กรณีศึกษา การที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดเกินระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นระยเวลาเร่งรัดไม่ใช่ระยะเวลาบังคับกรณีการสอบพนักงานจ้างมีการทุจริตไล่ออกแต่ลดโทษเป็นปลดออก
ตามกฎหมาย ป.ป.ช.ยังคงมีหน้าที่และอำนาจที่จะดำเนินการไต่สวน และมีความเห็น หรือวินิจฉัย หรือดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
แม้การไต่สวนดังกล่าวจะพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 พิจารณาสอบสวนและดำเนินการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณีโดยเร็ว กรณีจึงเห็นได้ว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีมติวินิจฉัยชี้มูลความผิดผู้ฟ้องคดี แม้จะพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 48 ก็ตาม แต่เมื่อระยะเวลาการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงกรอบเวลาในการทำงานของผู้ถกฟ้องคดีที่ 3 เพื่อเร่งรัดให้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงและ
มีคำวินิจฉัยโดยเร็ว โดยไม่ได้มีลักษณะเป็นบทบังคับเด็ดขาดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและมีความเห็นหรือวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
กล่าวคือ แม้การไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาดำเนินการเกินกว่ากรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็มิได้มีผลทำให้การไต่สวนข้อเท็จจริงที่เป็นไปโดยชอบต้องเสียไปแต่อย่างใด ประกอบกับคดีนี้ผู้ถกฟ้องคดีที่ 3 มีมติชี้มลความผิดผู้ฟ้องคดีว่า การกระทำของผู้ฟ้องคดีมีมลความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายของรัฐบาล ตามประกาศณะกรรมการ
พนักงานส่วนตำบลจังหวัด.... เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน
การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ฯ ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนย่อมต้องพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก และให้ถือว่าสำนวนการไต่สวนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมาย
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้พิจารณาโทษทางวินัยของผู้ฟ้องคดีตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีมติโดยไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ฟ้องคดี และใช้สำนวนการไต่สวนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นสำนวนการสอบสวน ในชั้นนี้จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี..ที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าว ส่วนรายละเอียดขอให้ศึกษาจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ 467/2567 คดีหมายเลขแดงที่ 1150/2567 (ค้นโดยนิติกรพร)
https://www.nitikon.com/document/doc_57816298720241204_163315.pdf
ตามกฎหมาย ป.ป.ช.ยังคงมีหน้าที่และอำนาจที่จะดำเนินการไต่สวน และมีความเห็น หรือวินิจฉัย หรือดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
แม้การไต่สวนดังกล่าวจะพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 พิจารณาสอบสวนและดำเนินการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณีโดยเร็ว กรณีจึงเห็นได้ว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีมติวินิจฉัยชี้มูลความผิดผู้ฟ้องคดี แม้จะพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 48 ก็ตาม แต่เมื่อระยะเวลาการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงกรอบเวลาในการทำงานของผู้ถกฟ้องคดีที่ 3 เพื่อเร่งรัดให้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงและ
มีคำวินิจฉัยโดยเร็ว โดยไม่ได้มีลักษณะเป็นบทบังคับเด็ดขาดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและมีความเห็นหรือวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
กล่าวคือ แม้การไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาดำเนินการเกินกว่ากรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็มิได้มีผลทำให้การไต่สวนข้อเท็จจริงที่เป็นไปโดยชอบต้องเสียไปแต่อย่างใด ประกอบกับคดีนี้ผู้ถกฟ้องคดีที่ 3 มีมติชี้มลความผิดผู้ฟ้องคดีว่า การกระทำของผู้ฟ้องคดีมีมลความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายของรัฐบาล ตามประกาศณะกรรมการ
พนักงานส่วนตำบลจังหวัด.... เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน
การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ฯ ข้อ 3 วรรคสาม และข้อ 6 วรรคสอง ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนย่อมต้องพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก และให้ถือว่าสำนวนการไต่สวนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมาย
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้พิจารณาโทษทางวินัยของผู้ฟ้องคดีตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีมติโดยไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ฟ้องคดี และใช้สำนวนการไต่สวนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นสำนวนการสอบสวน ในชั้นนี้จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี..ที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าว ส่วนรายละเอียดขอให้ศึกษาจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ 467/2567 คดีหมายเลขแดงที่ 1150/2567 (ค้นโดยนิติกรพร)