• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - admin

#16

เอวพริ้วดั่งสายน้ำ


ขอดื่มให้ท่านประธาน


งานเลี่ยง


งานเลี้ยง


งานเลี้ยง





























#19

ห๊าววววววววววววววววววววววววววววววง่วงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง



แอ๊คชั่น



โย่วววววววววววววววว



ปะทะแข้งบุคลากร



กองเชียร์



กองเชียร์ตัวจริง















จะมีสักกี่คนที่คิดถึงกัน
#20
 
   

รายชื่อผู้เข้าศึกษาอบรมหลักสูตร นิติกร อปท. รุ่นที่ 11

ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม – 9 พฤศจิกายน  2550
ณ  สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น  ศูนย์คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง  จ.ปทุมธานี
   

เพศ
   

ชาย       69          คน
   

หญิง          18          คน
   

รวม    87     คน

อายุ
   

สูงสุด  46    ปี
   

ต่ำสุด        24         ปี
   

เฉลี่ย    31           ปี

อายุราชการ
   

สูงสุด    24          ปี
   

ต่ำสุด       1       เดือน
   



การศึกษา
   

ปริญญาเอก   -   คน
   

ปริญญาโท 2    คน
   

ปริญญาตรี 85   คน
   

อื่น ๆ   -   คน

ระดับ
   

ระดับ 3 = 52  คน
   

ระดับ 4 = 27 คน
   

ระดับ 5 = 7  คน
   

ระดับ 6= 1  คน
   

ระดับ 7 = - คน

สถานภาพ
   

โสด     62       คน
   

สมรส       25            คน
   

อื่นๆ    -     คน

ศาสนา
   

พุทธ      87       คน
   

อิสลาม    -   คน
   

คริสต์      -      คน
   

อื่น ๆ     -

สังกัด
   

อบจ.  5    คน
   

ทม.      2       คน
   

ทต.    21    คน
   

อบต.   59     คน
   

ทน. -  คน



44  จังหวัด




   

ภาคใต้     9         คน


   

กระบี่      -       คน
   

ชุมพร     2     คน
   

ตรัง     -    คน
   

นครศรีธรรมราช   1    คน

นราธิวาส   -     คน
   

ปัตตานี    -      คน
   

พังงา       1     คน
   

พัทลุง  1  คน
   

ภูเก็ต   -    คน

ยะลา  -           คน
   

ระนอง    1       คน
   

สงขลา   2      คน
   

สตูล   1  คน
   

สุราษฎร์ธานี   -    คน

ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ   37     คน


   

กาฬสินธุ์   1    คน
   

ขอนแก่น    3    คน
   

ชัยภูมิ      1      คน
   

นครพนม  4  คน

นครราชสีมา 3   คน
   

บุรีรัมย์  5    คน
   

มหาสารคาม  3  คน
   

มุกดาหาร 1   คน
   

ยโสธร    -    คน

ร้อยเอ็ด  7  คน
   

เลย         -         คน
   

ศรีสะเกษ     7     คน
   

สกลนคร -  คน
   

สุรินทร์  1 คน

หนองคาย     -   คน
   

หนองบัวลำภู  -  คน
   

อำนาจเจริญ  -    คน
   

อุดรธานี  -  คน
   

อุบลราชธานี   1    คน

ภาคเหนือ   14    คน


   

กำแพงเพชร   -   คน
   

เชียงราย     1       คน
   

เชียงใหม่      2    คน
   

ตาก  2  คน
   

น่าน   -    คน

พะเยา        1      คน
   

พิจิตร  1    คน
   

พิษณุโลก    2     คน
   

เพชรบูรณ์  -  คน
   

แพร่    1   คน

แม่ฮ่องสอน   -    คน
   

ลำปาง     1        คน
   

ลำพูน       -         คน
   

สุโขทัย  2  คน
   

อุตรดิตถ์   1    คน

ภาคกลาง    23     คน


   

กาญจนบุรี   1     คน
   

ชัยนาท     -      คน
   

นครนายก        1       คน
   

นครปฐม  5  คน
   

นครสวรรค์    -  คน

นนทบุรี     1     คน
   

ปทุมธานี  1     คน
   

ประจวบคีรีขันธ์ 2  คน
   

พระนครศรีอยุธยา 4 คน
   

เพชรบุรี  2     คน

ราชบุรี    1        คน
   

ลพบุรี     1        คน
   

สมุทรปราการ   3      คน
   

สมุทรสงคราม  1  คน
   

สมุทรสาคร    คน

สระบุรี          -  คน
   

สิงห์บุรี  -         คน
   

สุพรรณบุรี   1     คน
   

อ่างทอง  -  คน
   

อุทัยธานี  -  คน

ภาคตะวันออก  4  คน
   

จันทบุรี 1 คน
   

ฉะเชิงเทรา 2  คน
   

ชลบุรี  1  คน
   

ปราจีนบุรี -คน
   

ระยอง   -  คน
   

ตราด   -   คน
   

สระแก้ว -  คน

                                           ทำเนียบเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น

นายสุรพล   วาณิชเสนี

ผอ.สพบ.
   

นายชลธี   ยังตรง

รอง ผอ.สพบ.
   



นายศตพงษ์  สุนทรารักษ์

รอง ผอ.สพบ.
   

นายพศิน   รัตโนดม

ผู้อำนวยการโครงการฯ
   

น.ส.อินทิรา  โพพิพัฒน์

วิทยากร

08-6306-1029
   













นางสาวรุ่งกมล  แสงเทศ

เจ้าหน้าที่โครง ฯ

08-4645-1285

ที่ตั้ง  สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น  ศูนย์คลองหนึ่ง  ซอยผาไทผาเมือง  ตำบลบางหวายใต้  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี  12120

  โทร.0-2516-8343    โทรสาร  0-2577-1954    มือถือ (ผอ.โครงการ ฯ  08-9481-3899 ) 
#21

คำพิพากษาศาลปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีการปรับเลื่อนระดับเป็นเชี่ยวชาญ รายละเอียดอ่านได้ในคำพิพากษา

โดยนายธีรเดช  นรัตถรักษา  ประธานชมรมนิติกร อปท.
เผยแพร่โดย นายสมเกียรติ  วรรณสุทธิ์  เว็บมาสเตอร์ชมรมนิติกร อปท.
ติดตามกลุ่มเฟสชมรมนิติกรได้ที่  8): https://www.facebook.com/groups/nitikon
ติดตามเพจชมรมนิติกรได้ที่  8): https://www.facebook.com/nitikongroup
ไลน์กลุ่มรวม  8):https://line.me/ti/g2/zdeRB4CITx8eO4vf_jISDtpwecLtx0PEN9Iuww?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

คลิกอ่านคำพิพากษาที่นี่  :  https://www.nitikon.com/nitikon2021/Newdatapdf/001_NEW.pdf
#22

การสมัครรับเลือกตั้ง



ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบล พร้อมทั้งหลักฐานการสมัครและค่าธรรมเนียมการสมัคร ดังนี้



หลักฐานและเอกสารประกอบการยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง

1. ใบสมัครรับเลือกตั้งตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 4/1

2. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก หรือ รูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของตนเองขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร จำนวนตามที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

4. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

5. ใบรับรองแพทย์

6. หลักฐานการศึกษา (กรณีสมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบล)

7. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี นับถึงปีที่สมัครรับเลือกตั้งเว้นแต่เป็นผู้ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ให้ทำหนังสือยืนยันการไม่ได้เสียภาษีพร้อมทั้งสาเหตุแห่งการไม่ได้เสียภาษีตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 4/2

    ทั้งนี้ ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้ง สามารถขอคัดสำเนาหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3 ปี (2561 , 2562 , 2563) ได้ที่สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง



ค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้ง

1. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 1,000 บาท

2. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2,500 บาท



ทั้งนี้ การสมัครรับเลือกตั้งโดยรู้ว่าตนเองขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการสมัครมีโทษตามมาตรา 120 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดลงสมัครรับเลือกตั้งโดยรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี



คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนจะสามารถใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้




       
  1. มีสัญชาติไทย แต่ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

  2.    
  3. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง

  4.    
  5. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง

  6.    
  7. และคุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด



ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง




       
  1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช

  2.    
  3. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

  4.    
  5. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย

  6.    
  7. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

  8.    
  9. มีลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด



หลักฐานที่ใช้แสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง




       
  • บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)

  •    
  • บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน เช่น

       - บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ

       - ใบขับขี่

       - หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)

       ฯลฯ



การเตรียมความพร้อมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องดำเนินการเตรียมพร้อมก่อนไปใช้สิทธิ ดังนี้



1. ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง



ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน

ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ศาลากลางจังหวัด หรือที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง

ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน

ตรวจสอบรายชื่อจากเอกสารที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังเจ้าบ้าน



2. การเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ



ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน

หากพบว่าตนเองหรือผู้มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริงให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นเพื่อขอเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย



การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใดที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน



เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้




       
  • - มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล

  •    
  • - เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

  •    
  • - เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

  •    
  • - เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

  •    
  • - มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร

  •    
  • - ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง

  •    
  • - มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด

  •    
  • กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว หากในวันเลือกตั้งเหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้



หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิ ดังนี้




       
  1. สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.

  2.    
  3. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

  4.    
  5. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.

  6.    
  7. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

  8.    
  9. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

       การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง



การอำนวยความสะดวกแก่คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุในการลงคะแนนเลือกตั้ง



กกต.ได้จัดให้มีการอำนวยความสะดวกในการออกเสียงลงคะแนนแก่คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุไว้เป็นพิเศษหรือจัดให้มีการช่วยเหลือในการออกเสียงลงคะแนนภายใต้การกำกับดูแลของ กปน.

ในการช่วยเหลือดังกล่าว ต้องให้บุคคลนั้นได้ออกเสียงลงคะแนนด้วยตนเองตามเจตนาของบุคคลนั้น เว้นแต่ลักษณะทางกายภาพ ทำให้ไม่สามารถทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งได้ ให้บุคคลอื่นหรือ กปน. เป็นผู้กระทำการแทน โดยความยินยอมและเป็นไปตามเจตนาของคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุนั้น ทั้งนี้ ให้ถือว่าเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ



ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง




       
  1. ตรวจสอบรายชื่อ

       ตรวจสอบรายชื่อ และลำดับที่จากบัญชีรายชื่อ ที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้ง

  2.    
  3. ยื่นหลักฐานแสดงตน

       แสดงหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้) หรือ บัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน ต่อ กปน. พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อ

  4.    
  5. รับบัตรเลือกตั้ง

       ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

  6.    
  7. ทำเครื่องหมายกากบาท

       เข้าคูหาลงคะแนนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่องทำเครื่องหมาย ดังนี้

       - บัตรเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เลือกผู้สมัครได้หนึ่งคน

       - บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลือกผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกที่แต่ละเขตเลือกตั้งนั้นพึงมี

       - หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด แล้วพับบัตรเลือกตั้ง

  8.    
  9. หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยตัวเอง

       นำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง



วลาลงคะแนนเลือกตั้ง

ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.00 น.



การกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น

ห้ามมิให้



- ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนเองเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง พยายามออกเสียงลงคะแนน หรือออกเสียงลงคะแนน

- ผู้ใดจงใจกระทำด้วยประการใด ๆ ให้บัตรเลือกตั้งที่ตนได้รับจาก กปน. ชำรุดหรือเสียหาย หรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำด้วยประการใด ๆ แก่บัตรเสียเพื่อให้เป็นบัตรที่ใช้ได้

- ผู้ใดซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการเลือกตั้ง

- ผู้ใดเล่นหรือจัดให้มีการเล่นการพนันขันต่อใด ๆ เกี่ยวกับผลของการเลือกตั้ง

- ผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร นับตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง

- ผู้ใดใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งเพื่อให้เห็นเครื่องหมายลงคะแนนในคูหาเลือกตั้ง

- ผู้ใดขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้ง ในระหว่างเวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวัน จนถึงเวลา 18.00 น. ของวันเลือกตั้ง

- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อลงคะแนนเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครใดหรืองดเว้นไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใด

- ผู้ใดกระทำการอันเป็นเท็จเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งหรือเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

- ผู้ใดจงใจทำเครื่องหมายโดยวิธีใดไว้ที่บัตรเลือกตั้ง นอกจากเครื่องหมายที่ลงคะแนน

- ผู้ใดนำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง เว้นแต่เป็นการกระทำตามหน้าที่และอำนาจ



เอกสารที่เกี่ยวข้อง



- พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20190717171153.pdf" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent">ดูรายละเอียด

- พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 https://www.ect.go.th/ewt/ewt/ect_th/download/article/article_20210909095153.pdf" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent">ดูรายละเอียด

- ระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20191224111455.pdf" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent">ดูรายละเอียด

- ระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563 (ฉบับที่ 2) https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20200130201726.pdf" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent">ดูรายละเอียด

- ระเบียบ กกต. ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563 https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20201219004713.pdf" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent">ดูรายละเอียด

- ระเบียบ กกต. ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 http://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20201219004754.pdf">ดูรายละเอียด

- คู่มือการรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20210914142543.pdf" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent">ดูรายละเอียด

- แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล https://www.ect.go.th/ect_th/news_all.php?cid=37" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent" target="_blank">ดูรายละเอียด

- คู่มือประชาชนเลือกตั้ง อบต.  https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20201027102530.pdf" target="_blank">ดูรายละเอียด

- ชุดความรู้และแผนงงานจัดการเลือกตั้ง อบต. https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20210911090035.pdf">ดูรายละเอียด

- สื่อประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง https://www.ect.go.th/ect_th/news_all.php?cid=334" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent">ดูรายละเอียด


#23


องค์การบริหารส่วนตำบล



เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อท้องถิ่นเป็นอย่างมาก มีขนาดเล็กและอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบท ซึ่งจัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อดูแลและจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล



ในปัจจุบันมีองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. จำนวน 5,300 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2563)



จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล



สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เขตเลือกตั้งละ 1 คน โดยกำหนดเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่ หมู่บ้านใดมีราษฎรไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกัน และรวมกันแล้วมีราษฎรถึง 25 คน เป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง



หาก อบต. ใดมีเขตเลือกตั้งไม่ถึง 6 เขตเลือกตั้ง (หมู่บ้าน) ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิก (ส.อบต.) จำนวน 6 คน โดย



- ถ้ามี 1 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. 6 คน

- ถ้ามี 2 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 3 คน

- ถ้ามี 3 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 2 คน

- ถ้ามี 4 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 1 คนก่อน แล้วเพิ่มให้เขตเลือกตั้งที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุด 2 เขตเลือกตั้งแรก เขตเลือกตั้งละ 1 คน

- ถ้ามี 5 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 1 คน และเพิ่มให้เขตเลือกตั้งที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุดอีก 1 คน



และกำหนดให้มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 1 คน โดยใช้เขตตำบลเป็นเขตเลือกตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปี ก็ให้ถือว่าเป็น 1 วาระและเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ ติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง



คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล



พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 49 และมาตรา 50 ประกอบพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2562 มาตรา 47 ทวิ และ 58/1 ได้กำหนดคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ดังนี้



คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง



1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

2. ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง สำหรับผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง

3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรบริหารส่วนตำบลที่สมัครรับเลือกตั้งในวันสมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

4. สำหรับผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา

ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง



1. ติดยาเสพติดให้โทษ

2. เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

3. เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

4. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 39 (1) เป็นภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช (2) อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดหรือไม่ และ (4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

5. อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิ สมัครรับเลือกตั้ง

6. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

7. เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

8. เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

9. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

10. เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิตนำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน

11. เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง

12. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

13. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

14. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

15. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

16. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

17. เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

18. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะได้รับโทษหรือไม่ โดยได้พ้นโทษหรือต้องคำพิพากษามายังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี

19. เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี มายังไม่ถึง 5 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง

20. อยู่ในระหว่างถูกจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามมาตรา 42 หรือตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

21. เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและยังไม่พ้น 5 ปี นับแต่วันที่พ้นจากการถูกเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง

22. เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

23. เคยพ้นจากตำแหน่งใด ๆ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับหรือจะกระทำกับหรือให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น โดยมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นการต่างตอบแทนหรือเอื้อประโยชน์ส่วนตน ระหว่างกัน และยังไม่พ้น 5 ปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง

24. เคยถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งใด ๆ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพราะจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ หรือมติคณะรัฐมนตรี อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงและยังไม่พ้น 5 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง

25. เคยถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งใด ๆ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพราะทอดทิ้งหรือละเลยไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่และอำนาจ หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยหน้าที่และอำนาจ หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือมีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแก่ราชการ และยังไม่พ้น 5 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง

26. ลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด



https://www.ect.go.th/ect_th/news_all.php?cid=334" style="box-sizing: border-box; text-decoration: none; color: rgb(47,47,47); background-color: transparent">จากเว็บ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง




#24
โครงการเงินกู้เศรษฐกิจชุมชน  อ่านต่ออัพเดทแล้ว

เปิดอ่านด่วนที่สุดได้ใครที่มีปัญหามาหาทางออกร่วมกัน

**************

  ผม สมเกียรติ วรรณสุทธิ์ นิติกร อบต.เมืองแหง ขออนุญาตยกเอาตัวอย่างเคสของ

อบต.ตัวเองเป็นข่าวตั้งต้นในลักษณะการเล่าสู่กันฟัง

          เริ่มต้นจากที่ผมได้เข้ามาทำงานเมื่อ 1 พย. 2547 ซึ่ง เงินกู้ตามโครงการเงินกู้

เศรษฐกิจชุมชน  เขามีการปล่อยกู้ไปในราว ปี 2543 -44 ดังนั้นเมื่อครบกำหนดสัญญา

ตามระเบียบว่าด้วยโครงการเงินกู้เศรษฐกิจชุมชน 5 ปี ก็คือ ประมาณ สิ้นเดือน กันยายน

 2549  ต้องมาค้นเรื่องเดิมซึ่งหายากมาเพราะย้ายที่ทำการอบต.ใหม่ทางส่วนการคลัง

ก็ได้นำเอาเอกสารที่เขาทำสัญญาไว้ตั้งแต่ ปี 2543 ออกมา

ปัดฝุ่น( ซึ่งพนักงานที่นี่ใหม่หมด) ส่วนการคลังได้ แจ้งทวงเงินเบื้องต้นผ่านไปทาง

สมาชิกสภา อบต. ซึ่ง ทั้งหมดมี 12 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 แสนบาท ก็ปรากฏว่า

 มีประมาณ 9 หมู่บ้านที่ไม่มีปัญหา คืนเงินมาหมด ตามสัญญาและตามวันเวลาที่กำหนด

แต่มีบางหมู่บ้านซึ่งโยกโย้ เมื่อมีปัญหา ทางคลังทำหนังสือทวงถามไป 1 ครั้ง ก็ยัง

ไม่จ่าย ทางผู้บริหารจึงให้โอนมายังผมซึ่งเป็นนิติกร ในการติดตามทวงหนี้ต่อไป

เมื่อผมรับมาก็ ทำโนติส หรือหนังสือทวงถามหนี้ไป โดยเบื้องต้น ยังไม่ขู่หนักว่า

จะฟ้อง

          - เคสหมู่บ้านแรก ทางสมาชิกผู้กู้ทำหนังสือแจ้งมาว่าโครงการเลี้ยงสุกร

เกิดภาวะขาดทุนเพราะหมูเป็นโรค ระบาดอหิวาห์ ผมกับรองนายกฯก็ออกสืบถาม

ชาวบ้าน ก็ทราบว่าหมูเกิดโรคระบาดจริง แต่ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเงินต่อนั้น

เขาก็ได้ชำระเข้ากองกลางมาหมดแล้ว แต่ผู้เก็บเงิน ไม่ยอมที่จะนำเงินมาคืน อบต.

แต่ทำหนังสือแจ้งมาขอผ่อนผัน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ผมได้แจ้งในสภาฯว่า จะมา

อ้างเหตุสุดวิสัยมิได้ เพราะการอ้างต้องให้ทางจังหวัดประกาศเป็นเขตโรคระบาด

อหิวาห์สุกร แต่นี่ไม่ได้ประกาศ (แต่ความจริงประเด็นใจรู้ว่าเขาคืนเงินมาแล้วแต่ไม่

อยากพูดประเด็นนี้ขึ้นมากลัวมีปัญหา) สรุปเคสหมู่บ้านนี้คนที่เก็บเงินก็ยอมนำเงินมาคืน

อย่างไม่มีปัญหาและท่ามกลางความโล่งใจของผม

            - เคส หมู่บ้านที่ 2 กรณีนี้ ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกู้ย่อยกันไปนั้น เขาได้แจ้งทาง

อบต.ว่าเขาคืนให้เหรัญญิก (ที่เคยเป็นอดีต สอบต.หมู่ นี้ และทำเรื่องกู้กันเองออกไป)

คือคืนมาครบทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี 2543และ 2544 นั้นเอง แต่ปรากฏว่าเหรัญญิกเก็บเงินไว้

แล้วไม่นำส่งใช้คืน อบต. โดยนำเงินนั้นไปใช้ผิดประเภท เช่นปล่อยกู้และลงทุนส่วนตัว

จนถึงกำหนดชำระ อบต. อ้างว่าไม่สามารถนำมาชำระได้ ผมทำหนังสือไป 2 -3 ฉบับ

เพื่อแจ้งว่าจะฟ้องแล้ว คนที่เดือดร้อนและที่ผมจะฟ้องมิใช่เหรัญญิกคนเดียว แต่เป็นทั้งกลุ่ม

สมาชิกที่รวมชื่อกันเป็นกรรมการมากู้เงิน แต่กรรมการเหล่านั้นไม่รู้จำทำไง เพราะเธอคนนั้น

ก็ไม่ยอมซ้ำเถียงด่าคณะกรรมการ เวลาเขาเรียกประชุมกลุ่มเพื่อชี้แจงก็ไม่ไป ผมจึงแนะนำ

คณะกรรมการ เพราะยังไม่อยากลงดอยไปฟ้องมันไกล เมารถ ผมบอกให้ไปแจ้งความที่

โรงพักเผื่อเธอจะกลัวยอมคืนให้ ก็ปรากฏว่าชาวบ้านเขาบอกผมมาว่าเธอท้าให้ไปแจ้งเลย

ไม่กลัวเอาทักษินมาก็ไม่กลัว ชาวบ้านจึงไปแจ้งความโรงพัก จนท.ตำรวจเชิญเธอมา

พูดคุยกันไกล่เกลี่ยที่โรงพักก่อน และเรียกผมไปด้วย ดูท่าทางเธอจะไม่กลัวและไม่สนใครทั้งสิ้น

ปรากฏว่าเธอยอมอ่อนข้อให้หน่อย บอกจะใชัอีก3 วัน พร้อมดอก ลงบันทึกประจำวัน

ลงลายมือชื่อกันทั้งหมด และผมกับ สารวัตรสอบสวนนั้นก็ลงเป็นพยาน

         จนแล้วจนรอดวันศุกร์ก็แล้วเธอไม่มาโทรมาอ้างขอเลื่อน บอกว่าคนที่กู้ไปยังไม่มาคืน

ผมทำหนังสือไปที่กลุ่มคณะกรรมการอีกรอบ คราวนี้คณะกรรมการไม่ยอมจะไปแจ้งความอีก

เพราะชาวบ้านไม่ค่อยอยากลงดอยไปขึ้นโรงขึ้นศาลเท่าไหร่ลงดอยไกลเป็นร้อยๆกิโล

เสียเวลาทำมาหากินทั้งๆที่เขาไม่ผิด เพราะเขาใช้เงินมาแล้ว จะไปแจ้งทางอาญายักยอกทรัพย์

เพราะผมแนะนำไป เพื่อให้เธอคนนั้นกลัวยอมคืนแต่โดยดี ปรากฏว่าผมลืมดูอายุความ

เจ้าหน้าที่แจ้งผมมาว่า อายุความยักยอกทรัพย์ 3 เดือนนับจากวันที่รู้ความผิด ซึ่งชาวบ้านคืนเงินมานั้น

ตั้งแต่ ปี 43 -44 ซึ่งเขาก็รู้ว่าเธอคนนี้เอาเงินไปแล้วไม่คืน อบต. ปล่อยเวลาล่วงเลยเกิน 3 เดือน

จึงฟ้องอาญามิได้ ฟ้องเรียกได้ทางแพ่ง วันนี้เธออ่อนข้อให้อีกยอมจ่าย 5 หมื่นบาทก่อน

และนัดว่าสิ้นปี 49 จะมาจ่ายที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย ชาวบ้านก็พอใจ ไม่แจ้งความไว้วันนั้น

        จากนั้นถึงสิ้นปี 49 รอแล้วไม่มาอีก ผมทำหนังสือทวงถามไปคณะกรรมการอีกครั้ง

คราวนี้ชาวบ้านสุดจะทน ลงไปฟ้องข้างล่างเป็นฟ้อง  แต่ขอไปแจ้งความตำรวจไว้อีกก่อน

ซึ่งคราวนี้ผมบอกสภาฯว่าจะฟ้องแล้วจริงๆ ให้สมาชิกไปแจ้งอีกครั้งสุดท้าย คราวนี้เธอก็เฉยอีก

2-3 วัน ผมเตรียมขยับตัวที่จะลงดอยแล้ว ปรากฏว่าก็โชคดีอีกที่ หลานของเธอ กลับมาจากกรุงเทพฯโดย

เขาจบนิติศาสตร์มาด้วย เขาก็แนะนำน้าเขาว่าถ้าเรื่องขึ้นโรงขึ้นศาลมา มันไม่ดีให้ไปจ่ายเสีย

(เพราะแฟนเธอคนนี้ก็เป็นถึงอาจารย์) เธอยอมฟังและยอมมาคืนเงินพร้อมดอกที่เหลือแต่โดยดี เฮ้อ! โล่งอก

        - เคสกรณี หมู่บ้านที่ 3 ก็ค้างไม่เยอะทยอยจ่ายมาเรื่อยๆ โดยสมาชิกกลุ่มกู้เขาจ่ายเป็นคนๆ

ไม่รวมมาจ่าย แต่การรับผิดชอบต้องรับเป็นกลุ่ม ผมก็เห็นใจคนที่ใช้มาแล้วส่วนของตัวเอง

เอาเข้าสภาฯก็แจ้งให้ทำหนังสือเป็นรายตัวที่ค้างกู้จากกลุ่มไปเท่าไหร่ทวงเท่านั้น

มีปัญหาบางคน เพราะชาวบ้านเป็นลีซอ ย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย สุดท้ายค้างประมาณ 9 พันกว่าบาทผม

แนะนำสมาชิก อบต. ให้ออกมาก่อนเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาแล้วค่อยไปทวงกับคนที่ค้างเอง

โดยให้เขาทำเป็นสัญญาเงินกู้ เพื่อที่ว่าจ่ายมาครบเสร็จจะได้กู้ออกไปใหม่ได้ จากนั้นสมาชิกก็ทำตามที่ผม

แนะนำ ก็รอดตัวไปอีก 1 หมู่บ้าน

        - เคสหมู่บ้านสุดท้าย ค้างเยอะเหมือนกัน 8 หมื่นบาท เพราะคนที่กู้ไปเขามาคืนส่วนตัว

ทำหนังสือไป ประมาณ 6-7 ฉบับยังนิ่งอยู่เนื่องจากหลายเหตุผล เช่น สมาชิกไม่อธิบายให้

ลูกบ้านเข้าใจ ปัญหาเครือญาติในหมู่บ้านลีซอนั้นฯลฯ จนเตือนฉบับสุดท้ายจริงๆ กลุ่มประธาน

กับสมาชิกขอเข้ามาคุยที่อบต. ผมกับนายกอธิบายให้เขาเข้าใจ เขาบอกว่าเขาขาดทุนจากการ

ปลูกกะหล่ำแต่นี่ให้โอกาส 5 ปี แล้ว อย่างไรแล้วให้เขาเอามาคืนก่อน เพื่อกู้ไปใหม่ ตัดปัญหาการขึ้นศาลเสีย

เวลาทำมาหากินสิ้นเปลืองเวลา ค่าเดินทาง  ชาวบ้านก็บอกว่าสมาชิก อบต. ที่ส่งหนังสือสักแต่ว่า

ส่งๆ ไม่อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ ตรงนี้ผมก็โดนโทรศัพท์ข่มขู่  แถมวันที่ลงไปประชุมสัมมนา

1 ทศวรรษ พนักงานส่วนตำบล ขณะที่นั่งรถตู้ลงจากดอยก็ต้องผ่านหมู่บ้านลีซอนี้ มีชาย

ฉกรรจ์คนหนึ่งโบกรถตู้ ซึ่งดีที่ลุงคนขับ ขับเลี่ยงไม่จอด เพราะมีเคสที่วัยรุ่นบ้านนี้ดัก

รถตู้และตบหน้าคนขับ  ผมเสียวสันหลังวาบ  ถึงที่จอดข้างล่างดอยผมถามลุงคนขับว่าปกติ

มีคนมาโบกไหม ลุงบอกไม่มี เพราะรถตู้นี้เขาจะจองและขึ้นเต็มที่ต้นทางแล้ว

ไม่จอดรับรายทาง ผมรีบประสานนายกฯ จนท.ตำรวจไว้ก่อน(อาจตื่นตูมมาก) ก็สุดท้าย

ประธานกลุ่มลูกสมาชิกเข้าใจยอมมาจ่ายแต่โดยดี เหมือนยกภูเขาออกจากอกอันน้อยๆนี้

             ก็มีอีกหลายเคสหลายกรณีที่เพื่อๆโทรมาเล่าให้ฟัง เช่น คนกู้เป็นญาตินายก

พอหนังสือบันทึกข้อความขึ้นแจ้งนายกทราบว่าต้องดำเนินการอย่างนี้นะ ก็ปรากฏว่าเข้าลิ้นชักหายแซ๊บ

           นี่ก็เป็น กรณีของผมที่อยากเล่าให้ฟังความจริงท้องเรื่องยาวกว่านี้แต่สรุปมาสั้นๆย่อที่สุดแล้ว

ฝ่าฟันการเรียกมาคุยกันหลายๆบ้าน ฯลฯตอนนี้ทางส่วนการคลังก็ปล่อยกู้คืนไปแล้วทุกหมู่บ้าน

โดยทำสัญญารัดกุมกว่าเดิม  และดูเอกสารแน่นกว่าเดิมครับ

            ใครมีเคสใดปัญหาไหนมาเล่าสู่กันฟังเพื่อแก้ไขปัญหาให้กันครับผม



                                                                รักและเคารพทุกท่าน

                                                                    14/03/2550



           ให้หน้าข่าวและกระทู้นี้เป็นกระทู้เดียวที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น/กรณีมีปัญหาหรือ

แนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ของโครงการเงินกู้เศรษฐกิจชุมชน

http://www.nitikon.com/new008.htm" rel="noopener noreferrer" target="_blank">http://www.nitikon.com/nitikon2021/new008.htm

http://www.nitikon.com/mainpage/index.php?topic=4.0" rel="noopener noreferrer" target="_blank">http://www.nitikon.com/mainpage/index.php?topic=4.0

#26
ครูไพ สกาวเดือน กินร ครูชำนาญการ. ทต.สวนกล้วย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
#27
วันนี้ (11 มิ.ย. 2564) เวลา 09.00 น. นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 6/2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบ Zoom โดยมีวาระสำคัญ ประกอบด้วย ความก้าวหน้าการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน, แนวทางการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสาม, ความปลอดภัยของผู้เรียน และข้อจำกัดในการบริหารงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจสำคัญในการพิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและเสนอแนะในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ และประกาศที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสำนักงาน ไปจนถึงให้ความเห็นหรือคำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่ รมว. ศธ. มอบหมาย http://www.dla.go.th/servlet/ActivityServlet?_mode=detail&id=1911
#29
ครูแจ็คกี้ ฤทัยรัตน์ พระตลับ ตำแหน่ง ครู อบต.หนองกุงธนสาร อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น Jacky Ruethairat Phratalab Nitichokchai
#30
จาก ส.อบต.(เลขานุการสภา)ก้าวสู่หัวหน้าสำนักปลัด อบต.คงพอแค่นี้อีกไม่กี่ปีก็เกษียณราชการแล้วการศึกษาคงหยุดไว้ที่ รป.ม.ครับผม เสงี่ยม คารมย์ หน.สป.อบต.นาดง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ