• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

สตง.ทักท้วง บอกว่าการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี2552โดยพิจารณาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี2551แต่ไม่ได้

เริ่มโดย admin, 21-05-2018, 08:08:25

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

admin



สตง.ทักท้วง

บอกว่าการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี2552โดยพิจารณาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี2551แต่ไม่ได้ใช้ข้อมูลรายรับจริงประจำปีงบประมาณ2550ซึ่งมีจำนวนเงินต่ำกว่างบประมาณรายจ่ายประจำปี2552ที่ตั้งไว้เกือบ10ล้านมาประกอบการพิจารณาตั้งงบประมาณจึงทำให้มีการตั้งงบประมารรายจ่ายประจำปีสูงเกินสมควรเมื่อรายรับจริงต่ำกว่าประมาณการรายรับเป็นอย่างมากส่งผลให้จำนวนเงินที่จะใช้จ่ายมีไม่เพียงพอเมื่อได้ก่อหนี้ผูกพันในการจัดซื้อจัดจ้างและมาเบิกจ่ายเงินจำนวนมากใก้สิ้นปีงบประมาณรายรับจริงที่เหลือจึงไม่เพียงพอจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทน
ให้พิจารณาโทษเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องตามควรแก่กรณี
ท่านใดมีกรณีเช่นที่ถูกทักท้วงบ้านขอคำชี้แนะแนวทางดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสตง.ด้วย

ขอคำชี้แนะด้วย 110.77.166.* [ วันอังคาร ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 11:07 น. ]

ไม่เคยเจอแบบนี้ครับ
แต่เท่าที่คุณอธิบายมา ก็สมควรโดนทักท้วงแล้วครับ เล่นตั้งงบเกินดุล เป็น 10 ล้าน...จังหวัด และอำเภอ ให้ผ่านได้อย่างไร ปกติเขาตั้งงบประมาณ สมดุล ครับ
โดยคุณ .. 118.173.242.* [ วันอังคาร ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 11:37 น. ] ผู้ตอบคนที่ 1
[ ลบคำตอบที่ 1 ]

เข้าใจว่าการตั้งประมาณการรายรับในข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติไม่ต่างกันคือการใช้ฐานข้อมูลรายรับจริงของปีงบประมาณที่ผ่านมา (ท่านทำงบปี 52 ดังนั้นรายรับจริงของปีที่ผ่านมาคือ รับจริงปี 50 เพราะท่านตั้งประมาณการไม่เกิน สิงหาคม 2551 ถูกต้องมั๊ย) ฐานข้อมูลเป็นเพียงการคาดคะเน กะประมาณเอาโดยมีข้อมูลอ้างอิง กรณีตามปัญหาเมื่อท่านตั้งประมาณการสูง แล้วต่อมารายรับจริงปี 52 ตำกว่าประมาณที่ตั้งไว้ ก็เป็นเรื่องของรายรับตำกว่าประมาณการเท่านั้นเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ส่วนข้ออ้างที่ว่าประมาณสูงกว่ารายรับเป็นอย่างมากส่งผลให้จำนวนเงินที่จะใช้จ่ายมีไม่เพียงพอนั้นเมื่อได้ก่อหนี้ผูกพันในการจัดซื้อจัดจ้างและมาเบิกจ่ายเงินจำนวนมากใก้สิ้นปีงบประมาณรายรับจริงที่เหลือจึงไม่เพียงพอจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนนั้นไม่น่ารับฟังได้ เพราะการก่อหนี้ผูกพันนั้นย่อมต้องก่อได้เมื่อมีงบประมาณเพียงพอที่จะจ่าย กล่าวคือท่านอาจขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างได้แต่ท่านไม่อาจลงนามในสัญญาได้ กรณีต้องพิจารณาว่า
1. ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ผู้ขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง(หัวหน้าหน่วยงานงบประมาณตั้งอยู่) ผู้มีหน้าที่จัดซื้อจัดจ้าง( พัสดุ หัวหน้าพัสดุ) เสนอเพื่อลงนามในสัญญา ได้แจ้งสถานะการเงินว่ามีงบประมาณเพียงพอที่จะจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่
2. ขั้นตอนการเบิกจ่าย ผู้ขออนุมัติเบิกจ่าย (หัวหน้าหน่วยงานงบประมาณตั้งอยู่)
เจ้าหน้าที่งบประมาณ ผู้จ่าย (กองคลัง) และผู้สั่งจ่าย(นายก)ต้องพิจารณาว่ามีงบประมาณเบิกจ่ายหรือไม่
3.งบประมาณไม่พอจ่ายเงินเดือน/ค่าตอบแทน กรณีดังกล่าวไม่ใช่การตั้งไว้แล้วไม่พอจ่ายซึ่งอาจจ่ายจากเงินสะสมอำนาจผู้บริหารได้นะ เป็นการตั้งแล้วไม่มีเงินเข้ามาตามประมาณการรายจ่าย พิจารณาให้ดี
ดังนั้นจะเห็นว่าระบบจัดซื้อจัดจ้างและระบบเบิกจ่ายต่างหากที่มีผลต่องบประมาณเพียงพอจ่ายหรือไม่ ส่วนการประมาณการรายรับเป็นกรอบงบประมาณหลักกว้างๆเพื่อบริหารจัดการงบประมาณตามขั้นตอนเท่านั้นไม่ใช่สาเหตุ
โดยคุณ ว่างั้น 118.174.3.* [ วันอังคาร ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 15:32 น. ] ผู้ตอบคนที่ 2
[ ลบคำตอบที่ 2 ]



ให้สอบเจ้าหน้าที่งบประมาณ หนะ ถูกแล้ว เพราะตั้งข้อบัญญัติฯ ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ

ตามข้อ 16 และ ข้อ 23 รบ มท งบประมาณฯ 2541

http://www.phuketlocal.go.th/files/order/20101014111931aiblu.pdf


ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่งบประมาณ ไปตั้งรายจ่าย ไม่อิงกับรายได้ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

จึงเป็นที่มาของการตั้งรายจ่ายมาก แต่ได้รายกลับน้อยกว่า ทำให้การวางแผนงาน เสียหาย


โดยคุณ 1 125.26.217.* [ วันพุธ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 22:58 น. ] ผู้ตอบคนที่ 3
[ ลบคำตอบที่ 3 ]

ท่านดูถ้อยคำให้ดีนะคะ

-เขาให้ประมาณการรายจ่าย
-เขาให้เอารายได้จริง

ความแตกต่างคือ รายจ่ายประมาณได้ แต่รายได้ประมาณไม่ได้ งง..

พูดง่ายๆ จะตั้งรายจ่ายเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับรายได้ที่นำมาเป็นฐาน

เช่น รายได้ปี 50 ให้นำมาตั้งร่างรายจ่ายในปี 52
เมื่อรายได้ปี 50 (รายได้จริง 18 ล้าน อุดหนุนทั่วไป 9 ล้าน อุดหนุนเฉพาะกิจ 1 ล้าน รวมทั้งสิ้น 28 ล้าน )

การทำร่างรายจ่ายปี 52 ทำได้ 28 ล้่าน ส่วนจะไปทำรายจ่ายอะไรก็ไปประมาณเอา เขาถึงเรียกว่างบประมาณรายจ่าย

โดยคุณ 1 125.26.217.* [ วันพุธ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 23:06 น. ] ผู้ตอบคนที่ 4
[ ลบคำตอบที่ 4 ]
อยากให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา