขตทางสาธารณะตัดไม้ได้หรือไม่

เริ่มโดย นายพรนรินทร์ ภูครองหิน, 16-08-2021, 05:58:35

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

นายพรนรินทร์ ภูครองหิน

https://www.nitikon.com/index.php?action=dlattach;topic=181865.0;attach=203;image" />

1.กรณีศึกษาการที่องค์การบริหารส่วนตำบล ขออนุญาตทำไม้ยางในเขตทางสาธารณะ ได้หรือไม่ 💥(ค้นโดยนิติกรพร)💥 http://www.dla.go.th/work/ebook/eb280952/pdf3/C33.pdf 2.กรณีศึกษาเทศบาลนครได้มีหนังสือเพื่อขอหารือเกี่ยวกับแนวทางการควบคุมกิจการให้บริการตัดแต่งกิ่งไม้หรือต้นไม้ 💥(ค้นโดยนิติกรพร)💥 http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0002/00002306.PDF 3.กรณีศึกษาหารือให้ที่ดินแล้วขอคือขุดดินกั้นทางสาธารณะอุทิศให้ทางราชการแล้วขอคืนได้หรือไม่ ไปตามดูครับท่าน 💥(ค้นโดยนิติกรพร)💥 http://www.krisdika.go.th/data/outsitedata16/file/552_2550.pdf 4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9183/2551 ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ โจทก์ชอบที่จะใช้สอยทางพิพาทได้ การที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองโดยทำการไถทางแล้วปลูกต้นสักในเส้นทางดังกล่าว ย่อมเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ในการใช้เส้นทางสาธารณประโยชน์ อันถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และ 1337 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์มีเส้นทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะหรือไม่ ทั้งไม่ต้องคำนึงว่าประชาชนเลิกใช้เส้นทางดังกล่าวแล้วเพราะตราบใดที่ยังไม่มีการประกาศยกเลิกโดยทางการก็ยังคงสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์อยู่ การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สอยทางพิพาทได้ การที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองโดยทำการไถทางสาธารณประโยชน์แล้วปลูกต้นสักในเส้นทางดังกล่าว ย่อมเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ในการใช้เส้นทางสาธารณประโยชน์ อันถือได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และ 1337 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์มีเส้นทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะหรือไม่ ทั้งไม่ต้องคำนึงว่าประชาชนเลิกใช้เส้นทางดังกล่าวแล้วตามที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วตราบใดที่ยังไม่มีการประกาศยกเลิกโดยทางการก็ยังคงสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์อยู่ ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองไม่ได้ การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เข้ายึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์ได้ ปัญหาว่าทางสาธารประโยชน์ดังกล่าวกว้างเท่าใด เห็นว่าจากแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้นำชี้ถึงแม้จะนำชี้จุดวิวาทแตกต่างกันก็ตาม แต่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างนำชี้ระบุว่ากว้าง 6 เมตร ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดความกว้างของทางพิพาท 6 เมตรนั้น จึงชอบแล้ว พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 1,500 บาท
เพื่อพี่น้องท้องถิ่นและประชาชน