• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่ให้รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในแม่น้ำแควน้อย

เริ่มโดย นายพรนรินทร์ ภูครองหิน, 25-07-2021, 00:50:00

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

นายพรนรินทร์ ภูครองหิน

https://www.nitikon.com/index.php?action=dlattach;topic=181833.0;attach=75;image" />

กรณีศึกษาศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น ยกฟ้อง ในคดีที่พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่ให้รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในแม่น้ำแควน้อย 💥(ค้นโดยนิติกรพร)💥24/07/2564 คดีพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมเจ้าท่าที่ให้รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในแม่น้ำแควน้อย ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น ยกฟ้อง ในคดีที่พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่ให้รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในแม่น้ำแควน้อย เนื่องจากศาลฯ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีที่มีที่ดินบางส่วนที่อยู่นอกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นที่งอกริมตลิ่งนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า กระแสน้ำในแม่น้ำแควน้อยมีความรุนแรงและเชี่ยวกราก กัดเซาะที่ดินริมตลิ่งในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีในการขออนุญาตทิ้งหินกันน้ำเซาะ ย่อมไม่อาจเป็นไปได้เลยว่าจะเกิดที่งอกริมตลิ่งออกจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่เป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีได้ว่าจ้างให้ถมดินลงไปในแม่น้ำแควน้อยพื้นที่ประมาณ 1,500 ตารางเมตร แล้วผู้ฟ้องคดีได้ทำประโยชน์ในที่ดินส่วนนี้โดยการปลูกต้นไม้ จัดพื้นที่เป็นสวนหย่อมและทำทางเท้า ซึ่งปูด้วยหินแผ่นไปตามแม่น้ำแควน้อย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนการอนุญาตของเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 สาขากาญจนบุรี โดยมีการทิ้งหิน ดิน เกินกว่าแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี ลงในแม่น้ำแควน้อยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 จึงเป็นการทิ้งหินถมดินลงในแม่น้ำแควน้อยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าฯ และเมื่อผู้ฟ้องคดีได้ปลูกต้นไม้ทำเป็นส่วนหย่อม และทำทางเท้าซึ่งปูด้วยแผ่นหิน การกระทำดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการปลูกสร้างสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปในน้ำ หาได้มีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตให้ทิ้งหินกันน้ำเซาะลงในแม่น้ำแต่อย่างใด จึงถือว่าเป็นการกระทำสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปในแม่น้ำแควน้อยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ตามมาตรา 117 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 สาขากาญจนบุรี ผู้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมเจ้าท่า จึงมีอำนาจตามมาตรา 118 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน โดยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งล่วงล้ำในแม่น้ำแควน้อยได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่เจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 สาขากาญจนบุรี มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการรื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในแม่น้ำแควน้อยออกให้พ้นเสียจากแม่น้ำภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของปลัดกระทรวงคมนาคมที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ประเด็นอื่นของผู้ฟ้องคดีอีก เนื่องจากไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป 💥(ค้นโดยนิติกรพร)💥 24/07/2564 ที่มาเว็บไชต์ศาลปกครองสูงสุด https://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/News/News_230721_143845.pdf
เพื่อพี่น้องท้องถิ่นและประชาชน