• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - admin

#143

ในวันนี้แอดมินจะขออนุญาตนำคุณผู้ชมทุกท่าน พบกับ นิติกรสาวสวยอีกหนึ่งท่าน   จากจังหวัดเชียงใหม่  น้องอิ๋วคือชื่อ ของเธอ  ดีกรี อดีต ข้าราชการสีกากีเข้ม พลิกผัน ชะตา เพื่อก้าวเข้าสู่วงการท้องถิ่น  ปัจจุบัน น้องอิ๋ว เป็น นิติกรฯอยู่เทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่















#146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2549         

         นายภิญโญ   ศรีหงส์                                        โจทก์

         นางปิ่นทอง   ศรีหงส์                                       จำเลย



แพ่ง     เหตุฟ้องหย่า (มาตรา 1516(4/2))

                        แม้ในปี 2517  โจทก์เป็นฝ่ายละทิ้งร้างจำเลยโดยออกจากบ้านที่โจทก์จำเลยเคยอยู่กินด้วยกันไปอยู่กินฉันสามีภริยากับนาง ม.ก็ตาม  แต่ในปี 2519  จำเลยก็มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนาย ส. จนมีบุตรด้วยกัน 1 คน  แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์อีกต่อไปเช่นเดียวกัน  และระหว่างที่แยกกันอยู่ไม่ปรากฏว่า  โจทก์กลับไปอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยอีก   ฝ่ายจำเลยซึ่งทราบดีว่าโจทก์พักอาศัยอยู่ที่ใดก็มิได้สนใจหรือหาทางที่จะอยู่ร่วมกับโจทก์ฉันสามีภริยาต่อไป   พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยที่ต่างคนต่างอยู่เป็นเวลานานถึง 25 ปีนั้น  ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี   อันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2)   โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้

#147
ผู้กู้เสนอขอชำระหนี้แก่ผู้ให้กู้ โดยให้ผู้ให้กู้รับโอนทรัพย์จำน​องแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน ผู้ให้กู้ปฏิเสธการชำระหนี้ จะถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ผิด​นัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 หรือไม่ ?

คำพิพากษาฎีกาที่ 8260/​2550 ----- จำเลยค้างชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นหนี้เง​ิน จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โด​ยปราศจากเงื่อนไขใดๆ
เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเ​ป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระห​นี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดย​ตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้โดยให้​โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำ​ระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำร​ะหนี้โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธกา​รรับชำระหนี้ได้โจทก์จึงไม่ตกเป​็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 207 มาตรา 733 แห่ง ป.พ.พ. เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนา​ของคู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่​นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเ​นียมประเพณีของสังคม จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอั​นเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรื​อศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการ​อื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้
#148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  663/2550

ป.พ.พ. มาตรา 8

ป.วิ.พ. มาตรา 23

      ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 3 มิถุนายน 2548 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ จำเลยมีทนายความและรูปคดีไม่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน ย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แต่จำเลยหาได้ยื่นอุทธรณ์ไม่ การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปอีก 3 วัน โดยอ้างว่า ทนายจำเลยนำอุทธรณ์ไปยื่นต่อศาลชั้นต้นแต่ระหว่างทางการจราจรติดขัดเนื่องจากมีการก่อสร้างสะพานใหม่และมีรถเฉี่ยวชนกัน ทำให้ทนายจำเลยเดินทางไปถึงศาลชั้นต้นเลยเวลาทำการไปเกือบ 30 นาที และไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทันกำหนดนั้น ล้วนเป็นเหตุที่สามารถป้องกันและคาดหมายได้ล่วงหน้า กรณีมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 ที่จำเลยจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้

     คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 4, 5, 6, 8, 9, 10, 12, 15 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83 จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 3 เดือน ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน 2548 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ครั้นวันที่ 20 มิถุนายน 2548 จำเลยยื่นคำร้องว่า เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ซึ่งเป็นวันศุกร์ ทนายจำเลยนำอุทธรณ์ไปยื่นต่อศาลชั้นต้น แต่ระหว่างเดินทางการจราจรติดขัดเนื่องจากมีการก่อสร้างสะพานใหม่และมีรถเฉี่ยวชนกัน ทำให้ทนายจำเลยเดินทางไปถึงศาลชั้นต้นเลยเวลาทำการไปเกือบ 30 นาที จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทันกำหนด ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 3 วัน ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า เหตุที่จำเลยอ้างไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้ยกคำร้อง

     จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยฎีกา

     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "เหตุสุดวิสัย" หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 ในเบื้องต้นจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน คือวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ต่อมาในวันครบกำหนดอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2548 จำเลยมีทนายความและรูปคดีของจำเลยไม่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน จำเลยย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แต่จำเลยหาได้ยื่นอุทธรณ์ไม่ การที่ทนายจำเลยอ้างว่า ทนายจำเลยนำอุทธรณ์ไปยื่นต่อศาลชั้นต้น แต่ระหว่างทางการจราจรติดขัดเนื่องจากมีการก่อสร้างสะพานใหม่และมีรถเฉี่ยวชนกัน ทำให้ทนายจำเลยเดินทางไปถึงศาลชั้นต้นเลยเวลาทำการไปเกือบ 30 นาที และไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทันกำหนดนั้น ล้วนเป็นเหตุที่สามารถป้องกันและคาดหมายได้ล่วงหน้า กรณีมิใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยนั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

     พิพากษายืน...


หมายเหตุ 

     การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะยื่นคำร้องภายหลังสิ้นกำหนดระยะเวลาได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุสุดวิสัย

     คำว่า "เหตุสุดวิสัย" ดังกล่าวมิได้ถือตามความหมายดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 แต่หมายถึง เหตุที่ทำให้คู่ความไม่สามารถยื่นคำขอก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลา ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลานั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 8659/2548)

     คดีนี้ทนายจำเลยนำอุทธรณ์ไปยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันสุดท้ายแต่ศาลปิดทำการไปเกือบ 30 นาทีแล้ว เนื่องจากการจราจรติดขัดเพราะมีการก่อสร้างสะพานใหม่และมีรถเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้ทนายจำเลยไม่สามารถเดินทางไปถึงศาลทันเวลาทำการได้ ย่อมถือได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ แต่ศาลปิดทำการแล้วทั้งวันถัดมาเป็นวันเสาร์อาทิตย์ จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันจันทร์ที่ศาลเปิดทำการ จึงถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าวได้ตามมาตรา 23 ศาลน่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไป 3 วันตามขอ แม้จะมิใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 ก็ตาม.....
#149
คำพิพากษาฎีกาที่ 3011/​2551 ----- จำเลยขึ้นนั่งคร่อมและเข็นรถจักรยานยน​ต์ของผู้เสียหายมาจากจุดที่จอดเ​ดิมประมาณ 1 เมตร แต่จำเลยยังไม่ทันติดเครื่องรถข​ับเอาไปเพราะผู้เสียหายมาพบเห็น​เสียก่อน จำเลยจึงทิ้งร
ถวิ่งหนีไปถือได้ว่าจำเลยเข้ายึ​ดถือครอบครองและเอาทรัพย์เคลื่อ​นไปในลักษณะที่พาเอาไปได้เป็นกา​รลักทรัพย์สำเร็จแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 121/​2537 ----- จำเลยเพียงแต่นั่งคร่อมรถจักรยานยนต์​ยังไม่ได้เอารถออกเป็นการลงมือล​ักทรัพย์แล้ว เมื่อกระทำไปไม่ตลอดเพราะผู้เสี​ยหายเข้ามากอด เอาไว้ทำให้จำเลยเอารถจักรยานยน​ต์ของผู้เสียหายไปไม่ได้ เป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
#150
ฎีกาที่ 205/2554 เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ม. 147
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งพนักงานคุมประพฤติรับเงินค่าตอบแทนของผู้เยาว์ และได้เบียดบังเอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยมิได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารในนามของผู้เยาว์ เป็นการไม่ปฏิบัติตนในฐานะผู้กำกับการใช้อำนาจปกครองในส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 สำเร็จไปแล้ว แม้ต่อมา จำเลยนำเงินไปเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ให้แก่ผู้เยาว์ที่ธนาคาร ก็เป็นเพียงการพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด ไม่อาจทำให้การกระทำที่เป็นความผิดอาญาสำเร็จไปแล้วกลับกลายเป็นไม่มีความผิดไปได้
#151
ฎีกา 4523/2554 พรากผู้เยาว์มาตรา 318
คำว่า บิดาหรือผู้ดูแล ตาม ป.อ. มาตรา 318 หมายรวมถึง บิดาหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ตามความเป้นจริงด้วย แม้จะเป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายดังกล่าว หากไม่ได้ใช้อำนาจปกครอง ดูแลผู้เยาว์ก็อาจสิ้นสุดลงได้ และความปกครองดูแลโดยพฤตินัยนั้นก็อาจสิ้นสุดลงได้เช่นกัน
คดีนี้ ส. บิดาผู้เสียหายได้แยกทางกับมารดาผู้เสียหายและไปมีภริยาใหม่ ส่วนมารดาผู้เสียหายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว 1 ปีก่อนเกิดเหตุ ส่วน ส. บิดาของผู้เสียหายก็ไม่ได้อุปการะเลืั้ยงดูผู้เสียหายมานาน 7 ปีแล้ว และผู้เสียหายไปอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของ บ. ผู้เป็นยาย ผู้เสียหายจึงมิได้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและอำนาจปกครองของ ส. ผู้เป้นบิดาแล้ว ส่วน บ. แม้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้เสียหายอยู่ก่อนเกิดเหตุ แต่ก่อนเกิดเหตุประมาณสิบกว่าวัน ผู้เสียหายได้หลบหนีออกจากบ้าน บ. ไปอยู่กับ ด. ผู้เป็นพี่สาวและรับจ้างทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟที่ร้านคาราโอเกะซึ่งอยู่ต่างอำเภอกัน ทั้ง บ. ก็ไม่ทราบว่าผู้เสียหายหลบหนีไปอยู่ที่ไหนกับผู้ใด และติดตามหาไม่พบ ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 15 ปีเศษแล้วและเคยออกจากบ้านไปอยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. มาก่อน แสดงว่าผู้เสียหายโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ชีวิตไม่น้อย พฤติการณ์บ่งชี้ว่าผู้เสียหายสมัครใจหลบหนีออกจากบ้านเจตนาไปทำงานเลี้ยงชีพพึ่งตนเองโดยลำพังไม่ประสงค์จะพึ่งพาอาศัยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและในความดูแลของ บ. ผู้เป็นยายอืกต่อไป ผู้เสียหายจึงขาดจากความดูแลของ บ. ผู้เป้นยายแล้ว หาใช่ว่า ผู้เสียหายไปจากความดูแลของ บ. เพียงชั่วคราว และถือว่าขาดจากอำนาจปกครองดูแลของ ส. ผู้เป็นบิดาและความดูแลของ บ. ผู้เป็นยายแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากความดูแลของบิดาและยายของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสี่ไม่เป็นความฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปีแต่ยังไม่เกิน 18 ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 318
#152
คำพิพากษาฎีกาที่ 5445/2552 จำเลยลอยเรือเพื่อให้เรือลำอื่นที่ชักธงชาติไทยมารับช่วงน้ำมันไปจำหน่ายแก่เรือประมงอีกทอดหนึ่ง แม้เหตุจะเกิดที่นอกราชอาณาจักรแต่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจต
นาประสงค์ต่อผลหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรเพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันไปจำหน่ายให้แก่เรือประมงที่ทำการประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในขั้นพยายามต้องด้วย ป.อ. มาตรา 5 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่าการพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดได้กระทำในราชอาณาจักร เมื่อการพยายามกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและถือเสมือนเป็นความผิดสำเร็จโดยมีโทษเช่นเดียวกับความผิดสำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษา
#153
กฎหมายอาญา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
   
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย

    บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ
    บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น
    บทความนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง

กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด
เนื้อหา

    1 หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
    2 ประเภทของความผิด
    3 ลักษณะของการเกิดความผิด
    4 สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
    5 ดูเพิ่ม

หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป

    กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ "ถ้อยคำ" ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
    ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
    กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
    กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
    ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า "บัญญัติ" และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประเภทของความผิด

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

    ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
    ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

ลักษณะของการเกิดความผิด

กฎหมายอาญารกระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ

    ความผิดโดยการกระทำ
    ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
    ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ

สภาพบังคับของกฎหมายอาญา

โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฎีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเข้าสู่สังคมอย่างเดิม
ดูเพิ่ม

    ศาลอาญา
    กฎหมายแพ่ง

หมวดหมู่:

    กฎหมายอาญา

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2
#155


วันนี้เรามาแนะนำนิติกรสาวสวยแห่งนครปฐมและสุพรรณบุรี

นิติกรก้อย จ.นครปฐม
นิติกรจูน จ.สุพรรณบุรี