• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

วินัยไม่ร้ายแรง คกก สอบสวน จะว่ากล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรได้หรือไม่?

เริ่มโดย admin, 27-02-2020, 07:27:47

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

admin


คำถาม  ๑๗/๒/๖๓
กรณีคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงได้พิจารณาความเห็นแล้วว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาได้ปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง โดยกรรมการสอบสวนจะไม่ลงความเห็นกำหนดโทษทางวินัย แต่จะให้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นนี้ กรรมการสอบสวนสามารถมีความเห็นเช่นนี้ได้หรือไม่คะ

ขอบคุณคะ

ตอบ

          ประเด็น

          กรรมการสอบสวนจะไม่เสนอสถานโทษที่จะลง ได้หรือไม่

          สรุป

          ไม่ได้

          ขยายความ

          การตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการมีสาระสำคัญตามหมวด ๗ (สอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง) โดยอนุโลม (ข้อ ๒๖ ว ๕)
          รายงานการสอบสวนอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
          ...
          (๓) ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ อย่างไร ถ้าผิดเป็นความผิดกรณีใด ตามข้อใด (ไม่ร้ายแรง/ร้ายแรง) และควรได้รับโทษสถานใด [ข้อ ๗๖ ว ๒ (๓)]

          ...สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อนซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน (ข้อ ๘๔ ว ๑)
          ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือก็ได้ (ข้อ ๘๔ ว ๒)

          ดังนั้น กรณีคำถาม กรรมการสอบสวนต้องมีความเห็นให้ลงโทษภาคทัณฑ์ แต่เนื่องจากมีเหตุอันควรลดหย่อน (เช่น...) จึงให้งดโทษภาคทัณฑ์ และให้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือ

          หมายเหตุ

          การอ้างเหตุลดหย่อน ต้องระบุสถานโทษ (ภาคทัณฑ์/ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน หรือลดเงินเดือน/ปลดออก/ไล่ออก) ที่จะลงแก่ผู้ถูกกล่าวหาเสียก่อนทุกครั้ง แล้วจึงอ้างเหตุลดหย่อนเพื่องดโทษนั้น ๆ ในภายหลัง

          อ้างอิง :

          หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย (พ.ศ.๒๕๕๘/๒๕๕๙)
          ข้อ ๒๖ วรรคห้า
          ข้อ ๗๖ วรรคหนึ่ง (๓)
          ข้อ ๘๔ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง

          ขอบคุณครับ
อยากให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา