• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

ศาลพิพากษาจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ศาลมีหมายเรียกให้ อบต จำเลย ยื่นคำให้การ แต่น

เริ่มโดย admin, 21-05-2018, 07:48:49

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

admin




ศาลพิพากษาจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ

ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ศาลมีหมายเรียกให้ อบต จำเลย ยื่นคำให้การ แต่นายก อบต ไม่ได้ทำเรื่องให้อัยการแก้ต่างให้ ทั้งไม่ได้มอบอำนาจให้นิติกร หรือปลัด ไปดำเนินการในเรื่องนี้ จนกระทั่งศาลตัดสินให้โจทก์ชนะคดี โดยในรายงานกระบวนพิจารณาศาลระบุว่า จำเลย (อบต) โดยนายก ผู้แทนนิติบุคคล จงใจขาดนัดยื่นคำให้การในคดีนี้
ต่อมา มีราษฎรคนหนึ่งแก่เป็นนักร้องเรียน ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า นายก อบต จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ถือเป็นการละเว้นการปฏิับัติหน้าที่โดยมิชอบ มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗
ในกรณีนี้ราษฎรรายนี้ ถือเป็นผู้เสียหายหรือไม่ แจ้งความได้หรือไม่

บุคลากร ส่งเมล์ถึง บุคลากร 1.2.241.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 16:05 น. ]

การละเว้นไม่ยื่นคำให้การหรือส่งเรื่องให้พนักงานอัยการแก้ต่างให้จะเป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ.มาตรา 157 หรือไม่ ไม่อาจสรุปได้แน่ว่าจะเป็นผิดหรือไม่ผิด เพราะข้อเท็จจริงให้มีน้อยมากจากคำถามที่ให้มา แต่เพื่อความเข้าใจจะขอยกตัวอย่างดังนี้
กรณีที่ 1 ถ้าผู้ฟ้อง ฟ้องคดีเรียกเงินตามสัญญาหรือเรียกให้ อบต. ชำระหนี้ ตามสัญญาหรือหนังสืออันเป็นมูลแห่งหนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ยื่นคำให้การสู้ไปก็ไม่มีทางชนะมีแต่แพ้กับแพ้ แบบนี้การที่ไม่ยื่นคำให้การก็ไม่ได้เสียหายอะไร หรือไม่ส่งเรื่องให้อัยการแก่ต่างก็ไม่เห็นเสียหายอะไร การที่นายกไม่ยื่นคำให้การก็ไม่น่าจะผิดอะไร เพราะอย่างไร่ซะ อบต. ก็ต้องชำระหนี้ตามกฎหมายอยู่แล้ว (เมื่อหนี้นั้นเกิดขึ้นโดยชอบรัฐจึงไม่ควรส่งเสริมให้มีการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้นั้นเอง)
กรณีที่ 2 ถ้าผู้ฟ้อง ฟ้องคดีเรียกเงินตามมูลละเมิด เช่น เจ้าหน้าที่ อบต. ขับไปชนคนอื่น หรือ อบต.หรือเจ้าหน้าที่ทำละเมิดต่อคนอื่น ถ้าเป็นคดีแบบนี้จำเป็นมากที่จะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการต่อสู้ว่าการนั้นไม่เป็นละเมิด หรือค่าเสียหายที่แท้จริงไม่ได้มีจำนวนมากตามที่ฟ้องเรียกมา ถ้านายกฯ ไม่ทำอะไรเลยตามที่ระบุมาในคำถามแบบนี้ผมว่านายกอาจผิด 157 ได้ เพราะเห็นได้ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นแน่นอน
ในชันนี้จึงให้เข้าใจว่าการขาดนัดยื่นคำให้การไม่เป็นความผิดอาญาเสมอไป ถึงตอนนี้ท่านคงมีคำตอบในใจแล้วว่า กรณีที่ถามจะเป็น 1 หรือ 2
ทีนี้สมมุติว่า ถ้าการกระทำของนายกฯ เป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา 157 ซึ่งกรณีที่ถามเห็นว่าเฉพาะ อบต. เท่านั้นเป็นผู้เสียหายและร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ได้
แต่อย่างไรก็ตามความผิดฐานนี้กฎหมายกำหนดให้เป็นอาญาแผ่นดิน บุคคลทั้งหลายที่พบการกระทำความผิดย่อมมีอำนาจกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีได้ การที่ราษฎรรายนี้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกล่าวโทษนั้นเอง ดังนั้นหากคดีมีมูลพนักงานสอบสวนก็ต้องดำเนินคดีต่อไป นั้นเอง
โดยคุณ นิติกรgan 1.179.170.* [ วันอังคาร ที่ 26 เมษายน 2559 เวลา 15:06 น. ] ผู้ตอบคนที่ 1
[ ลบคำตอบที่ 1 ]

เทียบเคียงตามหนังสือ ที่ มท0804.4/ว160 ลว 23 มกราคม 2550 เรื่อง การปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการดำเนินคดีอาญา คดีแพ่งและคดีปกครอง และที่ มท 0804.4/ว 637 ลว 27 มีนาคม 2552 และที่มท 0313.6/ว 2092 ลว 1 กรกฎาคม 2540
โดยคุณ น.ก. 118.174.190.* [ วันพุธ ที่ 27 เมษายน 2559 เวลา 16:21 น. ] ผู้ตอบคนที่ 2
[ ลบคำตอบที่ 2 ]

อยากให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา