• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

การอุทิศที่ดินให้เดินผ่านนาน 40 ปี จึงเป็นทางสาธารณะประโยชน์โดยปริยายตามกฎหมาย

เริ่มโดย นายพรนรินทร์ ภูครองหิน, 21-05-2020, 08:28:27

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

นายพรนรินทร์ ภูครองหิน



การที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 4 เมตร ผ่านที่ดินของชาวบ้านซึ่งเป็นทางเดินที่ชาวบ้านสัญจรไปมากว่า 40 ปี ต่อมาเจ้าของใหม่ขอรังวัดที่ดินแต่สำนักงานที่ดินจังหวัดไม่ดำเนินการให้ เนื่องจากที่ดินตามโฉนดเกินเนื้อที่ดินไปบุกรุกที่สาธารณะประโยชน์ จึงนำคดีมาฟ้องต่ศาลปกครอง กล่าวคือ จากถ้อยคำของราษฎรในพื้นที่ได้ความว่า ทางเดินโดยเปิดเผยที่ชาวบ้านสัญจรมาไปมาไม่น้อยกว่า 40 ปีดโยเจ้าของดินเดิมและผู้ฟ้องคดีไม่ได้หวห้ามแต่อย่างใด และทรางราชการได้ปรับปรุงเป็นถนนลูกรังในปี 2511 ปี 2516 และหลังจากนั้นที่ดินได้ตกมาเป็นเจ้าของใหม่ ปี 2523 โดยไม่มีการหวงห้ามหรือโต้แย้งคัดค้านการใช้ทรางดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าของดินเดิมได้อุทิศดังกล่าวแล้ว ทางดังกล่าวย่อมีสภาพเป็นสาธารณะประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) โดยปริยาย ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ในทางที่พิพาทดังกล่าว ซึ่งเป็นทางสาธารณะประโยชน์ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย อ.44/2546 (ค้นโดยนิติกรพร) 21/05/2563   

http://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/admCase/Document/judgement/PDF/2545/01012-450030-1F-461031-0000014355.pdf

การที่มีผู้บริจาคที่ดินบางส่วนของเจ้าของที่ดินเดิมจะไม่ได้ทำเป็นหนังสืออุทิศหรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อยกที่ดินให้เป็นถนนสาธารณะก็ตาม แต่การอุทิศที่ดินดังกล่าวให้เป็นถนนสาธารณะ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสืออุทิศหรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะแต่อย่างใด ประกอบกับประชาชนที่อาศัยบริเวณดังกล่าวใช้ถนนในที่ดินพิพาทเป็นทางเข้า–ออกมาเป็นเวลาประมาณ ๑๙ ปี โดยไม่มีผู้ใดสงวนสิทธิ์หรือปิดกั้นหรือเก็บค่าผ่านทางหรือแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณถนนในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด กล่าวคือ ที่ดินพิพาทที่บริจาคให้เป็นถนนสาธารณะได้ตกเป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และทางสาธารณะดังกล่าวย่อมมีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ตามมาตรา ๑๓๐๔ (๒) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้ต่อมาเจ้าของที่ดินเดิมจะได้จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดิน และผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกจะได้จดทะเบียนโอนมรดกในที่ดินพิพาทมาเป็นของผู้ฟ้องคดี ก็หาทำให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ไปแล้ว เปลี่ยนสภาพกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเดิม และของผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ดินที่พิพาทจึงเป็นทางสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันโดยปริยาย ไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด  อ.212/2560 (ค้นโดยนิติกรพร) 21/05/2563

http://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/admcase/Document/judgement/PDF/2556/01012-560566-1F-600606-0000600251.pdf
เพื่อพี่น้องท้องถิ่นและประชาชน