• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

กรณีเงินกู้เศรษกิจชุมชนขาดอายุความกว่า10ปี จะคิดดอกเบี่ยได้กี่ปีค่ะ ผู้กู้จะมาทำหนังสือรับสภาพความ

เริ่มโดย admin, 18-05-2018, 07:42:56

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

admin


กรณีเงิน+++้เศรษกิจชุมชนขาดอายุความกว่า10ปี จะคิดดอกเบี่ยได้กี่ปีค่ะ

ผู้+++้จะมาทำหนังสือรับสภาพความผิด จะคิดดอกเบี้ยได้กี่ปี

ขอบคุณค่ะ 101.108.153.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม 2559 เวลา 10:48 น. ]

ขาดอายุความ แล้วจะคิดดอกเบี้ยได้รึครับ อย่าว่าแต่ดอกเบี้ยเลย เงินต้นก็จะไม่ได้คืน สิ่งที่ต้องดูคือ ใครปล่อยให้ขาดอายุความ คนนั้นต้องรับผิดชอบ
โดยคุณ เซรุย 1.20.134.* [ วันพฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม 2559 เวลา 11:50 น. ] ผู้ตอบคนที่ 1
[ ลบคำตอบที่ 1 ]


ลองอ่านดู


http://www.peesirilaw.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.227.* [ วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 09:13 น. ] ผู้ตอบคนที่ 2
[ ลบคำตอบที่ 2 ]


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2538

บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ มหานคร ทรัสต์ จำกัด
โจทก์


กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35 ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วต่อมาหนี้ขาดอายุความภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์มาก่อน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามมาตรา 193/35 แต่กรณีเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทอื่นมาเป็นจำเลย การฟ้องคดีตาม บันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30

________________________________


โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 จำเลยได้ทำหนังสือขอชำระหนี้แทนบริษัทบางกอกแอร์คราฟท์เอ็นยีเนียริ่งจำกัด ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาขายตั๋วเงินของโจทก์ โดยยอมรับว่า ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2529 บริษัทบางกอกแอร์คราฟท์เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด ยังเป็นหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินอยู่เป็นต้นเงิน 800,000 บาท และดอกเบี้ย 37,304.11 บาท โดยจำเลยตกลงจะชำระหนี้ทั้งหมดแทน ซึ่งจำเลยได้สัญญาว่าจะชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาและยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2529 เป็นต้นไป และจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ30,000 บาท เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 1 มกราคม 2530 และหากจำเลยผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดยินยอมให้โจทก์ดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันที หลังจากทำสัญญากันในวันเดียวกันนั้นจำเลยก็ไม่ยอมนำเงินค่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระจำนวน 37,304.11 บาท มาชำระให้แก่โจทก์ และต่อมาเมื่อครบกำหนดที่จำเลยจะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว จำเลยก็ไม่เคยนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ขอคิดค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 800,000บาท นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2529 จนถึงวันฟ้องคิดเป็นดอกเบี้ย 696,328.76 บาท เมื่อรวมต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 1,533,632.87 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงิน 800,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การว่า มูลหนี้เดิมเป็นหนี้ตามเช็คซึ่งมีอายุความ 1 ปี โจทก์นำหนังสือรับสภาพหนี้มาให้จำเลยลงชื่อเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 โจทก์มาฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ อย่างไรก็ดีโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี จึงขาดอายุความเช่นกัน ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 800,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2529 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบางกอกแอร์คราฟท์เอ็นยิเนียริ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 จำเลยได้ทำหนังสือขอชำระหนี้แทนบริษัทบางกอกแอร์คราฟท์เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด โดยยอมรับว่า ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2529 บริษัทบางกอกแอร์คราฟท์เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด เป็นหนี้โจทก์ในต้นเงิน 800,000 บาท ดอกเบี้ย 37,304.11 บาท จำเลยจะชำระหนี้ดอกเบี้ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาและยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2529 และตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนเดือนละ 30,000 บาท เริ่มชำระงวดแรก วันที่ 1 มกราคม 2530 ปรากฏตามหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.3 จำเลยได้ชำระดอกเบี้ย 37,304.11 บาท ให้ตามที่ตกลงกันแล้ว หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีกเลย มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จำเลยฎีกาว่าโจทก์ฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งมาจากการนำเช็คไปแลกเงินอายุความต้องถือหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 จึงต้องฟ้องภายในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2530 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2535 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/15 อย่างไรก็ดีโจทก์ฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 นับถึงวันฟ้องวันที่ 19 สิงหาคม 2535 จึงเกินสองปี ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35 แล้วนั้น เห็นว่า กรณีที่จะต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35 ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่ก่อนแล้วต่อมาหนี้ขาดอายุความภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์มาก่อน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.3 ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 193/35 ดังที่จำเลยฎีกา แต่กรณีเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทบางกอกแอร์คราฟท์เอ็นยีเนียริ่งจำกัด มาเป็นจำเลย การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ฟ้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ เมื่อวินิจฉัยดั่งนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า มูลหนี้เดิมที่บริษัทบางกอกแอร์คราฟท์เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด ที่มีต่อโจทก์นั้นเป็นมูลหนี้ตามเช็คหรือสัญญาขายลดเช็ค"

พิพากษายืน



( ชลอ ทองแย้ม - ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์ - ทวิช กำเนิดเพ็ชร์ )

ป.พ.พ.
มาตรา 249 ลูกหนี้จะเรียกร้องให้ระงับสิทธิยึดหน่วงด้วยหาประกันให้ไว้ตามสมควรก็ได้

มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี

มาตรา 193/35 ภายใต้บังคับมาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน

โดยคุณ นิ๋ง 1.4.227.* [ วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 09:14 น. ] ผู้ตอบคนที่ 3
[ ลบคำตอบที่ 3 ]

รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
หนังสือขอชำระหนี้แทน หนังสือรับสภาพหนี้ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่? มูลหนี้เดิมของหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนี้ตามเช็คมีอายุความ 1 ปี โจทก์ฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ มีอายุความ 2 ปี แต่หนังสือรับสภาพความรับผิดตาม มาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นั้น ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาหนี้ขาดอายุความแล้วลูกหนี้มารับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่กรณีในคดีนี้ ลูกหนี้ไม่เคยเป็นหนี้เจ้าหนี้มาก่อนจึงไม่ใช่กรณีที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพความรับผิดซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้มีอายุความ 10 ปี
โดยคุณ นิ๋ง 1.4.227.* [ วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 09:15 น. ] ผู้ตอบคนที่ 4
[ ลบคำตอบที่ 4 ]
อยากให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา