• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - admin

#81
 [smf] เริ่มต้นโมธีม
วันก่อนได้สร้างไฟล์ template ใหม่แล้ว วันนี้จะพาไปดูรายละเอียดธีมใหม่นั้น
อย่างที่ได้เขียนไว้ในวันก่อนแล้วว่า ในโฟลเดอร์ของธีมใหม่จะมีไฟล์หลักๆแค่ 4 ตัว 1. index.php 2. index.index.template.php 3. style.css และ 4. images

ไฟล์ index.php และโฟลเดอร์ images ยังไม่ต้องสนใจ
พระเอกของเราในตอนนี้คือ index.template.php ดับเบิ้ลคลิกมันคือมาเลยครับ

แน๊ ยังอีก..ไปเปิดมันขึ้นมาก่อนสิ เดี๋ยวก็คุยกันไม่รู้เรื่อง
ถ้าให้ดีเปิดด้วยโปรแกรม Dreamweaver เวอร์ชั่นห่าอะไรก็ได้ (แต่ผมใช้เวอร์ชั่น CS5) เปิดขึ้นมาแล้วคลิกขวาแล้วเลือก Functions ตามภาพ



smf จัดการหน้านี้ด้วยฟังก์ชั่นล้วนๆครับ มีกันอยู่ด้วยกัน 6 ฟังก์ชั่น แต่เราจะสนใจแค่ 2 ฟังก์ชั่นก็พอ
คือ template_main_above และ template_main_below

พูดกันให้เข้าใจง่ายๆหน่อย ก็คือ ฟังก์ชั่น template_main_above ทำหน้าที่ตามชื่อเลยครับ เป็นส่วนครึ่งบนของไฟล์ ส่วน template_main_below ก็คือส่วนท่อนล่าง

ลองดูภาพด้านล่างประกอบ น่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น


ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่าฟังก์ชั่นที่เราสนใจเพื่อการโมธีมก็มีอยู่แค่ 2 ตัวอย่างที่กล่าวในเบื้องต้นเท่านั้นเองครับ(ฟังก์ชั่นที่มีพื้นสีเหลืองจางๆ)

เราอยากจะปรับแต่งตัวไหนก็กระโจนใส่ฟังก์ชั่นนั้นเลย

ในบทนี้ไฟล์ index.template.php อาจจะเป็นพระเอก แต่พระเอกที่แท้จริงที่จะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงรูปร่างจริงๆ คือ style.css ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไปครับ
#82
 [smf] เริ่่มต้นสร้างธีมใหม่
ก่อนอื่นเลยเราต้องสร้างธีมใหม่มาก่อน และให้จำไว้ว่า เราจะแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง โมเฉพาะธีมที่เราสร้างมาใหม่เท่านั้น!! จะไม่ไปแตะต้องไฟล์อื่นๆนอกโฟลเดอร์ธีมของเรา หากมีความจำเป็นต้องไปแตะต้องไฟล์อื่นที่อยู่ในโฟลเดอร์ Themes/Default ให้ก็อปปี้ไฟล์นั้นมาไว้ในธีมของเรา เพื่อที่ว่าเวลาแก้ไข เปลี่ยนแปลงอะไรไป จะไม่กระทบถึงไฟล์หลักซึ่งอาจจะมีปัญหาในภายหลังเมื่อเราอัพเกรดเวอร์ชั่นใหม่

เบื้องต้นสร้างธีมใหม่ > แอดมิน > ปรับแต่งธีมและการวางรูปแบบ



ติดตั้งธีมใหม่ มี 2 จุดที่เราต้องทำคือ 1. ในช่อง จากไดเรคทอรี่ ลบทิ้งให้หมด 2. ช่องสร้างธีมใหม่ พิมพ์ชื่อธีมที่เราต้องการลงไป ชื่ออะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นภาษาอังกฤษ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม "ติดตั้ง"


ระบบจะแจ้งเตือนมาว่าจะคัดลอกจากธีมหลัก กด OK


ระบบจะแจ้งว่าติดตั้งเรียบร้อยแล้ว คลิกกลับไป และลองไปเลือกธีมที่เราพึ่งติดตั้งเมื่อสักครู่ดู

ก็จะได้ธีมหน้าตาธรรมดามาตัวหนึ่ง




ทีนี้ลองคลิกไปดูโฟลเดอร์ Themes จะปรากฏธีมที่เราพึ่งสร้างไปเมื่อสักครู่



คลิกไปดูข้างในก็จะมีไฟล์หลักๆสำหรับธีม 1 ธีม อยู่ 4 ไฟล์ คือ 1.index.php 2.index.template.php 3. style.css และ 4. images



เดี๋ยวตอนต่อไปเราจะมาทำการเปลี่ยนแปลงธีมหน้าตาธรรมดาๆตัวนี้ให้เป็นธีมใหม่แบบตามใจเราเอง !!

เครดิต  SMF And NEVIKUP
#84


เมื่อนิติกร ท้องถิ่น ประกาศ รับสับเปลี่ยนโอนย้าย แบบ ครีเอทีฟ จะเป็นอย่างไร ดูได้ตามภาพ   ท่านใดสนใด ก็ ติดต่อไปได้

#85


เมื่อ วันที่ 2 กันยายน 2563 ชนินทร์ ราชมณี  ผู้อำนวยการส่วนประสานการถ่ายโอนบุคลากร และมาตรฐานตำแหน่ง สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. ได้โพสเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า "สำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ได้มีหนังสือ ที่ มท 0809.3/ว2630 ลงวันที่ 1 ก.ย. 63 แจ้งประกาศ เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหจุพิเศษตำแหน่งด้านพัสดุ พ.ศ. 2563
     โดยปนะกาศดังกล่าวเป็นการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดตามประกาศที่โพลส ครับ"
   อันจะทำให้ ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีเงินเพิ่มพิเศษ ทั้งนี้ เป็นไปตามหนังสือสั่งการ










#86
เทคนิคการอ่าน พ.ร.บ. กฎ ระเบียบต่างๆ ให้เข้าใจและจำง่าย

        แบ่งปันเทคนิคการอ่าน พระราชบัญญัติ กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ ให้เข้าใจและจำได้ง่ายๆ ฉบับครูบ้านนอกดอทคอม ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่ตัวผมเองได้ใช้และแนะนำคนอื่นๆ ได้ลองนำไปปรับใช้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบมาในหลายๆ ตำแหน่ง  ผมพอจะสรุปได้ประมาณ 10 ข้อ ลองอ่านดู เผื่อมีประโยชน์นะครับ

1. จัดเรียงตามลำดับ
        กฎหมาย ระเบียบต่างๆ จะมีวันที่ออก และประกาศใช้ ให้ลองนำมาเรียงลำดับ ก่อน - หลัง จะได้ดูง่ายขึ้น

2. แยกหมวดหมู่
        เป็นการแยกหมวดหมู่ และแบ่งเนื้อหาออกเป็นกลุ่มๆ ให้อยู่ในหมวดหมู่ หรือกลุ่มเดียวกัน จะช่วยทำให้เราสามารถเชื่อมโยงกันได้ง่ายขึ้น

3. จำชื่อ จำเรื่อง ให้ถูกต้อง
        กฎหมาย และระเบียบหลายๆ ฉบับ จะมีชื่อเรียกคล้ายๆ กัน อย่าสับสน ควรจำให้ได้ว่าแต่ละฉบับ มีชื่อเรื่องที่ถูกต้องว่าอย่างไร เช่น ระเบียบว่าด้วย.....     ประกาศ เรื่อง...... เป็นต้น

4. ทำไฮไลต์เนื้อหาสำคัญ
การทำไฮไลต์เนื้อหาส่วนที่สำคัญ และควรที่จะจดจำได้ จะช่วยให้ตอนมาอ่านทบทวนรอบที่สอง รอบที่สาม สามารถหาคำสำคัญได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

5. สรุปออกเป็นแผนผังความคิด
        ตรงนี้หลายๆ คนไม่เคยได้ลองทำ แต่เชื่อเถอะครับ ถ้าได้ลองเขียนออกมาเป็นแผนผัง หรือบางคนอาจจะใช้วิธีการทำเป็นรูปภาพ ประมาณ InfoGraphic ก็จะช่วยให้เราจำได้ง่ายขึ้น เพราะการจำเป็นภาพ จะจำได้ง่ายกว่าจำเป็นตัวอักษร เช่น กรณีจำนวนขององค์คณะบุคคลในคณะกรรมการต่างๆ ถ้าเราทำเป็นรูปภาพแทนตัวหนังสือ เราจะจำได้ง่าย เหมือนสอนนักเรียนโดยใช้รูปผลไม้แทนจำนวนตัวเลขนั่นเองครับ

6. พยายามอ่านออกเสียงในคำสำคัญๆ
        การอ่านออกเสียง จะเป็นการเพิ่มการรับรู้ทางประสาทสัมผัสอีกช่องทางหนึ่งครับ คือถ้าอ่านในใจ เราก็รับรู้ในช่องทางสายตา เวลาเจอข้อสอบ เราก็จะพยายามคิดใช่ไหม ว่าเคยอ่าน เคยผ่านตามาหรือเปล่า แต่ถ้าเราได้รับข้อมูลเดียวกันนี้ผ่านทางการได้ยินด้วยแล้ว ก็จะช่วยเพิ่มช่องทางในการค้นหาคำตอบจากระบบประสาทสัมผัสต่างๆ ของเราได้ดีขึ้น

7. จับประเด็นสำคัญให้ได้
        กฎหมาย ระเบียบต่างๆ นั้น จะมีใจความสำคัญ หรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ให้อ่านและจับประเด็นให้ได้ว่าเรื่องนี้ ออกมาด้วยเหตุผลใด มีหลักเกณฑ์และวิธีการอย่างไร การดำเนินการในลักษณะไหน เป็นต้น ตรงนี้อาจจะมีเทคนิคย่อยๆ คือ ลองทำเป็นกลอน หรือ คำย่อๆ ที่จำได้ง่ายๆ (ซึ่งเป็นเทคนิคที่ติวเตอร์ทั้งหลายนิยมใช้) ออกมาเป็นรูปแบบและสไตล์ของเราเองดูก็ได้นะครับ

8. บุคคล หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องต้องระบุได้
        ตรงนี้หลายๆ คนอาจจะมองข้ามไป จนไม่ได้ใส่ใจว่า ในบางครั้ง ผู้ออกข้อสอบก็จะถามในลักษณะที่อ้างถึงว่า บุคคลใด หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับใด ที่มีอำนาจตามกฎ ระเบียบ แต่ละฉบับ แต่ละเรื่อง จุดนี้ ต้องจำให้ดีครับ

9. ปรึกษาผู้รู้ อย่าปล่อยให้ตัวเองเข้าใจผิดๆ
        เนื่องจากกฎ ระเบียบ ต่างๆ มักจะใช้คำที่เป็นลักษณะภาษาทางด้านกฎหมาย หรือข้อความที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการ ดังนั้น ถ้าเราอ่านแล้วเกิดความไม่ชัดเจน ว่าประโยคหรือคำนี้ หมายความว่าเช่นไร ให้ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์ หรือผู้ที่มีความรู้ทันที อย่าปล่อยให้ตัวเองเข้าใจผิด เพราะความเข้าใจในครั้งแรก มักจะอยู่ทนและนานกว่าความเข้าใจครั้งถัดมา

10. "และ" / "หรือ" คำที่ควรใส่ใจ
        หลีกหนีไม่พ้นครับ สำหรับคำว่า "และ" / "หรือ" ในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นคำที่เราควรใส่ใจ เพราะเป็นตรรกะ ที่เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และวินิจฉัยคำตอบที่ถูกต้องได้ เมื่อเวลาเจอคำถามที่ดูเหมือนจะมีคำตอบหลายๆ ข้อ

        ทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีการหนึ่งที่ผมใช้เป็นหลักในการอ่านและจดจำเกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ ต่างๆ นะครับ ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะมีเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันออกไป ก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยน แบ่งปันกันได้นะครับ ครูบ้านนอกดอทคอม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่จะก้าวเข้ามาเป็นครูในอนาคต จะเป็นผู้ที่รู้รอบ และรอบรู้ในกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ต่างๆ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งสามารถฟันธงได้เลยว่า ต้องเกิดจากการอ่านนะครับ เพราะถึงแม้ว่าเราจะไปฟังผู้รู้ หรือคนอื่นๆ พูดมา เราก็ควรที่จะจับมาอ่านให้เห็นด้วยตาตนเองสักครั้งหนึ่งก็ยังดีนะครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ
#87
...// สิ่งที่ข้าราชการควรเตรียม //...

1. เตรียมลายมือสวยๆ ไว้กรอกข้อมูลส่วนตัว ประวัติในใบทะเบียนประวัติ กพ.7 (หากหน่วยงานนั้นๆให้ท่านกรอกเอง)

2. เตรียมลายนิ้วมือ ไว้เพื่อการตรวจสอบประวัติ ด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือ ณ สถานีตำรวจ (ข้อนี้ใจเย็นๆ ให้รอหนังสือส่งตัวจากหน่วยงานที่ท่านบรรจุก่อน)

3. เตรียมตัว พยายามศึกษาว่าหน่วยงานที่ท่านบรรจุมีวัฒนธรรมองค์กรเช่นไร แต่งกายปฏิบัติงานในแต่ละวันเป็นอย่างไร

4. เตรียมใจ นับตั้งแต่ก้าวแรกทีท่านก้าวขึ้นสู่สำนักงานหน่วยงานที่ได้รับการบรรจุ นั้น หมายความว่า บทเรียนของวงการท้องถิ่น บทเรียนในชีวิตข้าราชการจริงๆของท่านได้เริ่มขึ้นแล้ว จะเจอหนัก เจอเบาประการใด ขอให้อดทนไว้

5. ปรับตัว ก่อนที่จะขึ้นสำนักงานในวันแรกนั้น ขอให้เก็บลำดับที่สอบได้ไว้(ที่บ้าน) เพราะหน่วยงานและบุคลากร จะไม่ค่อยใส่ใจในลำดับที่ท่านสอบได้ ถึงแม้ว่าจะสอบได้ที่ 1 ก็ตาม ... หากท่านได้รับการบรรจุเป็นครั้งแรก การชื่นชมในความเก่งที่สอบได้ ก็จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ ! แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการจากท่านคือ การพิสูจน์ความรู้ความสามารถด้วยการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายต่างหาก

6. งานเอกสาร งานธุรการ เป็นงานพื้นฐานที่ข้าราชการทุกคนต้องเจอและต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นการเขียน พิมพ์ร่างหนังสือราชการ หรือ การเกษียนหนังสือ ดังนั้นแล้วโปรดศึกษารูปแบบมาตรฐานของหน่วยงานนั้นๆ ให้ไวที่สุด

7. เตรียมเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาประจำจังหวัดที่ท่านได้รับการบรรจุ และถ่ายเอกสารหน้าแรกให้กองคลัง เพ่ือเป็นบัญชีที่จะได้รับเงินเดือน

8. เตรียมวางแผนการใช้จ่ายเงิน สำหรับ "เงินเดือน" ที่จะได้รับนั้น ข้าราชการใหม่ ขอให้วางแผนการออมเงินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆเลยครับ

9. เตรียมอยู่เวรสำนักงาน ... จะอยู่เอง หรือ จ่ายคนอื่นอยู่แทนก็ค่อยศึกษากันไปครับ

10.เตรียมทำตรายาง ชื่อ+ตำแหน่ง ไว้ประทับหนังสือราชการ

ฯลฯ

ตอนนี้คิดได้เท่านี้ ขอให้ข้าราชการใหม่ทุกท่านโชคดีครับ
"เก็บความรู้สึกภาคภูมิใจในวันนี้ไว้ เพื่อเป็นพลังเชื้อเพลิงในการทำงานต่อในวันหน้า"
สวัสดีครับ
#88
ไขข้อข้องใจ เรื่อง ลำดับที่สอบได้ (บรรจุ)

[คำถาม]
หากในกลุ่มภาคใต้ เขต 2 ประกาศรับสมัครตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน ระดับ 3 จำนวน 3 อัตรา ... หากผมสอบได้ลำดับที่ 4 จะได้บรรจุหรือไม่

[คำตอบ]
ขออธิบายในหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันฯ คือ การสอบแข่งขันครั้งนี้ จะให้ผู้สมัครเลือกกลุ่มภาคที่ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาหรือทะเบียนบ้าน ดังนั้นแล้วผู้สมัครจะเลือกสมัครในกลุ่มภาคใดก็ได้ และผู้สมัครจะต้องเข้าสอบตามศูนย์สอบที่อยู่ประจำกลุ่มภาคนั้นๆ ... ที่นี้ ทุกคนคงรับทราบแล้วว่า ได้มีการประกาศรับสมัครออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว และได้ระบุชัดเจนว่ากลุ่มภาคใด ประกาศรับตำแหน่งอะไรบ้าง และรับจำนวนเท่าไร เพื่อให้ผู้สมัครสอบได้พิจารณาและเลือกสมัครด้วยตนเอง
มาถึง ... กระบวนการสอบแข่งขันจะขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เป็น "รายกลุ่มภาค" ไม่ใช่ขึ้นบัญชีแบบเรียงลำดับทั้งประเทศ !!!

บัญชีผู้สอบแข่งขันได้แบบรายกลุ่มภาค
จะเรียงลำดับผลคะแนนจากผู้ที่สอบผ่าน ภาค ก (60%) , ภาค ข (60 %) และภาค ค (60%) กสถ. จะนำผลคะแนนทั้งสามภาคมารวมกันด้วยหลักวิชาการ จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านโดยเรียงตามลำดับคะแนน เรียกว่า "บัญชีผู้สอบแข่งขันได้"

กระบวนการเรียกบรรจุ
ตามที่ประกาศรับสมัคร ยกตัวอย่าง กลุ่มภาคใต้ เขต 3 ประกาศรับสมัครตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน ระดับ 3 จำนวน 3 อัตรา ... กสถ. ก็จะส่งหนังสือถึงผู้ที่สอบได้ลำดับที่ 1-3 มาบรรจุแต่งตั้งต่อไป

เจ้าของคำถาม ถามว่า หากสอบได้ลำดับที่ 4 จะได้บรรจุไหม
* 1. หากผู้สอบได้ลำดับที่ 1-3 ในตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน มีคนใดสละสิทธิ์ไม่ขอบรรจุแต่งตั้ง ... กสถ. ก็จะเรียกลำดับที่ 4 มาบรรจุแทน

* 2. หลังจาก กสถ. เรียกลำดับที่ 1-3 มาบรรจุเรียบร้อยแล้ว
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มภาคใต้ เขต 2 มีความต้องการ นักพัฒนาชุมชน ก็สามารถทำหนังสือมาขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และต้องเรียงตามลำดับ ซึ่งลำดับที่ 4 ก็จะได้บรรจุครับ
#89
วันรับสมัครสอบ
ขอสรุปเหตุการณ์ที่ผ่านมา ดังนี้
วันที่ 22 ตุลาคม 2556
   ในที่ประชุม ได้สรุปวางกรอบระยะเวลาที่จะดำเนินการสอบ ดังนี้ ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2556 จะเปิดรับสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ต เดือนมกราคม 2557 จะดำเนินการสอบภาค ก และภาค ข
... จากนี้ จะแจ้งกรอบระยะเวลาให้ มรภ.สวนดุสิตรับทราบ และหาก มรภ.สวนดุสิต ไม่ติดข้องในระยะเวลาที่วางไว้ ก็จะเปิดรับสมัครอย่างเป็นทางการต่อไป

วันที่ 23 ตุลาคม 2556
   หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 23 ต.ค. 56 หน้าที่ 7 ได้ตีข่าว [กสถ. รับสมัครสอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่น 18 พ.ย.]
โดยตามข่าว ... ตำแหน่งว่างกว่า 7,500 อัตรา ล่าสุด มีกำหนดรับสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ตตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป คาดว่าจะสอบภาค ก (ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป) และภาค ข (ภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง) ในเดือนมกราคม 2557 โดยมี มรภ.สวนดุสิต เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบบรรจุในศูนย์สอบภูมิภาคทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศ

จากนี้ คือ ดุลยพินิจของท่านผู้อ่าน ต้องตระเตรียมตัวเองให้พร้อม หากเปิดรับสมัครในวันดังกล่าวจริงๆ เอาเป็นว่ากลางเดือนพฤศจิกายน เตรียมตัวให้พร้อมสมัคร
- ช่วงกลางเดือน พ.ย. ทำตัวให้ว่าง
- เตรียมคอมฯ พร้อมอินเตอร์เน็ตให้พร้อม
- เตรียมเอกสารบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน วุฒิการศึกษาให้พร้อม
- รอประกาศอย่างเป็นทางการ (อย่างมีสติ)

อัตราว่างของแต่ละจังหวัด
  สอบครั้งนี้ สนามใหญ่ กสถ. จะดำเนินการจัดสอบแข่งขันในตำแหน่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งร้องขอให้จัดสอบแทนเท่านั้น โดย กสถ. มอบหมายให้ มรภ.สวนดุสิต เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบ รวมถึงการออกข้อสอบต่างๆ
   การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะขึ้นเป็นรายกลุ่ม/เขต จำนวน 10 เขต โดยสามารถเรียกใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ข้ามจังหวัดได้ แต่ต้องอยู่ภายในกลุ่ม/เขตเดียวกันเท่านั้น
   
  การสอบแบบแบ่งภาค/เขต ตามหลักเกณฑ์ฯ บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ประกอบด้วยจังหวัดในกลุ่มภาค/เขต ดังนี้

ภาคกลางเขต 1 ได้แก่
1.จังหวัดชัยนาท
2.จังหวัดนนทบุรี   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
3.จังหวัดปทุมธานี
4.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5.จังหวัดลพบุรี
6.จังหวัดสระบุรี
7.จังหวัดสิงห์บุรี
8.จังหวัดอ่างทอง

ภาคกลางเขต 2 ได้แก่
1.จังหวัดจันทบุรี
2.จังหวัดฉะเชิงเทรา
3.จังหวัดชลบุรี ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
4.จังหวัดตราด
5.จังหวัดนครนายก
6.จังหวัดปราจีนบุรี
7.จังหวัดระยอง
8.จังหวัดสมุทรปราการ
9.จังหวัดสระแก้ว

ภาคกลางเขต 3 ได้แก่
1.จังหวัดกาญจนบุรี
2.จังหวัดนครปฐม  ดูอัตราว่าง  คลิ๊กที่นี่
3.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4.จังหวัดเพชรบุรี
5.จังหวัดราชบุรี
6.จังหวัดสมุทรสงคราม
7.จังหวัดสมุทรสาคร
8.จังหวัดสุพรรณบุรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 1 ได้แก่
1.จังหวัดกาฬสินธุ์
2.จังหวัดขอนแก่น
3.จังหวัดชัยภูมิ
4.จังหวัดนครราชสีมา
5.จังหวัดบุรีรัมย์
6.จังหวัดมหาสารคาม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 ได้แก่
1.จังหวัดมุกดาหาร
2.จังหวัดยโสธร   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
3.จังหวัดร้อยเอ็ด
4.จังหวัดศรีสะเกษ
5.จังหวัดสุรินทร์    ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
6.จังหวัดอำนาจเจริญ
7.จังหวัดอุบลราชธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 3 ได้แก่
1.จังหวัดนครพนม
2.จังหวัดบึงกาฬ
3.จังหวัดเลย
4.จังหวัดสกลนคร   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
5.จังหวัดหนองคาย
6.จังหวัดหนองบัวลำภู   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
7.จังหวัดอุดรธานี

ภาคเหนือเขต 1 ได้แก่
1.จังหวัดเชียงราย  ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
2.จังหวัดเชียงใหม่   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
3.จังหวัดน่าน   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
4.จังหวัดพะเยา
5.จังหวัดแพร่   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
6.จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
7.จังหวัดลำปาง    ดูอัตราว่าง [1] คลิ๊กที่นี่  ดูอัตราว่าง [2] คลิ๊กที่นี่       ดูอัตราว่าง [3] คลิ๊กที่นี่
8.จังหวัดลำพูน  ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่

ภาคเหนือเขต 2 ได้แก่
1.จังหวัดกำแพงเพชร
2.จังหวัดตาก   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
3.จังหวัดนครสวรรค์
4.จังหวัดพิจิตร   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
5.จังหวัดพิษณุโลก
6.จังหวัดเพชรบูรณ์
7.จังหวัดสุโขทัย    ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
8.จังหวัดอุตรดิตถ์
9.จังหวัดอุทัยธานี  ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่

ภาคใต้ เขต 1 ได้แก่
1.จังหวัดกระบี่
2.จังหวัดชุมพร
3.จังหวัดนครศรีธรรมราช
4.จังหวัดพังงา
5.จังหวัดภูเก็ต
6.จังหวัดระนอง
7.จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภาคใต้ เขต 2 ได้แก่
1.จังหวัดตรัง  ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
2.จังหวัดนราธิวาส  ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
3.จังหวัดปัตตานี
4.จังหวัดพัทลุง
5.จังหวัดยะลา   ดูอัตราว่าง คลิ๊กที่นี่
6.จังหวัดสงขลา
7.จังหวัดสตูล

** อััตราว่างที่ลงนี้ เป็นไปตามข้อมูลที่สำนักงานท้องถิ่นแต่ละจังหวัดลงเผยแพร่บนเว็บไซต์


วันรับสมัครสอบ (อย่างไม่เป็นทางการ)
ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2556
ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต

วันสอบ ภาค ก และภาค ข (อย่างไม่เป็นทางการ)
ช่วงเดือนมกราคม 2557


โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
#90
เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 13
5 ข้อ ... ที่จะฝากถึงท่านที่มีความตั้งใจจะสอบ
เข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1. กำหนดการวันเปิดรับสมัครสอบ ทาง กสถ. จะจัดประชุมพิจารณาขอบเขตกรอบระยะเวลาขั้นตอนกระบวนการสอบอีกครั้งภายในเดือนตุลาคมนี้ ก่อนที่จะมอบให้ มรภ.สวนดุสิต ดำเนินการตามแผนที่วางไว้

2. คู่แข่ง หากท่านสนใจจะสอบเข้ารับราชการท้องถิ่นจริงๆ และศรัทธาเชื่อมั่นในระบบสนามกลาง ที่ กสถ. จัด ผมอยากจะฝากความห่วงใยให้ท่านตั้งใจอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ เพราะคู่แข่งในการสอบครั้งนี้ ไม่ใช่หลักร้อย หลักพัน แต่จะมากถึงหลักหมื่นครับ ดังนั้นแล้วในแต่ละตำแหน่งจะมีการแข่งขันสูงมาก

3. คะแนนสอบ จากการที่มีการแข่งขันสูง ในการทำข้อสอบถูกหรือผิดเพียง 1 ข้อ ก็มีความหมายแล้ว เพราะในการสอบครั้งนี้ การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยจะนำคะแนนสอบภาค ก , ข ,และ ค รวมกันและเรียงตามลำดับ

4. สมัครก่อนได้เปรียบ หากรวมคะแนนสอบทั้ง 3 ภาค แล้ว ได้คะแนนเท่ากัน ในการเรียงลำดับผู้สอบได้นั้น จะนำหมายเลขลำดับผู้สมัครสอบมาใช้เป็นตัวชี้วัด ดังนั้นหากเปิดรับสมัครสอบเมื่อใด อย่ารอช้าให้รีบสมัครทันที

5. สอบครั้งนี้ แล้วเจอกันอีกที 2 ปีหน้า ... การสอบ กสถ. ครั้งนี้ ในการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะมีอายุบัญชี 2 ปี ดังนั้นหากพลาดแล้วพลาดเลยนะครับ (แต่อาจจะมีสนามเล็กให้ท่านแก้ตัวอีกครั้ง)

ไม่มีใครที่ดีพร้อม ไม่มีใครที่เก่งมาตั้งแต่เกิด
ความฝันจะเป็นจริงได้ ชุดข้าราชการท่านจะได้สวมใส่หรือไม่
"อยู่ที่ความตั้งใจ และทุ่มเทของท่าน"
#91
เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 12
สำรวจตำแหน่งที่ อปท. ต้องการ "ตรวจดูคุณวุฒิที่ตนมี"

ผลสรุปประชุม ก. กลาง
   ในสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ./เทศบาล/อบต.) ซึ่งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 ที่ประชุม ก. กลาง ลงมติเสียงข้างมากเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และดำเนินการสอบ 10 ศูนย์ทั่วประเทศ
   โดยในที่ประชุม ก. กลาง อปท. ร่วมกัน 3 ก ได้มีการลงมติของคณะกรรมการ ก กลาง ทั้ง 3 ก คือ ก กลาง อบต./ ก กลาง เทศบาล./ ก กลาง อบจ. โดยเป็นการลงมติเพื่อตัดสินใจว่า จะให้ ม.ราชภัฎสวนดุสิต เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันหรือไม่ การลงมตินั้น มีการให้ลงมติ ทีละ ก กลาง ผลปรากฏดังนี้
...ก กลาง อบต. มีผู้เห็นด้วยในการเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 8 เสียงจาก 17 เสียงที่อยู่ในห้องประชุม
...ก กลาง เทศบาล เลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 10 จากผู้อยู่ในที่ประชุม 15 เสียง
...ก กลาง อบจ. เลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 12 เสียง จาก 15 เสียงที่นั่งประชุม
...สรุป ก กลาง เทศบาล และ อบจ.เสียงข้างมากเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ส่วน ก กลาง อบต.เสียงข้างน้อยเลือก ผลสองต่อหนึ่ง เลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นมติเสียงข้างมาก เห็นชอบให้เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ กับ อปท.ต่อไป

กระบวนการดำเนินจัดสอบท้องถิ่น
   จากนี้ไปกระบวนการต่างๆ จะเดินตามกรอบระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตนำเสนอ และวางแผนร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำหนดระยะเวลาการรับสมัคร , กำหนดรายชื่อสนามสอบ , กำหนดระยะเวลาวันสอบ ฯลฯ ต้องติดตามจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด

ตำแหน่งที่จะรับสมัคร
   ในระหว่างที่เรารอประกาศการรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ คือ วางแผนเลือกตำแหน่งที่จะลงสมัครสอบ โดยใช้ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ โดยที่ผ่านมา ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ด่วนที่สุด ที่ มท 0809.2/ว 54 ลงวันที่ 8 มกราคม 2556 ได้แจ้งสรุปบัญชีจำนวนตำแหน่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ของ กสถ. ข้อมูล ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2555 ไว้ทั้งหมดจำนวน 7,911 ตำแหน่ง โดยแบ่งได้ดังนี้

จำนวนตำแหน่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสงค์จะขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้
สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 จำนวน 27 ตำแหน่ง 1761 อัตรา
สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 จำนวน 33 ตำแหน่ง 3651 อัตรา
สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 จำนวน 37 ตำแหน่ง 2498 อัตรา
สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 4 จำนวน 1 ตำแหน่ง 1 อัตรา

จากนี้ไปจะนำเสนอรายชื่อตำแหน่ง และอัตราที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการ พร้อมด้วยมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ที่จะระบุวุฒิการศึกษาที่ต้องมีในตำแหน่งนั้นๆ ท่านสามารถศึกษา พิจารณาเลือกตำแหน่งที่ต้องการไว้ในใจก่อนได้เลยครับ
#92
13 สัปดาห์สุดท้าย ก่อนวันสอบจะมาถึง ...

และแล้ว...ก็มาถึงช่วงโค้งสุดท้ายของการเตรียมเปิดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) / เทศบาล / องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา มีการประชุม ก.กลาง เพื่อให้มหาวิทยาลัยที่เสนอตัวเข้ามาดำเนินการจัดสอบ ชี้แจง แนะนำแนวทางในการจัดสอบที่เน้นความโปร่งใสตรวจสอบได้ให้กับคณะกรรมการร่วมกันพิจารณาคัดเลือกมหาวิทยาลัย ผลสรุปในวันนั้น ก็ได้มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งเข้ามาดำเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับ คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.)

โดยหลังจากนี้ก็จะแต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) เพื่อดำเนินการจัดสอบตามจำนวนอัตราที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งรายงาน - ร้องขอให้ดำเนินการจัดสอบแทน โดยตัวเลขของจำนวนอัตราตำแหน่งว่างนั้น ยังคงไม่เป็นที่เปิดเผย แต่เท่าที่ได้รับข้อมูล จำนวนอัตราที่ กสถ. จะจัดสอบนั้นจะอยู่ที่ราว 9,011 อัตรา

สำคัญที่สุด คือ กำหนดการ ... ทางคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ได้วางกรอบกำหนดระยะเวลาการดำเนินการสอบไว้คร่าวๆ (อย่างไม่เป็นทางการ) ดังนี้
   - เดือนกรกฎาคม 2556    จะประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ
   - เดือนสิงหาคม 2556    จะเปิดรับสมัครสอบแข่งขันฯ
   - เดือนกันยายน 2556   จะสอบแข่งขันฯ
โดยหากไม่มีปัญหาและอุปสรรคใดๆ เข้ามาเพิ่มเติมแล้ว ... กำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะเป็นไปตามข้างต้น



นับจากนี้ ... ไปจนถึงเดือนกันยายน (วันสอบแข่งขัน) ก็จะเหลือเพียง 13 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนเท่านั้น

// จะเตรียมตัวสอบทันไหม? //
// จะเริ่มอ่านหนังสือจากเรื่องไหนดี? //
// เนื้อหาข้อสอบมีอะไรบ้าง?//
// เวลาเหลือน้อยจัง จะสอบได้ไหม?//

เชื่อว่าคำถามเหล่านี้จะเกิดขึ้นมามากมาย ... เวลาก็ยิ่งเหลือน้อย จวนถึงเวลาสอบแล้ว บางคนยังไม่ได้เริ่มอ่านหนังสือเลยก็มี บางคนก็อ่านหนังสือมานานแล้ว แต่ก็ยังอ่านวกวนไปมา ยังไม่เข้าใจสักที ...ฯ

ผมเขียนกระทู้ขึ้นมากลางดึก ด้วยเพราะความเป็นห่วงเพื่อนๆสมาชิกชุมชนคนท้องถิ่น จะเตรียมตัวสอบกันทันไหมนะ เอาเป็นว่าเราลองดูกัน "ภายใน 13 สัปดาห์ / 3 เดือน" จากนี้ไปเราจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อเตรียมสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


เดือนมิถุนายน (4 สัปดาห์)
การปูพื้นความรู้สู่ ภาค ก : บันไดขั้นแรก



ช่วงสัปดาห์ที่ 1-2

อ้างถึง
ภาค ก. ?
        เมื่อสนใจและต้องการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ เริ่มแรกจะต้องสอบ ภาค ก. หรือมีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า "ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป" การสอบจะกำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ 100 คะแนน
โดยจะทดสอบด้วย "ข้อสอบปรนัย" (ข้อสอบแบบมีตัวเลือก) โดยหน่วยดำเนินการสอบจะคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้
      (๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ข้อสอบเคยออกถึง "การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ"

   อยากจะแนะนำให้อ่านหนังสือเตรียมสอบในส่วนของภาค ก (ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป) เพราะเป็นบันไดขั้นแรกที่ทุกคนต้องเข้าสอบ ในส่วนภาค ก นี้ จะประกอบไปด้วยวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และกฎหมายท้องถิ่น

อ้างถึง
เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้
   คณิตศาสตร์ทั่วไป
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,844.0.html
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,845.0.html
   
   อนุกรม (Number Series)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,678.0.html
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,679.0.html
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,680.0.html

   การวิเคราะห์สรุปเหตุผลทาง โอเปอร์เรต
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,692.0.html

   กราฟและตาราง
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,802.0.html
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,803.0.html

   เงื่อนไขสัญลักษณ์
  http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,846.0.html

   ตรรกศาสตร์
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1014.0.html

   ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 1-2 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   วิชาการหาค่าของเลขอนุกรม
   วิชาการหาร้อยละ
   วิชาโจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์
   วิชาการอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ


ช่วงสัปดาห์ที่ 3-4

อ้างถึง
(๒) วิชาภาษาไทย กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทย ข้อสอบเคยออกถึง "อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย"

อ้างถึง
เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้
   การเติมคำ หรือ การเติมคำในช่องว่าง
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,6102.0.html

   บทความยาว   
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1356.0.html

   อุปมา อุปไมย
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1113.0.html

   บทความสั้น
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,6100.0.html

   บทความสั้น (เทคนิคขั้นสูง)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1355.0.html

   การเรียงประโยค หรือ การเรียงข้อความ
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1155.0.html

   เงื่อนไขทางภาษา
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,946.0.html

   สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1230.0.html

   การใช้คำราชาศัพท์
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1228.0.html

ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   วิชาอุปมา อุปไมย
   วิชาเงื่อนไขทางภาษา
   วิชาการเรียงประโยค
   วิชาการเติมคำ
   วิชาการตีความจากบทความยาว
   วิชาคำราชาศัพท์
   วิชาสำนวน สุภาษิตไทย


เดือนกรกฎาคม (4 สัปดาห์)
การปูพื้นความรู้สู่กฎหมายท้องถิ่น : บันไดขั้นที่สอง



อ้างถึง
(๓) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ กำหนดคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น "โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต.

อ้างถึง
เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้
   สรุปสาระสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ฉบับที่ 18)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,2605.0.html

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่1)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,2592.0.html

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่2)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,2591.0.html

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่3)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,2590.0.html

   พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฯ 2542 (ชุดที่ 2)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1064.0.html

   ข้อสอบพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฯ 2542 (ชุดที่ 2)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1065.0.html

   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1069.0.html

   ข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1070.0.html
   
   พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1131.0.html

   ข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1132.0.html

   พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 12
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1135.0.html

   ข้อสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 12)
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1136.0.html

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.1)   
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1094.0.html

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.2)   
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1096.0.html

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.3)   
   http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,1097.0.html

ช่วงสัปดาห์ที่ 5-6
ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 5-6 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
   2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
   3. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.    2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ช่วงสัปดาห์ที่ 7
ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 7 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   4. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
   5. พระราชบัญญัติเทศบาล. พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
   6. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ช่วงสัปดาห์ที่ 8
ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   7. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
   8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
   9. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546


เดือนสิงหาคม (5 สัปดาห์)
เตรียมสอบความรู้เฉพาะตำแหน่ง ภาค ข : บันไดขั้นที่สาม



ต่อมาภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) จะกำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน
โดยจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนหรือวิธีสอบปฏิบัติ หรือวิธีอื่นใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะรวมสอบเป็นวิชาเดียวหรืออย่างเดียว หรือแยกสอบเป็นสองวิชาหรือสองอย่าง แต่เมื่อรวมคะแนนทุกแบบทดสอบแล้วต้องมีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน โดยเมื่อจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางใดและโดยวิธีใด หน่วยดำเนินการสอบจะระบุไว้ในประกาศรับสมัครสอบด้วย

จะต้องศึกษาจากรายละเอียดท้ายประกาศรับสมัครสอบ ถ้าสมัครตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ก็ต้องเตรียมอ่านแล้วว่า ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร รับผิดชอบอะไรบ้าง พรบ.หรือข้อกฎหมายที่เราควรทราบ อย่างเช่น  งานพัสดุ งานสารบรรณ งานเลขานุการ งานบริหารบุคคล เป็นต้น สามารถศึกษาหน้าที่และลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งของท้องถิ่นได้ตาม "มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ของ อบจ./เทศบาล/อบต." (http://local.chiangmai.go.th/noui/math/) และที่สำคัญต้องสังเกตในส่วนท้ายของประกาศการรับสมัครสอบด้วยว่า "ขอบเขตเนื้อหาในการสอบตำแหน่งนั้นๆ จะออกเนื้อหาในส่วนใดบ้าง" ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผ่านมาหน่วยดำเนินการสอบจะระบุแจ้งไว้อย่างชัดเจน

ช่วงสัปดาห์ที่ 9-10
ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 9-10 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   อ่านขอบเขตเนื้อหาในการสอบตำแหน่งนั้นๆ จะออกเนื้อหาในส่วนใดบ้าง ศึกษาตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง    

ช่วงสัปดาห์ที่ 11
ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 11 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   อ่านทบทวนวิชาภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ในส่วนของภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ควบคู่ไปกับการติดตามข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ในปัจจุบันที่สำคัญๆ

ช่วงสัปดาห์ที่ 12
ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 12 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   อ่านทบทวนวิชาภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ในส่วนของวิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ ควบคู่ไปกับการติดตามข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ในปัจจุบันที่สำคัญๆ

ช่วงสัปดาห์ที่ 13
ข้อแนะนำในช่วงสัปดาห์ที่ 13 ควรอ่านทฤษฏีและฝึกทำแนวข้อสอบ ในรายวิชา ดังต่อไปนี้
   อ่านทบทวนวิชาภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ควบคู่ไปกับการติดตามข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ในปัจจุบันที่สำคัญๆ


ระยะเวลาการอ่านหนังสือเตรียมสอบในแต่ละสัปดาห์นั้น ผมเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการอ่านหนังสือ ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือปรับตามที่ท่านต้องการได้

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าระยะเวลาการเตรียมตัว การอ่านหนังสือเหลือน้อยมากๆ ประกอบกับเนื้อหาที่ต้องอ่านสอบนั้น มีลักษณะที่กว้างและมีเนื้อหาที่มากมาย

ถ้ายังไม่เริ่มการอ่านในวันนี้ เกรงว่า หลายๆท่าน จะอ่านหนังสือไม่ทัน ขนาดว่ามีเวลาให้ 13 สัปดาห์ (3 เดือน) แล้ว อาจจะยังไม่พอเลย ดังนั้น หลังจากอ่านกระทู้นี้จบ หากต้องการจะสอบเข้ารับราชการจริงๆ และอยากทำให้สำเร็จจริงๆ ... รีบหันไปคว้าหนังสือมาอ่านนะครับ พร้อมทั้งสร้างระเบียบวินัยในการอ่านหนังสือให้กับตัวเอง

หากยังไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ก็ลองศึกษาดูจากแนวทางที่บอกนี้ หรือจะดูจากกระทู้เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 4 เรื่องหลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบฯ

สุดท้ายนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะได้รับประโยชน์จากกระทู้เตรียมสอบท้องถิ่นนี้ และนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จวบจนสามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการได้ทุกๆคนครับ


โดย ส.เสือ
#93
ช่วงตอบคำถามการเตรียมสอบท้องถิ่น



อีกไม่นาน ก็คงจะเข้าสู่ฤดูกาลการสอบท้องถิ่น ในระดับภาคแล้ว ถึงแม้จะมีการสอบในจังหวัดต่างๆ อยู่เรื่อยๆ นั้น ก็จะส่งผลให้อัตรากำลังที่ว่างอยู่นั่น ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน หนทางเดียวที่คนธรรมดาอย่างเราๆ เฝ้ารอและรอคอย คือ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเร่งดำเนินการเปิดสอบเองให้เร็วที่สุด

ท่ามกลางการเปิดสอบโดย อบต. และเทศบาล ที่ผ่านมานั้น
กลับไม่ได้เรียกกระแสความศรัทธาในระบบการสอบเข้ารับราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลับคืนมาได้เลย กลับยิ่งตอกย้ำ ซ้ำเติมในปัญหาและในเรื่องเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานของข้อสอบ (ที่ออกไม่ตรงตามประกาศรับสมัคร)

แต่ผู้เขียนยังคงเชื่อและศรัทธาในระบบการสอบเข้ารับราชการอยู่ ผู้เขียนยังคงเชื่อว่า "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดำเนินการจัดสอบเองนั้น ยังมีความโปร่งใส และสุจริตอยู่" จะเห็นได้จากสมาชิกชุมชนคนท้องถิ่นหลายๆท่าน ก็สอบเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ก็มาจากสนามสอบในระดับ อบต./เทศบาล นี่ล่ะครับ

เพราะถ้ามองในแง่ดี สาเหตุที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัดสินใจเปิดสอบเองนั้น ก็เพื่อต้องการคนที่มีความสามารถ มีความรู้เหมาะสมที่จะเข้ามาทำงานรับใช้ประชาชน และอีกสาเหตุหนึ่งคือ "คนพื้นที่" ในข้อนี้ ในแต่ละองค์กรก็ต้องการ "คนพื้นที่" เข้ามาทำงาน เพราะใช้เวลาปรับตัวในการทำงานน้อย และการโอนย้ายสับเปลี่ยนบุคลากรก็จะไม่เกิดขึ้น การทำงานพัฒนาพื้นที่ตามนโยบายก็จะต่อเนื่อง อีกทั้ง "คนพื้นที่" ทุกคนต่างก็ต้องการทำงาน พัฒนาบ้านของตัวเองทั้งนั้น

เกริ่นไปไกล ขอกลับมาพูดถึงการเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากมีระเบียบการสอบแข่งขันใหม่ ประกอบกับสมาชิกบางท่าน ยังไม่เคยสอบในระดับท้องถิ่นมาก่อน หรือ เคยสอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 - 2551 อยากจะบอกว่าตอนนี้หลักเกณฑ์ในการสอบแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปแล้วนะครับ

ดังนั้น เพื่อทำความเข้าใจ และไขข้อสงสัยของสมาชิกชุมชนคนท้องถิ่น
ผมจึงพยายามรวบรวม คำถามที่สมาชิกสอบถามกันมา ไม่ว่าจะเป็นทาง PM หรือทาง fanpage ดังนี้

Q : สอบท้องถิ่น ต้องมีใบสอบผ่านภาค ก ก่อนหรือไม่ ?
A : ไม่ต้องมีใบสอบผ่านภาค ก เนื่องจากการสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในครั้งนี้ และจากนี้ไป "ทุกคนจะต้องเข้าสอบในภาค ก ทุกคน (ทุกสนาม)" ครับ

Q : มีใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. นำมาใช้สอบของท้องถิ่นได้ไหม ?
A : ไม่ได้ครับ

Q : ต้องเรียนจบอะไรมา ถึงจะเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้ ?
A : ข้าราชการส่วนท้องถิ่น จะมีวุฒิ ปวช. / ปวส. / ปริญญาตรี ซึ่งในแต่ละตำแหน่งนั้น จะมีมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จะทำงานในตำแหน่งนี้ ต้องใช้วุฒิการศึกษาใด ดังนั้นต้องศึกษาและดูได้จาก "มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง"

Q : การสอบที่กรมฯ จะเปิดสอบนั้น เป็นแบบรายภาค คืออะไร ?
A : ขออ้างถึงประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลเรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด / พนักงานเทศบาล /พนักงานส่วนตำบล
   ในกรณีคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ให้จังหวัดที่เป็นศูนย์อำนวยการสอบแข่งขันในแต่ละภาค/เขตเป็นเจ้าของบัญชีผู้สอบแข่งได้ สำหรับการแบ่งภาค/เขตในการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามประกาศกำหนด
     ณ ตอนนี้หลายๆท่าน คงเฝ้ารอการสอบแบบแบ่งภาค/เขต ตามหลักเกณฑ์ฯ บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ประกอบด้วยจังหวัดในกลุ่มภาค/เขต เช่น
ภาคกลางเขต ๑ ได้แก่
1.จังหวัดชัยนาท ๒.จังหวัดนนทบุรี ๓.จังหวัดปทุมธานี ๔.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๕.จังหวัดลพบุรี ๖.จังหวัดสระบุรี ๗.จังหวัดสิงห์บุรี ๘.จังหวัดอ่างทอง
อ่านทั้งหมด http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,45021.0.html

Q : การสอบของ ก.พ. กับการสอบของท้องถิ่น อันเดียวกันใช่ไหม ?
A : ขออธิบายดังนี้ การสอบของ ก.พ. หรือเรียกเต็มๆว่า "คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน" ซึ่งแต่ละปีจะเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปเข้าสอบแข่งขันเพื่อแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน ในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยที่ผ่านมาจะมีการสอบ ภาค ก ภาค ข และ ภาค ค ซึ่งโดยปกติแล้ว การสอบภาค ก นั้น ก.พ. จะเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบเอง เมื่อผู้ที่สามารถสอบผ่านในภาค ก จะมี "ใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ."
จากนั้นผู้ที่มีใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. จะสามารถสมัครสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการ (การสอบภาค ข และ ค) ตามที่กระทรวง/กรม เปิดรับสมัครได้ * ทั้งนี้ใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. ไม่สามารถนำมาใช้ในการสมัครสอบเข้ารับราชการของท้องถิ่น
ส่วนการสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการในองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ./เทศบาล/อบต.) นั้น ก็แบ่งออกเป็นการสอบภาค ก ภาค ข และภาค ค โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี ดังนี้ ในกรณีอบจ./เทศบาล/อบต.เป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ให้อบจ./เทศบาล/อบต.เป็นเจ้าของบัญชี หมายถึง เทศบาลอื่นๆ หรือ อบต.อื่นๆ ไม่สามารถขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การขึ้นบัญชีและใช้บัญชีจะใช้ได้เฉพาะหน่วยงานที่จัดสอบเท่านั้น และในกรณีคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ให้จังหวัดที่เป็นศูนย์อำนวยการสอบแข่งขันในแต่ละภาค/เขตเป็นเจ้าของบัญชีผู้สอบแข่งได้ สำหรับการแบ่งภาค/เขตในการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามประกาศกำหนด
โดยทั้ง 2 กรณีข้างต้น ทุกคนที่สมัครสอบจะเข้าสอบในภาค ก ทุกคน (ทุกสนาม)


Q : อยากรู้กลุ่มจังหวัดที่อยู่ในภาคเหนือที่จะเปิดสอบเป็นรายภาค
A : ตามระเบียบสอบใหม่ ได้แบ่งกลุ่มจังหวัด ออกเป็นรายภาคต่างๆ ในส่วนของภาคเหนือ คือ
ภาคเหนือเขต ๑ ได้แก่
๑.จังหวัดชียงราย ๒.จังหวัดเชียงใหม่ ๓.จังหวัดน่าน ๔.จังหวัดพะเยา ๕.จังหวัดแพร่ ๖.จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๗.จังหวัดลำปาง ๘.จังหวัดลำพูน
ภาคเหนือเขต ๒ ได้แก่
๑.จังหวัดกำแพงเพชร ๒.จังหวัดตาก ๓.จังหวัดนครสวรรค์ ๔.จังหวัดพิจิตร ๕.จังหวัดพิษณุโลก ๖.จังหวัดเพชรบูรณ์ ๗.จังหวัดสุโขทัย ๘.จังหวัดอุตรดิตถ์ ๙.จังหวัดอุทัยธานี
ในส่วนของจังหวัดอื่นๆ ดูได้ที่ http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,45021.0.html

Q : ภาค ก จะออกสอบอะไรบ้าง ?
A : ภาค ก. ?
        เมื่อสนใจและต้องการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ เริ่มแรกจะต้องสอบ ภาค ก. หรือมีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า "ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป" การสอบจะกำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ 100 คะแนน
โดยจะทดสอบด้วย "ข้อสอบปรนัย" (ข้อสอบแบบมีตัวเลือก) โดยหน่วยดำเนินการสอบจะคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้
      (๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ข้อสอบเคยออกถึง "การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ"
      (๒) วิชาภาษาไทย กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทย ข้อสอบเคยออกถึง "อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย"
      (๓) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ กำหนดคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น "โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต."

ภาค ข. ?
     หลังจากการสอบภาค ก. เราก็ต้องมาสอบภาค ข. (ภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง) ว่าง่ายๆ ก็คือความรู้ความเข้าใจในตำแหน่งที่เราสมัครสอบ (เหมือนกับเวลาเราไปสมัครงานบริษัทเอกชน เราก็ต้องรู้ใช่ไหมว่าตำแหน่งที่เราสมัครต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องรู้ *งานราชการก็เช่นกัน)
     ซึ่งภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) กำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน
โดยจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนหรือวิธีสอบปฏิบัติ หรือวิธีอื่นใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะรวมสอบเป็นวิชาเดียวหรืออย่างเดียว หรือแยกสอบเป็นสองวิชาหรือสองอย่าง แต่เมื่อรวมคะแนนทุกแบบทดสอบแล้วต้องมีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน โดยเมื่อจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางใดและโดยวิธีใด หน่วยดำเนินการสอบจะระบุไว้ในประกาศรับสมัครสอบด้วย

     ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมัครตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ก็ต้องเตรียมอ่านแล้วว่า ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร รับผิดชอบอะไรบ้าง พรบ.หรือข้อกฎหมายที่เราควรทราบ อย่างเช่น  งานพัสดุ งานสารบรรณ งานเลขานุการ งานบริหารบุคคล เป็นต้น สามารถศึกษาหน้าที่และลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งของท้องถิ่นได้ตาม "มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ของ อบจ./เทศบาล/อบต." (http://local.chiangmai.go.th/noui/math/) และที่สำคัญต้องสังเกตในส่วนท้ายของประกาศการรับสมัครสอบด้วยว่า "ขอบเขตเนื้อหาในการสอบตำแหน่งนั้นๆ จะออกเนื้อหาในส่วนใดบ้าง" ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผ่านมาหน่วยดำเนินการสอบจะระบุแจ้งไว้อย่างชัดเจน

ภาค ค. ?
    ภาค ค. (ภาคความเหมาะสมเฉพาะตำแหน่ง) ก็คือ "การสอบสัมภาษณ์" นั่นเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) กำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน โดยจะประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ "จากการสัมภาษณ์" ทั้งนี้หน่วยดำเนินการสอบอาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมอีกก็ได้ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น

Q : อยากสอบทำงานใน อบต. แถวบ้าน แต่ยังไม่รู้เรื่องของท้องถิ่นเลย ควรทำยังไง ?
A : แนะนำให้อ่านรัฐธรรมนูญ หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น , พรบ.บริหารราชการแผ่นดิน , พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, พรบ.อบต. ฯลฯ

Q : อบต. ตัดหน้ากรมฯ เปิดสอบเอง ไม่ควรไปสอบใช่ไหม ?
A : การที่ อบต. ดำเนินการเปิดสอบแข่งขันเองนั้น ก็เป็นการปฏิบัติตามระเบียบฯ ที่ อบต. สามารถพึงกระทำได้ แต่หากจะถามว่าโปร่งใสหรือไม่นั้น ผมก็ต้องตอบว่า "โปร่งใส" แต่หากจะถามว่ามีมาตรฐานเทียบเท่าที่กรมฯเปิดสอบหรือไม่นั้น ผมเองก็คงลังเลที่จะตอบคำถามในข้อนี้ แต่ผมยังเชื่อมั่นในระบบการสอบอยู่เสมอ
มองในแง่ดี การได้ไปสอบ ก็จะได้มีประสบการณ์กับข้อสอบ ได้มีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศการสอบแข่งขันของท้องถิ่นครับ ดังนั้น ถ้าไม่ติดภารกิจใดๆ แนะนำให้ไปลองสอบ เอาประสบการณ์ดีกว่าครับ

Q : ในท้องถิ่นมีข้าราชการตำแหน่งอะไรบ้าง ?
A :    ตำแหน่งใน อบจ. ดูได้ที่ http://www.thailocalmeet.com/index.php/board,46.0.html
   ตำแหน่งใน เทศบาล ดูได้ที่ http://www.thailocalmeet.com/index.php/board,45.0.html
   ตำแหน่งใน อบต. ดูได้ที่ http://www.thailocalmeet.com/index.php/board,44.0.html

Q : อบจ. เทศบาล อบต. คืออะไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
A : แนะนำให้อ่านทั้งหมดได้ใน กระทู้เอกสารเกี่ยวกับ "การปกครองท้องถิ่นไทย" ความรู้ความเข้าใจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆhttp://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,21327.0.html

Q : เงินเดือนของข้าราชการท้องถิ่น ซี 2 และซี3  ได้เท่าไร ?
A : ระดับ 2 (ซี2) เงินเดือนรวมค่าต่างๆแล้วจะได้ 9,170 บาท
ระดับ 3 (ซี3) เงินเดือนรวมค่าต่างๆแล้วจะได้ 15,000 บาท

Q : ที่เปิดสอบเป็นระดับ 1 2 3 4 นี่คืออะไร
A : ในปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ระบบซี (มาจาก Common Level) ใช้ระบบระดับ
เมื่อเริ่มบรรจุใช้วุฒิ ปวช. สอบเข้ามา จะได้รับแต่งตั้งเป็นระดับ 1 คือ ซี 1
เมื่อเริ่มบรรจุใช้วุฒิ ปวส. สอบเข้ามา จะได้รับแต่งตั้งเป็นระดับ 2 คือ ซี 2
เมื่อเริ่มบรรจุใช้วุฒิ ปริญญาตรี สอบเข้ามา จะได้รับแต่งตั้งเป็นระดับ 3 คือ ซี 3
เมื่อเริ่มบรรจุใช้วุฒิ ปริญญาโท สอบเข้ามา จะได้รับแต่งตั้งเป็นระดับ 4 คือ ซี 4
* ทุกตำแหน่งหลังจากสอบบรรจุได้แล้ว สามารถเลื่อนระดับให้สูงขึ้นได้ จะพิจารณาจากอายุราชการและคุณวุฒิ

Q : ในการสอบแข่งขันนั้น จะสอบเฉพาะภาค ก หรือภาค ข ได้หรือไม่
A : ตามหลักเกณฑ์การสอบใหม่นั้น ทุกๆคน ที่สมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้อง "เข้าสอบในภาค ก ทุกคน" จากนั้นถึงจะสอบในภาค ข ต่อไปได้ ซึ่งในสนามสอบส่วนใหญ่ที่ผ่านมา จะจัดให้มีการสอบภาค ก ในช่วงเช้า ส่วนภาค ข จะสอบในช่วงบ่าย หลังจากนั้นคณะกรรมการที่จัดการสอบจะตรวจข้อสอบ หากทั้ง 2 ภาค (ก,ข) ผ่าน 60 % ก็จะมีสิทธิสอบสัมภาษณ์ในภาค ค ต่อไป
#94
ยอดเงินที่ อบต. ได้รับจากการจัดสอบเอง

เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา หลักเกณฑ์การสอบบรรจุเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) / เทศบาล / องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ได้เกิดหลักเกณฑ์การสอบใหม่ขึ้นมา
* สามารถศึกษาหลักเกณฑ์ได้ที่ http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,45021.0.html

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) / เทศบาล / องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จึงสามารถจัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองได้ แต่กรมฯ กํยังคงเปิดสอบได้เช่นกัน

จากที่ผ่านมา มี อบต. หลายๆ แห่ง ดำเนินการจัดสอบแข่งขันเอง  (จัดเก็บเงินค่าสมัครสอบเอง)
กระทู้นี้ จึงจะรวบรวม ยอดผู้สมัครสอบ ยอดจำนวนเงินค่าสมัครสอบ
ยกตัวอย่าง 4 อบต. ดังนี้



องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ระดับ 1 - ยอดสมัคร 1098 คน x ค่าสมัคร 100 บาท = 109,800 บาท
ระดับ 2 - ยอดสมัคร 1798 คน x ค่าสมัคร 100 บาท = 179,800 บาท
ระดับ 3 - ยอดสมัคร 4021 คน x ค่าสมัคร 200 บาท = 804,200 บาท
ยอดผู้สมัครในสนาม อบต. คลองสาม จำนวน 6,917 คน
ยอดจำนวนเงินค่าสมัครได้ทั้งหมด 1,093,800 บาท


องค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง  อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ระดับ 1 - ยอดสมัคร 384 คน x ค่าสมัคร 100 บาท = 38,400 บาท
ระดับ 2 - ยอดสมัคร 903 คน x ค่าสมัคร 100 บาท = 90,300 บาท
ระดับ 3 - ยอดสมัคร 2205 คน x ค่าสมัคร 200 บาท = 450,000 บาท
ยอดผู้สมัครในสนาม อบต. สบป่อง จำนวน 3,492 คน
ยอดจำนวนเงินค่าสมัครได้ทั้งหมด 578,700 บาท


องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ จ.มหาสารคาม
ระดับ 1 - ยอดสมัคร 250 คน x ค่าสมัคร 100 บาท = 25,000 บาท
ระดับ 2 - ยอดสมัคร 1326 คน x ค่าสมัคร 100 บาท = 132,600 บาท
ระดับ 3 - ยอดสมัคร 1367 คน x ค่าสมัคร 200 บาท = 273,400 บาท
ยอดผู้สมัครในสนาม อบต. หนองเรือ  จำนวน 2,943 คน
ยอดจำนวนเงินค่าสมัครได้ทั้งหมด 431,000 บาท


องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่าตอง จ.มหาสารคาม
ระดับ 1 - ยอดสมัคร 457 คน x ค่าสมัคร 100 บาท = 45,700 บาท
ระดับ 2 - ยอดสมัคร 1032 คน x ค่าสมัคร 100 บาท = 103,200 บาท
ระดับ 3 - ยอดสมัคร 175 คน x ค่าสมัคร 200 บาท = 35,000 บาท
ยอดผู้สมัครในสนาม อบต. สันป่าตอง  จำนวน 1,664 คน
ยอดจำนวนเงินค่าสมัครได้ทั้งหมด 183,900

รวม
ยอดผู้สมัครใน 4 สนามสอบ จำนวน 15,016 คน
ยอดจำนวนเงินค่าสมัครได้ทั้งหมด 2,287,400 บาท

* จากตัวเลขข้างต้น ทำให้เห็นอะไรหลายอย่างนะครับ
สำหรับผมมองเห็นถึงจำนวนคนสมัครสอบ ถึงแม้จะเป็นสนามเล็ก แต่ก็มีจำนวนผู้สมัครสอบมากพอสมควร
แสดงให้เห็นว่า "การรับราชการ" ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ประกอบกับการได้รับเงินเดือน 15,000 บาท/เดือน
ในสายงานที่เริ่มต้นในระดับ 3 มีคนสมัครมากเช่นกัน

** จากตัวเลขข้างต้น บ่งบอกว่า ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เตรียมตัวสอบให้ดีกว่าคนอื่นๆ เพราะจะมีคู่แข่งมากมาย

*** จากตัวเลขข้างต้น ผมจะพยายามไม่คิดว่า อบต. จัดสอบเอง เพื่อหาประโยชน์อย่างอื่น แต่ผมจะคิดในแง่ดีว่า
อบต. จัดสอบเอง เพื่อคัดเลือกคนเก่งๆ เพื่อนำเงินค่าสมัครมาใช้ในการจัดสอบ และเพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป....

จากยอดจำนวนผู้สมัครและยอดจำนวนเงินค่าสมัคร
เพือนๆ สมาชิก เห็นหรือได้มุมมองอะไรบ้าง??
#95
ตอนที่ 8 นี้ จะขอพาสมาชิกชุมชนคนท้องถิ่น ไปประกอบอาหาร ในเมนูที่มีชื่อว่า "ความสำเร็จ" จะขอนำสมาชิกฯ ไปรู้จักกันว่า "ส่วนผสมของความสำเร็จ" นั้น มีอะไรบ้าง
เพื่อการเตรียมสอบเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในครั้งนี้ จะต้องมีวัตถุดิบ มีต้นทุนอะไรเตรียมไว้บ้าง เราลองมาดูกันนะครับ


ความสำเร็จ มีส่วนผสม ดังนี้


   - ความตั้งใจ
   - ความพร้อม
   - ความกระตือรือร้น
   - ความรู้ความเข้าใจ
   - ความอดทน
   - ความจริง
   - ความหวัง
   - ความผิดหวัง (ถ้ามี)

ขั้นตอนการทำความสำเร็จ
1. ความตั้งใจ


   ผู้เตรียมสอบ ต้องใส่ใจความตั้งใจลงไปเยอะๆ เพราะความตั้งใจเป็นพื้นฐานของความสำเร็จ ในทุกๆงาน ในทุกๆภารกิจจะสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมี "ความตั้งใจ" ซึ่งโดยแต่ละคนจะมีปริมาณความตั้งใจที่แตกต่างกันไป จากการที่มีความตั้งใจที่แตกต่างกันนั้น จะทำให้แต่ละคนประสบความสำเร็จในช่วงเวลาที่แตกต่างด้วย
   ดังนั้นแล้ว หากอยากจะสำเร็จ สอบบรรจุเข้ารับราชการได้อย่างภาคภูมิใจนั้น ควรจะตั้งใจอ่านหนังสืออย่างจริงจัง อย่าวอกแวกกับสิ่งรบกวนรอบข้าง ผู้เตรียมสอบต้องตั้งปณิธาน (Determination) ไว้
ซึ่งปณิธานคือ"ความตั้งใจจริงที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จนไม่เห็นสิ่งอื่นมีค่าควรแก่การสนใจอีก"
   เราต้องตั้งใจไว้ว่าจะอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ และให้เข้าใจให้มากที่สุด ตั้งใจว่าจะสอบรับราชการให้ได้
บอกย้ำความตั้งใจนี้กับตัวเองทุกวัน ทุกครั้ง เพื่อสร้างเสริมขวัญและกำลังใจกับตนเอง


2. ความพร้อม


   ขั้นตอนต่อมานี้ คือ "ความพร้อม" ในที่นี้ ผมจะหมายถึงความพร้อมของตัวผู้สอบ และความพร้อมของเอกสารเพื่ออ่านเตรียมสอบ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความพร้อมทั้ง 2 อย่าง กล่าวคือ ความพร้อมของตัวผู้สอบ หมายความว่า ผู้สอบจะต้องตระเตรียมร่างกาย จิตใจ และสถานการณ์คนรอบข้างให้พร้อม ผู้สอบต้องปรับตัวให้ตัวเองมีความตื่นตัวกับการสอบ ปรับความเข้าใจกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ทำงาน ให้ทุกคนที่อยู่รอบข้างเราเข้าใจว่า "เรากำลังอยู่ในช่วงเตรียมสอบ" เนื่องจากบางครั้ง จากสภาวะร่างกายที่ล้าจากการอ่านหนังสือเตรียมสอบนานๆ จะส่งผลให้เรามีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลกไปจากเดิมบ้าง ต้องอธิบายให้คนรอบข้างเข้าใจเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่บ้านต้องขอความร่วมมือไม่รบกวนสมาธิของเราในระหว่างการอ่านหนังสือเตรียมสอบด้วย และขอร้องว่าช่วงนี้อย่านำเรื่องที่รบกวนใจมาให้คิดเลย

   ในส่วนต่อมา ความพร้อมของเอกสารเพื่ออ่านเตรียมสอบ ในเบื้องต้นให้ผู้เตรียมสอบ ตระเวนซื้อหนังสือ เอกสาร หรือดาวน์โหลดเอกสารเพื่ออ่านเตรียมสอบให้พร้อม ซึ่งหัวข้อในการเตรียมเอกสารนั้นเคยได้กล่าวไปแล้ว ผู้สอบต้องหาหนังสือเอกสารให้มีครบทุกหัวข้อที่คาดว่าจะออกสอบ เพื่อให้ระหว่างการอ่านหนังสือเตรียมสอบนั้น จะไม่เสียสมาธิ เสียเวลากับการเดินเลือกหาซื้อหนังสือ เนื่องจากหากมีความไม่พร้อมในเอกสารเพื่ออ่านเตรียมสอบแล้วจะทำให้เสียเวลาในการอ่านหนังสือไป

   ดังนั้น เพื่อให้การอ่านหนังสือเตรียมสอบ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ผู้สอบต้องมีความพร้อมในทุกๆเรื่อง และมีความพร้อมในเรื่องของเอกสารเพื่ออ่านเตรียมสอบ เนื่องจากในขั้นตอนต่อไปจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากผู้สอบไม่มีความพร้อม


3. ความกระตือรือร้น


   ขั้นตอนจากนี้ คือ ผู้สอบต้องมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ให้มากที่สุด ในหัวข้อการสอบ ในบางเรื่องเราอาจจะไม่มีความรู้ความเข้าใจมาก่อนเลย บางครั้งเรายังไม่เคยรู้จักว่าการกระจายอำนาจคืออะไร? การปกครองส่วนท้องถิ่นคืออะไร? องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคืออะไร? การบริหารจัดการท้องถิ่นคืออะไร? ฯลฯ
   ดังนั้น สิ่งเดียวที่จะทำให้เราเข้าใจได้ คือ ศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นจากการอ่านหนังสือ จากการสอบถามจากผู้รู้ โดยอาศัยความกระตือรือร้นเป็นตัวนำ ผู้สอบต้องมีความกระตือรือร้นในการหาคำตอบ ตอบโจทย์ข้อสงสัยให้กับตัวเองอยู่สม่ำเสมอ อีกทั้งหากมีความกระตือรือร้นแล้ว จะทำให้บรรยากาศการอ่านหนังสือ ผู้สอบจะสนุกกับการอ่านมากยิ่งขึ้น


4. ความรู้ความเข้าใจ


   ในการจะให้พบกับ "ความสำเร็จ" แล้วนั้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างมาก ในกรณีนี้ คือ การสอบบรรจุเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับ "การปกครองส่วนท้องถิ่น" และต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติราชการ มีความเข้าใจในตำแหน่งหน้าที่ที่สมัครสอบ
   หลังจากที่เรามีความรู้ความเข้าใจแล้ว จะเป็นบันไดนำพาเราไปสู่ความสำเร็จได้ โดยหากขาดส่วนผสมในข้อนี้แล้ว ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้นเลย



5. ความอดทน


   ตลอดระยะเวลากว่าจะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้เตรียมสอบต้องมีและอาศัย "ความอดทน" หากไม่มีความอดทนในการอ่านหนังสือแล้ว ก็จะทำให้เราเกิดความท้อแท้ในชีวิต แต่สิ่งที่ผมอยากจะเน้นและฝากถึงสมาชิกชุมชนคนท้องถิ่น คือ "ความอดทน" ในการทำสิ่งที่ถูกต้อง คือ การที่เราทำตามกติกาของสังคม การที่เราเข้าสอบตามระเบียบ ด้วยความสุจริตและโปร่งใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้วนั้น บางครั้งต้องอาศัยความอดทนในการรอคอย เราต้องรอคอยให้ความดีพิสูจน์ตัวตนของเรา พิสูจน์ความสามารถของเรา ผมเชื่อว่าถ้าเราตั้งหน้าตั้งตาอดทนทำความดี ตั้งใจสอบด้วยความสุจริตแล้ว ต้องมีสักวันหนึ่งที่ความสำเร็จจะมาถึงพวกเราทุกคนแน่นอน ขอเพียงอดทนก่อนนะครับ อย่าออกนอกลู่นอกทาง


6. ความจริง


   ในบางห้วงเวลา ผู้เตรียมสอบต้องอยู่กับความจริง หมายถึง อยู่กับเหตุการณ์จริง อยู่กับระยะเวลาที่เกิดขึ้นจริง อย่าให้ความสำคัญกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึงมากเกินไป จะเห็นได้จากที่ผู้เตรียมสอบหลายๆท่านถามถึงแต่ว่า "เมื่อใดจะถึงวันสอบ" , "เมื่อใดจะประกาศรับสมัคร" ใส่ใจกับมันมากเกินไปจนลืมแบ่งให้เวลากับการอ่านหนังสือ หากเราอยู่กับความจริง อ่านหนังสือเตรียมตัวสอบไปเรื่อยๆ ติดตามข่าวสารบ้างเป็นบางครั้งคราว ก็จะส่งผลดี ทำให้เราจำข้อมูล จำเนื้อหาได้มากขึ้น
   ขอเพียงอย่ากังวลใจ ว่าจะประกาศรับสมัครสอบเมื่อไร เพราะจากที่ท่านก็ได้เห็นได้รู้อยู่ว่า การสอบครั้งนี้เป็นการสอบครั้งใหญ่ ไม่ต้องห่วงครับ รับรองข่าวการประกาศรับสมัครสอบ จะมีออกสื่ออย่างมากมายแน่นอน และระยะเวลาการรับสมัครสอบนั้น เปิดรับสมัครกันนานเกือบเดือนครับ



7. ความหวัง


"...จะทำการใด ให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมีความหวัง ต้องให้ความหวังกับตัวเองเสมอ"
   ความหวัง จริงๆ ก็มีอยู่ 2 แง่ มีทั้งแง่ดีและไม่ดี แต่เราต้องเลือกมองความหวังให้อยู่ในแง่ดี มองว่าความหวังจะเป็นสิ่งสวยงาม มองว่าความหวังจะเป็นตัวชักจูงนำพาเราไปสู่ความสำเร็จให้จงได้
   หลายต่อหลายคนเลือกที่มีความหวัง และหลายต่อหลายคนเลือกที่จะไม่มีความหวัง ในความรู้สึกของผู้เขียน คิดว่า ทุกคนควรจะมีความหวัง เพราะความหวังมีประโยชน์ สมมุติถ้าเรานั่งอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ และไปสอบโดยไม่มีความหวังแล้ว เราจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร เพื่อเป็นแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ ต้องมีความหวัง แล้วเราต้องทำให้ได้ครับ


8. ความผิดหวัง


   ในส่วนสุดท้ายนี้ ถ้าท่านใดมีแล้วนั้น จะยิ่งช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ เพราะความผิดหวัง จะเป็นประสบการณ์สอนตัวเราเอง เป็นสิ่งที่จะทำให้เราทบทวนดูตัวเองว่า เราพลาดในสิ่งใดไปบ้าง และเราจะแก้ไขเช่นไร
   บางคนเคยผิดหวังทั้งน้ำตามาแล้ว คราวนี้ก็ตั้งใจอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ โดยตั้งใจไว้ว่า ฉันจะไม่มีวันผิดหวังอีก ฉันจะไม่มีวันมานั่งเสียตาอีกแล้ว โดยอาศัย "ความผิดหวัง" มาเป็นตัวช่วยผลักดัน ให้ตัวเองมุ่งมั่น ตั้งใจให้ประสบความสำเร็จ
   คนที่ประสบความสำเร็จมาได้นั้น ล้วนแล้วแต่เคยผ่าน "ความผิดหวัง"   มาด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใครที่  ไม่เคยผิดหวังก็ไม่เป็นไร ผมก็ขอเอาใจช่วยขอให้ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้ดั่งใจ อย่าได้พบเจอกับ "ความผิดหวัง" เลยครับ


ขั้นตอนการผสมส่วนประกอบ


   - ผู้เตรียมสอบ ต้องกระทำเตรียมส่วนผสมของความสำเร็จทุกข้ออย่างเคร่งครัด   
   - ผู้เตรียมสอบ ต้องนำส่วนผสมทั้งหมด ความตั้งใจ , ความพร้อม , ความกระตือรือร้น , ความรู้ความเข้าใจ , ความอดทน , ความจริง , ความหวัง , ความผิดหวัง (ถ้ามี) มารวมให้เข้ากัน
   - ปรุงให้เรียบร้อย และรอเวลา
   - หลังจากนั้น ผู้เตรียมสอบ รอ ... รอโอกาสลิ้มลองรสชาติของ "ความสำเร็จ"





กระทู้เตรียมสอบท้องถิ่นในตอนที่ 8 นี้ คงต้องขอจบลงแต่เพียงเท่านี้ครับ
ผมเองก็ทำได้เพียงแนะนำข้อมูล แนะนำแนวข้อสอบที่รุ่นพี่ได้แบ่งบันไว้ ก็คงจะย้ำอีกครั้งว่าทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่างที่ต้องใช้ในการเตรียมสอบเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นระเบียบหลักเกณฑ์การสอบ , เนื้อหาหลักสูตรที่จะต้องสอบในภาค ก และภาค ข , แนวข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ รวมถึงกำลังใจในการสอบ ก็มีรวบรวมไว้ที่นี่แล้ว อยู่ภายในชุมชนคนท้องถิ่นแห่งนี้ ขอเพียงท่านลองสละเวลาค้นหาดู รับรองจะรู้ว่าเว็บไซต์เตรียมสอบแห่งนี้ไม่เหมือนใคร"แบ่งบันโดยคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น" โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ น้ำใจล้วนๆ.
#96
และแล้วก็ล่วงเลยมาถึงกระทู้เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 7 ซึ่งตอนนี้ จะขอพูดถึงเอกสารอ่านสอบ แนวข้อสอบ ที่หลายๆคนถามกันเข้ามาว่า จะต้องอ่านอะไร จะต้องเริ่มอ่านจากตรงไหน บางท่านเป็นมือใหม่ ก็ยิ่งสับสนไม่รู้ว่าจะตั้งต้นเริ่มอ่านจากตรงไหนดี

เอาเป็นว่าเพื่อเป็นการนำทางในการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะขอยกตัวอย่าง แนะนำหัวข้อการอ่านหนังสือให้ ดังต่อไปนี้

ภาค ก (ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป)
   ทุกๆท่าน จะต้องเข้าสอบในภาค ก (ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป) เนื่องจากใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเดิมนั้น ได้หมดอายุไปแล้ว 
   โดยจะทดสอบด้วย "ข้อสอบปรนัย" (ข้อสอบแบบมีตัวเลือก) โดยหน่วยดำเนินการสอบจะคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาขอบเขตของข้อสอบ ภาค ก. ได้ดังนี้
      (๑) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ข้อสอบเคยออกถึง "การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ"

เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้

   คณิตศาสตร์ทั่วไป
.......
   
   อนุกรม (Number Series)
......

   การวิเคราะห์สรุปเหตุผลทาง โอเปอร์เรต
  ....

   กราฟและตาราง
....
   เงื่อนไขสัญลักษณ์
   ....

   ตรรกศาสตร์
  ....


      (๒) วิชาภาษาไทย กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทย ข้อสอบเคยออกถึง "อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย"

เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้
   การเติมคำ หรือ การเติมคำในช่องว่าง
.....

   บทความยาว   
....

   อุปมา อุปไมย
  ....

   บทความสั้น
....
   บทความสั้น (เทคนิคขั้นสูง)
...

   การเรียงประโยค หรือ การเรียงข้อความ
....

   เงื่อนไขทางภาษา
...
   สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
  ....

   การใช้คำราชาศัพท์
   ....

      (๓) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ กำหนดคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น "โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต."

เอกสาร แนวข้อสอบ ดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้
   สรุปสาระสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ฉบับที่ 18)
....

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่1)
....

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่2)
...

   เจาะข้อสอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ชุดที่3)
  ....

   พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฯ 2542 (ชุดที่ 2)
...

   ข้อสอบพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฯ 2542 (ชุดที่ 2)
....

   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542
  ...

   ข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542
   ...
   
   พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
  ...

   ข้อสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
...

   พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 12
...

   ข้อสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 12)
....

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.1)   
   ...

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.2)   
...

   พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (vol.3)   
...

ภาค ข. ?
     หลังจากการสอบภาค ก. เราก็ต้องมาสอบภาค ข. (ภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง) ว่าง่ายๆ ก็คือความรู้ความเข้าใจในตำแหน่งที่เราสมัครสอบ (เหมือนกับเวลาเราไปสมัครงานบริษัทเอกชน เราก็ต้องรู้ใช่ไหมว่าตำแหน่งที่เราสมัครต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องรู้ *งานราชการก็เช่นกัน)
     ซึ่งภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) กำหนดคะแนนเต็มไว้ที่ ๑๐๐ คะแนน
โดยจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนหรือวิธีสอบปฏิบัติ หรือวิธีอื่นใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะรวมสอบเป็นวิชาเดียวหรืออย่างเดียว หรือแยกสอบเป็นสองวิชาหรือสองอย่าง แต่เมื่อรวมคะแนนทุกแบบทดสอบแล้วต้องมีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน โดยเมื่อจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางใดและโดยวิธีใด หน่วยดำเนินการสอบจะระบุไว้ในประกาศรับสมัครสอบด้วย

     ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมัครตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ก็ต้องเตรียมอ่านแล้วว่า ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร รับผิดชอบอะไรบ้าง พรบ.หรือข้อกฎหมายที่เราควรทราบ อย่างเช่น  งานพัสดุ งานสารบรรณ งานเลขานุการ งานบริหารบุคคล เป็นต้น สามารถศึกษาหน้าที่และลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งของท้องถิ่นได้ตาม "มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ของ อบจ./เทศบาล/อบต." (http://local.chiangmai.go.th/noui/math/) และที่สำคัญต้องสังเกตในส่วนท้ายของประกาศการรับสมัครสอบด้วยว่า "ขอบเขตเนื้อหาในการสอบตำแหน่งนั้นๆ จะออกเนื้อหาในส่วนใดบ้าง" ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผ่านมาหน่วยดำเนินการสอบจะระบุแจ้งไว้อย่างชัดเจน




คำถามยอดนิยม

ถาม : จะสอบตำแหน่ง... จะต้องอ่าน พรบ. อะไรบ้าง ?
ตอบ : ถ้าเราจะสอบในตำแหน่งใดนั้น ให้ศึกษาดูข้อมูลจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่งนั้นๆ และศึกษาจากประกาศการรับสมัครในครั้งที่ผ่านมา ซึ่งในบางตำแหน่งได้รวบรวมไว้ให้ท่านแล้ว จะอยู่ภายในกระทู้ ตอนที่ 6 http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,47355.0.html ซึ่งจะมีรายวิชาเนื้อหาที่ท่านควรจะอ่านเตรียมๆไว้ครับ

ถาม : จะเริ่มต้นอ่านหนังสือจากตรงไหนดี ?
ตอบ : ในการสอบครั้งนี้ ทุกตำแหน่ง ทุกระดับ จะต้องเข้าสอบในภาค ก ก่อนทุกคน ดังนั้นท่านควรเริ่มอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบในภาค ก ก่อน

ถาม : อ่านหนังสือมานานแล้ว แต่ยังจำไม่ค่อยได้ ควรทำอย่างไรดี ?
ตอบ : ลองอ่านเทคนิคการอ่านหนังสือ 9 ข้อ แล้วลองทำตามดูนะครับ อ่านวิธีการทั้งหมดได้ที่http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,45401.0.html

ถาม : ควรจะอ่าน พรบ. หรือ กฎหมายไหนเตรียมๆ ไว้บ้าง ?
ตอบ : แนะนำให้อ่านรัฐธรรมนูญ พรบ. บริหารราชการแผ่นดิน  พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น พรบ.อบจ./เทศบาล/อบต. พรบ.กระจายอำนาจฯ พรบ. บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ระเบียบงานสารบรรณ เพราะกฎหมายข้างต้นนี้ จะออกเป็นพื้นฐานอยู่ในทุกๆตำแหน่ง

ถาม : กรมฯ จะเปิดสอบเมื่อไร ?
ตอบ : ถ้าทราบข่าวข้อมูลที่ระบุวันอย่างชัดเจน และเป็นทางการแล้ว จะรีบประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้ทราบทันทีครับ

สุดท้ายนี้ สาเหตุที่เขียนตอนที่ 7 นี้ ขึ้นมาก็เพื่ออยากให้สมาชิกทุกท่านได้ใช้พื้นที่ ได้ใช้ข้อมูลดีๆที่มีอยู่ภายในเว็บไซต์ชุมชนคนท้องถิ่นแห่งนี้อย่างครบถ้วน โดยที่ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากเห็นบางท่านมีแอบบ่นให้ฟังว่าหาซื้อหนังสือเตรียมสอบยากมาก บางท่านก็หาซื้อมาจนได้แต่เนื้อหาภายในก็ไม่ค่อยดี ผมจึงอยากจะบอกว่าชุมชนคนท้องถิ่นของเราก็มีดีนะครับ มีข้อมูลเยอะแยะมากมาย เพียงท่านเปิดอ่าน ดาวน์โหลดมาอ่าน วิธีการเช่นนี้ทำให้สมาชิกหลายๆคน สอบบรรจุเป็นข้าราชการมาแล้ว ...

สิ่งเดียวที่ผมและชุมชนคนท้องถิ่นจะพอช่วยท่านในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งนี้ คือ แนะนำข้อมูล แบ่งบันสิ่งดีๆให้เท่านั้น ผมไม่อาจบังคับท่านให้อ่านหนังสือเตรียมตัวสอบได้
ดังนั้น สิ่งที่ท่านผู้ที่เตรียมสอบควรทำอย่างจริงจัง คือ ให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือ "และแบ่งเวลา" ให้ถูกต้อง ... ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ
#97
หลังจากที่เกริ่นนำอธิบายหลักเกณฑ์ แนวทางในการสอบเข้ารับราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาพอสมควรแล้ว
ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆสมาชิกชุมชนคนท้องถิ่น

ตอนที่ 6 นี้ จะขออธิบายถึงคุณวุฒิ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และรายละเอียดวิชาที่ "อาจจะ" ต้องใช้สอบในภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข)

โดยในการสอบเข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้อย่างชัดเจนว่าในตำแหน่งใด ต้องมีวุฒิการศึกษาในระดับใด และสาขาใด ซึ่งผมเองก็ได้รวบรวมมาให้ดูภายในกระทู้นี้แล้ว หากผิดพลาดประการใดท่านสามารถศึกษาได้เพิ่มเติมจาก "มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง"

แต่ในส่วนของรายละเอียดวิชาที่ "อาจจะ" ต้องใช้สอบในภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข) นั้น
ผมได้รวบรวมมาจากประกาศสอบข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล และพนักงานส่วนตำบล ที่ผ่านมา
ไม่่ว่าจะเป็นสนามจังหวัดนนทบุรี สนามจังหวัดลำพูน สนามจังหวัดระยอง

ซึ่งคาดว่า "การเปิดสอบเข้ารับราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้
รายละเอียดวิชา ก็มีออกสอบประมาณนี้ * ดังนั้นเพื่อนสมาชิกชุมชนฯ สามารถอ่านหนังสือมาเตรียมตัวอ่านสอบได้เลยครับ

หากผิดพลาด หรือ ขาดตก ในตำแหน่งใด รบกวนโพสแจ้งด้วยนะครับ
จะได้ช่วยกันหามาเพิ่มเติมให้ครับ


* เอาเป็นว่าขอให้เข้าใจตรงกันว่า
        หากท้องถิ่นเปิดสอบ ในส่วนของ พรบ. ท้องถิ่นนั้น จะเปลี่ยนแปลงไปตามหน่วยงานที่จัดสอบ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. อบจ. / พ.ร.บ. เทศบาล / พ.ร.บ. อบต.
#99
เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 4
หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ภาค ก (ท้องถิ่น)

เนื้อหาที่จะมีในการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อ่านควรกำหนดอ่านหนังสือให้ครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้
     (1) วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล มีคะแนนเต็ม 25 คะแนน
   จะทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
   จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ข้อสอบเคยออกถึง "การหาค่าของเลขอนุกรม , การหาร้อยละ , โจทย์เงื่อนไขทางคณิตศาสตร์ , การอ่านค่าจากตาราง กราฟ แผนภูมิ"
     (2) วิชาภาษาไทย มีคะแนนเต็ม 25 คะแนน
   จะทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆ
   จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทย ข้อสอบเคยออกถึง "อุปมา อุปไมย , เงื่อนไขทางภาษา , การเรียงประโยค , การเติมคำ , การตีความจากบทความยาว , คำราชาศัพท์ , สำนวน สุภาษิตไทย"
     (3) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ มีคะแนนเต็ม 50 คะแนน
   จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
   จากการสอบในอดีตที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น "โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น , พระราชบัญญัติ อบจ./เทศบาล/อบต."

    จากนี้ จะขอแนะนำหลักการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ ไม่ว่าจะเป็น ภาค ก หรือ ภาค ข ก็สามารถนำข้อหลักการ 9 ข้อนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการอ่านหนังสือของท่านได้ ดังนี้



1. ทำตารางการอ่านหนังสือ
   ผู้อ่านควรทำตารางการอ่านหนังสือทุกวันโดยให้ครอบคลุมเนื้อหาของการสอบในภาค ก ทั้งหมด  เพื่อเป็นการตั้งเป้าหมายและหัวข้อในการอ่านหนังสือ ทั้งนี้ควรอ่านเรียงกันไปทีละหัวข้อ เช่น อ่านหัวข้อ "เลขอนุกรม" อ่านจบก็ติ๊กเครื่องหมายว่าอ่านแล้ว พอวันต่อไปก็อ่านหัวข้อถัดไป ทำอย่างนี้จนครบทุกหัวข้อ จะถือว่าครบ 1 รอบ เมื่ออ่านครบ 1 รอบก็ให้รางวัลกับตัวเองเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการอ่านหนังสือรอบต่อไป จากนั้นก็อ่านหนังสือเรียงหัวข้อไปเรื่อยๆ หลายๆรอบ จนกว่าจะถึงวันสอบ หากทำแบบนี้แล้วรับรองจำเนื้อหาได้ขึ้นใจ


2. ตำราหนังสือข้อสอบเก่า(อาจารย์ชั้นดี)
   ผู้อ่านควรหาหนังสือที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ หนังสือที่ดีจะต้องอธิบายหลักการได้ชัดเจนและถูกต้อง และมีแนวข้อสอบเก่าที่มีเฉลยคำตอบและอธิบายหลักการหาคำตอบให้ด้วย เคล็ดลับสำหรับการเลือกซื้อหนังสือ ลองหยิบหนังสือขึ้นมา เปิดอ่านดู หากเราอ่านแล้วเริ่มจะเข้าใจก็ซื้อได้เลย หากเปิดอ่านดูแล้วงงๆ ก็วางแล้วลองเลือกดูเล่มใหม่ และควรเลือกหนังสือที่เขียนโดยสถาบันหรือสำนักพิมพ์ที่เชื่อถือได้ (ช่วงนี้มีหนังสือที่ข้าราชการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นรวมกลุ่มกัน รวบรวมเนื้อหาจัดทำเป็นหนังสือเตรียมสอบท้องถิ่นโดยเฉพาะ ลองๆหาดูในร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปนะครับ) พยายามหาหนังสือเตรียมสอบเล่มที่เราเข้าใจและเหมาะกับเรามากที่สุด เพราะหนังสือนี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน
   สิ่งที่ผู้อ่านหนังสือเตรียมสอบฯ จะต้องมี คือ 3 สิ่ง ดังต่อไปนี้ 1. หนังสืออธิบายความหมาย-หลักการ (หนังสือเตรียมสอบ) 2. เอกสาร/หนังสือสรุปใจความสำคัญ (ที่ทำขึ้นเองหรือดาวน์โหลดในเว็บไซต์) 3.แนวข้อสอบ/ข้อสอบเก่า (ซื้อมาเองหรือดาวน์โหลดในเว็บไซต์)

3. สื่อสารสนเทศ
   ในระหว่างการอ่านหนังสือ ส่วนใหญ่จะเกิดอาการง่วงและเบื่อหน่ายการอ่านหนังสือ ทางออกที่ดีที่สุด คือ เปิดดูวีดีโอติวการสอบ หรือ ฟังเสียงบรรยายการสอบ ควบคู่ไปกับการอ่านหนังสือ วิธีนี้จะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจในเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น และทำให้การอ่านหนังสือมีสีสันมากขึ้น ผู้อ่านจะได้รับฟังและอ่านหนังสือไปพร้อมๆกัน เนื่องจากบางครั้งการอ่านหนังสือเอง เราอาจจะไม่เข้าใจ จากการเปิดดูวิดีโอติวการสอบ จะทำให้เราได้เคล็ดลับในการจดจำเนื้อหาจากอาจารย์ผู้สอนได้


4. Mind map
   แผนที่ความคิด ในการอ่านทุกๆหัวข้อ ผู้อ่านจะต้องจินตนาการก่อให้เกิดแผนที่ความคิด (Mind map) ให้ได้ ผู้อ่านจะต้องสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการอ่านออกมาเป็นแผนผังที่มีลักษณะเกี่ยวโยงกันได้
   เช่น พรบ. เทศบาล ผู้อ่านจะต้องสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นแผนผังได้ว่า ประกาศใช้เมื่อใด? แบ่งเทศบาลออกเป็นกี่ประเภท? เทศบาลแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง? ฝ่ายบริหารเทศบาลคือ? ฝ่ายนิติบัญญัติเทศบาลคือ?
   หากผู้อ่านสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการอ่านออกมาเป็นแผนผังที่มีลักษณะเกี่ยวโยงกันได้แล้ว ประมาณว่า "หลับตานึกแล้วเห็นภาพเลย" ตอนอยู่ในห้องสอบผู้อ่านจะสามารถทำข้อสอบได้อย่างฉลุย


5. กำลังใจ เป้าหมายในชีวิต
   เป็นสิ่งสำคัญในการอ่านหนังสือ ผู้อ่านจะต้องหมั่นสร้างกำลังใจให้กับตนเอง และต้องกำหนดจุดเป้าหมายในชีวิตไว้ ผู้อ่านจะต้องทำให้ได้ ทำให้สำเร็จ  "กำลังใจ" สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผู้อ่านทุกคนหาและสร้างขึ้นเองได้ แหล่งที่มาของกำลังใจ อาจจะสร้างขึ้นเองหรือหาได้จากคนรอบข้าาง ที่แน่ๆสามารถหาได้ในชุมชนคนท้องถิ่น ในระหว่างการอ่านหนังสือต้องคอยเติมและเพิ่มกำลังใจสม่ำเสมอ อย่าให้กำลังใจหมดไป อย่าได้ท้อแท้ คนที่ประสบความสำเร็จในการสอบ ทุกคนต่างก็ต้องผ่านการอ่านหนังสือมามากๆ เช่นกัน

6. ตั้งใจแบ่งเวลา
   "เวลา" เป็นสิ่งสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง แต่ด้วยเนื่องจากผู้อ่านส่วนใหญ่จะต้องทำงานประจำ ดังนั้นในแต่ละวัน ควรจัดสรรแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสืออย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงต่อวัน เช่น วันจันทร์ถึงวันศุกร์ กำหนดอ่านหนังสือตั้งแต่เวลา 18.00 น. จนถึง 21.00 น.  ส่วนวันเสาร์-วันอาทิตย์ อาจจะอ่านเต็มวัน (ช่วงเช้า 1 วิชา ช่วงบ่าย 1 วิชา) เป็นต้น
   ในเมื่อมีหนังสือแล้ว อย่าปล่อยวางไว้เฉยๆ จะต้องหมั่นเปิดอ่าน เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหาอยู่สม่ำเสมอ และท่องไว้เสมอว่า "อย่าผัดวันประกันพรุ่ง" ต้องสามารถวินัยในการอ่านหนังสือของตนเอง

7. หาข้อด้อย เสริมจุดเด่น
   ในระหว่างการอ่านหนังสือสอบ ผู้อ่านต้องพิจารณาข้อด้อยและข้อเด่นของตัวเอง ว่ามีปัญหาในหัวข้อเนื้อหาการสอบวิชาใด จากนั้นต้องมาอ่านเสริมทำความเข้าใจเพิ่มเติม หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีก ก็ต้องพึ่งพาผู้รู้จากการสอบถามเพื่อให้ตัวเองเข้าใจ เช่น ผู้อ่านมีปัญหาในการอ่านค่าจากตารางและการคิดร้อยละ ในส่วนนี้มีออกอยู่ในข้อสอบแน่นอน ดังนั้นหากไม่อยากสูญเสียคะแนนตรงนี้ไป ผู้อ่านต้องพยายามศึกษาทำความเข้าใจการอ่านค่าจากตารางและการคิดร้อยละให้ได้

8. อย่าภวังค์กับวันสอบ
   ขอให้ผู้อ่านใช้เวลาทุกวันให้มีค่า ตั้งใจอ่านหนังสือ และหมั่นทบทวนทำข้อสอบเก่า ขอให้ถามตัวเองว่าพร้อมหรือยัง? คุณพร้อมที่จะสอบแข่งขันกับคนอื่นๆหรือยัง? คุณมีดีอะไรที่จะสอบแข่งขันได้หรือไม่? ถ้ายังไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ ก็ขยันอ่านหนังสือให้มากขึ้น และอ่านหนังสือต่อไป
และอย่ากังวลใจว่า "จะเปิดสอบเมื่อไร" เพราะจะทำให้ผู้อ่านไม่มีสมาธิ ขอให้ตั้งเป้าหมายไว้กับการอ่านหนังสือแต่เพียงอย่างเดียว

9. ชุมชนคนท้องถิ่น
   ผู้อ่านสามารถหาความรู้ หากำลังใจ และข่าวสารการสอบต่างๆ ได้ที่ชุมชนคนท้องถิ่นแห่งนี้ เพื่อนๆสมาชิกทุกคนยินดีที่จะแบ่งบันสิ่งดีๆให้แก่กัน ขอเพียงท่านผู้อ่านตั้งใจจริง เราก็พร้อมเดินเคียงข้างไปกับท่านเสมอครับ
#100
เตรียมสอบท้องถิ่น ตอนที่ 3
การขึ้นบัญชีและเงื่อนไขการใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้

จากหลักเกณฑ์ใหม่นี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่องๆ ไม่ว่าจะเป็น
- การเมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้ว ต้องบรรจุทำงานอยู่อย่างน้อย 1 ปี ก่อนจึงจะทำเรื่องโอนย้ายได้
- การใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ก็สามารถใช้ภายในกลุ่มจังหวัด / ภาค (ข้ามจังหวัดภายในกลุ่มจังหวัด/ภาคได้)
- การขอใช้บัญชี (ขอรับรองบัญชี) หน่วยงานที่ขอใช้ ก็ต้องอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่เป็นเจ้าของบัญชี
   ซึ่งจะมีรายละเอียด ดังนี้

การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ตามหลักเกณฑ์ฯการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะเรียงลำดับที่จาก "ผู้สอบได้คะแนนสูงลงมาตามลำดับ" ในกรณีที่ผู้สอบแข่งขันได้คะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่สอบได้คะแนนภาค ค มากกว่า จะอยู่ในลำดับที่สูงกว่า แต่ถ้าคะแนนภาค ค. เท่ากันอีก ผู้ที่สอบได้คะแนนภาค ข. มากกว่า จะอยู่ในลำดับที่สูงกว่า แต่...ถ้าได้คะแนนภาค ข. เท่ากันอีก ผู้ที่สอบได้คะแนนภาค ก. มากกว่า จะอยู่ในลำดับที่สูงกว่า สุดท้ายถ้าคะแนนยังเท่ากันอีก จะให้ผู้ที่สมัครสอบก่อนอยู่ในลำดับที่สูงกว่า ซึ่งจะพิจารณาจากเอกสารการสมัครสอบ ดังนั้น การสมัครก่อน หรือหลัง ก็มีผลกับการเรียงลำดับในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้นะครับ

เงื่อนไขการบรรจุแต่งตั้ง
การบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้จากบัญชีผู้สอบแข่งขันนี้ ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บรรจุแต่งตั้งอย่างน้อย 1 ปีไม่มีข้อยกเว้น จึงจะโอนไปสังกัดหน่วยงานราชการอื่นได้ อนึ่งเมื่อจังหวัดเจ้าของบัญชีได้ส่งบุคคลใดไปเพื่อรับการบรรจุแต่งตั้งแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีสิทธิปฏิเสธที่จะรับผู้นั้นเข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกันกับคุณวุฒิที่ผู้นั้นนำมาสมัครสอบแข่งขัน และเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อฉันลกัน ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนดโดยต้องเรียกบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

การรับโอนผู้สอบแข่งขัน
การรับโอนผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งเป็นข้าราชการประเภทอื่นให้ระบุว่าจะรับโอนมาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและการศึกษาเงินเดือนตามที่ประกาศไว้ เว้นแต่หน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน จะประกาศเป็นการล่วงหน้าว่าจะรับโอนในตำแหน่งและระดับเดิมหรือเทียบเท่าไม่สูงกว่าระดับในระดับควบและอัตราเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานเทศบาลหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของเทศบาลหรือคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเท่านั้น

การเรียกใช้บัญชี
หากสอบผ่าน จนมีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้นั้น ในบัญชีฯจะมีอายุการใช้งานได้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศขึ้นบัญชี
* ถ้า อบจ./เทศบาล/อบต. จัดสอบเอง บัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะใช้ได้เฉพาะหน่วยงานที่จัดเท่านั้น หน่วยงานอื่นไม่สามารถขอใช้บัญชีได้
* ถ้าคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) เป็นผู้จัดสอบ ในแบบรายกลุ่มจังหวัด / รายภาคนั้น บัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะใช้ได้ในกลุ่มจังหวัดหรือภาคนั้น


ยกตัวอย่างเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 ได้แก่ 1.จังหวัดมุกดาหาร 2.จังหวัดยโสธร 3.จังหวัดร้อยเอ็ด 4.จังหวัดศรีสะเกษ 5.จังหวัดสุรินทร์ 6.จังหวัดอำนาจเจริญ 7.จังหวัดอุบลราชธานี การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะประกาศเป็นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 7 จังหวัดข้างต้นที่ร้องขอให้จัดการสอบและมีอัตรากำลังตำแหน่งว่าง สามารถขอใช้บัญชีได้ จึงจะทำให้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้สามารถใช้ข้ามจังหวัดได้ แต่ไม่สามารถใช้ข้ามภาคได้ ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม จากจุดนี้ก่อให้เกิดผลดีในการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ทำให้โอกาสการเรียกใช้บัญชีมีมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม จะทำให้จำนวนผู้สอบแข่งขันนั้นมีจำนวนมากขึ้น ก่อให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น

การอนุญาตให้ใช้บัญชี
   กรณีเทศบาลเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ให้บรรจุแต่งตั้งได้เฉพาะเทศบาลนั้น ไม่อาจอนุญาตให้เทศบาลอื่นใช้บัญชีเพื่อบรรจุแต่งตั้งได้

การรับรองบัญชี
   กรณีคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันสามารถอนุญาตให้เทศบาลอื่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ประสงค์จะขอใช้บัญชีสอบแข่งขันดังกล่าวสามารถใช้บัญชีเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามคุณวุฒิที่ผู้นั้นนำมาสมัครสอบแข่งขันแต่ต้องเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อฉันลกัน ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด โดยต้องเรียกบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งหน่วยงานที่ขอใช้บัญชีจะต้องมีพื้นที่อยู่ในภาค/เขตที่กำหนด
* ทั้งนี้จะต้องดำเนินการหลังจากที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ร้องขอให้คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันแทนได้รับการบรรจุแต่งตั้งจนครบจำนวนแล้ว
   กรณีตำแหน่งที่จะบรรจุแต่งตั้งในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของภาค/เขตไม่มี หรือบรรจุแต่งตั้งครบทั้งบัญชีแล้ว  ก็อาจใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้นหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อฉันลกันของบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของภาค/เขตอื่นได้ตามที่คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด

>>> ตอนต่อไป : ตอนที่ 4 จะพูดถึงหลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ภาค ก