• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

การที่ข้าราชการเล่นการพนัน (ไฮโล) โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

เริ่มโดย นายพรนรินทร์ ภูครองหิน, 27-09-2020, 01:02:09

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

นายพรนรินทร์ ภูครองหิน

นิติกรพรขอนำเรียนกรณีศึกษา "ข้าราชการ รวมถึงลูกจ้างของส่วนราชการ" ต้องระมัดระวังในความประพฤติของตนเอง ทั้งในการปฏิบัติ "หน้าที่ราชการ"และ"ในเรื่องส่วนตัว" โดยไม่กระทำการใดที่สุ่มเสี่ยงทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการได้ ซึ่งอาจเป็นความผิดวินัยฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันนำไปสู่การถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการได้

1.นิติกรพรขอนำเรียนการที่ข้าราชการเล่นการพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ต่อมาการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนประกอบกับมีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว "คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อ.25/2558 " (ค้นโดยนิติกรพร)
คดีหมายเลขดำที่ อ. 110/2550 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 25/2558

https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2550/01012-500110-1f-580512-0000546775.pdf

เอกสารคำแถลงการณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ. 110/2550 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 25/2558

https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2550/01012-500110-4f-580512-0000546776.pdf

2.นิติกรพรขอนำเรียน"การที่ข้าราชการอ้างว่าได้ไปร่วมงานบุญโดยมีการเล่นการพนันในงานบุญ ต่อมาตำรวจเข้าจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน (เต๋าปั่น) พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตในบ้านดังกล่าว จะมีความผิดฐานใด และจะผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่"
การที่ข้าราชการอ้างว่าได้ไปร่วมงานบุญโดยมีการเล่นการพนันในงานบุญ ต่อมาตำรวจเข้าจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนัน (เต๋าปั่น) พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตในบ้านดังกล่าว แต่คดีอาญามีเหตุสงสัยว่าข้าราชการเล่นการพนันหรือไม่ กรณีดังกล่าวพฤติการณ์จึงรับฟังได้ว่าข้าราชการได้เข้าไปเล่นการพนันหรือมั่วสุมในวงพนันผิดกฎหมายในบ้านที่เกิดเหตุจริง จึงมีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงจะต้องพิจารณาถึงเกียรติของข้าราชการและความรู้สึกของสังคมที่มีต่อข้าราชการประกอบกับเจตนาในการกระทำโดยคำนึงถึงพฤติการณ์ของว่า ได้กระทำให้ราชการได้รับความเสียหายต่อภาพพจน์หรือชื่อเสียงหรือไม่ การดำเนินการทางวินัยและการดำเนินคดีอาญา มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันทั้งขั้นตอนและวิธีการสอบสวนแยกต่างหากจากกันการรับฟังพยานหลักฐานแตกต่างกัน การลงโทษทางวินัยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษา ระเบียบวินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เป็นที่สมควรแก่ความไว้วางใจของสาธารณชนที่จะใช้อำนาจรัฐในการจัดทำ บริการสาธารณะ แต่การดำเนินการทางอาญาเป็นการดำเนินการที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้กระทำผิดจึงต้องกระทำโดยมีพยานหลักฐานที่ชัดแจ้ง ซึ่งหากไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีการกรำผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย กล่าวคือ เมื่อข้อเท็จจริงและพฤติการณ์รับฟังได้ว่า ข้าราชการเข้าไปเล่นการพนันหรือมั่วสุมในวงพนันผิดกฎหมายในบ้านที่เกิดเหตุจริง ก็ย่อมลงโทษทางวินัยได้ โดยมิได้ผูกมัดที่จะต้องนำหลักยกประโยชน แห่งความสงสัยให้แก่จาเลยมาปรับใช้แต่อย่างใด ดังนั้น การที่มีคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการและมติที่ยกอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว "คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อ.170/2554" (ค้นโดยนิติกรพร) คดีหมายเลขดำที่ อ. 682/2550 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 170/2554

https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2550/01012-500682-1f-540531-0000088239.pdf

เอกสารคำแถลงการณ์  คดีหมายเลขดำที่ อ. 682/2550 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 170/2554

https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2550/01012-500682-4f-530930-0000088240.pdf
เพื่อพี่น้องท้องถิ่นและประชาชน