• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - admin

#185

ไขข้อข้องใจ พนง.จ้างตามภารกิจกับพนง.จ้างทั่วไปมีสิทธิ์ใส่ชุดกากีและเครื่องหมายได้หรือไม่
  หลังจากที่เวบมาสเตอร์ได้รับการสอบถามเข้ามามากมายจะผู้ชมทางบ้าน  สอบถามมาว่า กระผม ดิฉัน เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป พนักงานจ้างเหมา มีสิทธิ์ใส่ชุดสีกากี เครื่องหมายทุกชนิด อินธนู บนบ่า สวมเครื่องแบบชุดปกติขาวได้หรือไม่อย่างไร นั้น....
   ผมก็ได้ทำการค้นหา ข้อมูลและระเบียบที่อ้างอิงจากหลายๆที่ (ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านมีข้อมูลที่ถูกต้องหรือดีกว่า ก็ช่วยแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยนะครับ)
   ในวรรคนี้ผมจะเล่าในส่วนความเห็นของผมก่อน วรรคถัดไปจะอ้างอิงระเบียบกฎหมายหนังสือสั่งการ
หากไม่ถูกต้องให้ท่านหาข้อมูลที่ถูกต้องมาแย้งได้ ทางวิชาการ ไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวหรือมาเกรียนนะครับ / ความเห็นส่วนตัวผม พนักงานจ้างฯ สามารถใส่เครื่องแบบสีกากีได้ และให้เป็นไปตามที่ หน่วยงานองค์กรนั้นๆ กำหนด ส่วนเครื่องหมาย ป้ายชื่อ เครื่องราชย์ ป้ายสังกัด อปท. ปีกต่างๆที่มีสิทธิ์ติด สามารถติดได้ ส่วนอินธนูบนบ่า ไม่สามารถติดได้ /ทั่วประเทศส่วนใหญ่จะไม่ติดอินธนู / อันนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวของผม  ทีนี้เราจะมาดู ระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องกันในวรรคถัดไป
       วรรคนี้เราจะไปค้นหากฎหมายมาอ้างอิงกัน  จะเห็นได้ว่า หลังจากที่ผมไปค้นหาระเบียบ กฎหมาย หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องแล้ว ไม่มีระเบียบหนังสือสั่งการใด ได้กำหนดรูปแบบ เครื่องแบบ เครื่องหมาย ของพนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป หรือพนักงานจ้างรายเดือน หรือที่เรียกกันว่าจ้างเหมาบริการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / มีเพียง ประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ของจังหวัดต่างๆที่ออกไว้ ยกตัวอย่าง ในข้อ 10 ของ ก อบต.จังหวัดนครปฐม http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER20/DRAWER090/GENERAL/DATA0000/00000073.PDF  ซึ่งเขาก็กำหนดให้หน่วยงานเป็นผู้ออกระเบียบกำหนดเครื่องแบบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมก็มองว่า คงไม่สามารถออกระเบียบของหน่วยงานมา ให้คล้ายเหมือน หรือใช้ของข้าราชการโดยอนุโลม ซึ่งจะเป็นการทำให้ แต่งกายเลียนแบบ โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็จะเป็นความผิด/ และมีหลายคน หลายที่ เข้าใจผิด คิดว่า พนักงานจ้างดังกล่าว มีสิทธิ์ติดอินธนูเช่นกัน แต่อันที่ติดก็ไม่ได้เหมือนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น โดยอินธนูบนบ่านั้น ตรงก้นหอย จะขมวดแตกต่างกัน ถ้าเป็นของพนักงานจ้างจะเป็นกลมๆเลย แต่ของข้าราชการ จะเป็นไขว้กัน / ในส่วนนี้ ผมมองว่า อาจจะเข้าใจผิด ไม่มีกฎหมายใด กำหนดให้ พนักงานจ้างฯท้องถิ่น ใช้ ระเบียบของ พนักงานราชการหรือลูกจ้างประจำในส่วนของ ข้าราชการ กพ ที่เขามีนั้น  /เพราะเครื่องหมาย เช่นว่านั้น จะเป็นเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ อ้างอิง ตัวอย่างระเบียบ หรือลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง http://www.thaiofficer.com/article/13/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3 และน่าจะเป็นของส่วน สพฐ.https://www.kroobannok.com/73351  https://www.gotoknow.org/posts/299311
      อย่างไรแล้ว เมื่อไม่มีระเบียบกฎหมายได้กำหนดไว้ หรือให้ใช้ระเบียบไหนโดยอนุโลม แต่ตามที่บอกข้างต้นว่า กฎหมายได้เปิดช่องให้ องค์กรต่างๆที่พนักงานจ้างฯสังกัดนั้น จัดทำเป็นระเบียบ ซึ่งตรงจุดนี้ ผมก็ไม่กล้าฟันธงลงไปว่า ทำได้แค่ไหนอย่างไร ถูกต้องหรือไม่ แต่ก็คงต้องดูตามท้องถิ่นใหญ่ๆ หรือส่วนใหญ่ทำกัน  / คือ ทำไว้เป็นระเบียบแต่ละที่ไว้จะดีกว่า เมื่อเกิดข้อซักถาม จะได้ตอบได้ว่า ก็ผู้บังคับบัญชาออกระเบียบ สั่งการ เราใส่ชุดตามที่แจ้งไว้แล้ว ไม่ได้มั่วซั่วที่จะใส่นะ อันนี้สามารถใช้อ้างอิงได้เป็นต้น  ตัวอย่าง http://www.kkpao.go.th/dep/personnel/wp-content/uploads/2016/12/uniform2.pdf
อันนี้ของ ทต นาสาร https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwjF7sqA6sjjAhXn63MBHaeFB9IQFjAAegQIAxAC&url=https%3A%2F%2Fwww.nasan.go.th%2Fdatacenter%2Fdoc_download%2Fa_150115_135531.docx&usg=AOvVaw2ZTvpxli_Z1Kr7V6SH_Cux
      ซึ่งการตอบคำถามของกรมส่งเสริมก็คงจะคล้ายๆผม หรือผมคงไปคล้ายที่เขาตอบ
   การใส่ชุดสีกากีของพนักงานจ้างตามภารกิจ
          สอบถามหน่วยงาน :สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

          "การแต่งกายของพนักงานจ้างตามภารกิจในแต่ละ อบต.หรือเทศบาลตำบลต่างในทุกจังหวัด บางที่ก็ให้ใส่ชุดสีกากีได้แต่บางที่ก็ไม่ให้ใส่มันยังไงกันแน่ ทำไมไม่ทำให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันคือให้ใส่ก็ใส่ไปเลย ถ้าไม่ให้ใส่ก็ไม่ใส่ เพราะว่าบางทีไปงานรัฐพิธีต่าง ๆ เห็นเพื่อนที่อยู่อีก อบต. เขาใส่กัน และเขาก็ทักว่าทำไมไม่ใส่ชุดสีกากีละ (ชุดข้าราชการค่ะ) เราก็บอกว่าไม่มีและไม่ได้เป็นข้าราชการจะใส่ได้อย่างไร เขาบอกว่าที่ อบต.เขามีมติให้ใส่และยังงี้จะใส่ได้หรือไม่ แล้วทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรมีหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทุกจังหวัดทราบว่าให้ใส่หรือไม่"

คำตอบจากเจ้าหน้าที่
   "เรื่องการแต่งกายของพนักงานจ้างตามระเบียบหลักเกณฑ์กำหนดให้เป็นอำนาจของ อปท.ในการกำหนด เช่น อาจจะกำหนดเป็นชุดสากลนิยมประจำถิ่น หรือชุดสุภาพที่เหมาะสมก็ได้ ครับ"

     โดย สบม. สน.บค.

      มีบางคนค้านหรือบอกว่า ระเบียบการแต่งกายของพนักงานจ้างฯให้นำระเบียบการแต่งกายของพนักงานราชการมาใช้โดยอนุโลมครับ / ผมก็พยายามค้นหาข้อความระเบียบกฎหมายที่บอกนั้น ก็ยังไม่เห็นมี หรือผมหาไม่เจอ ใครเจอก็ทักสะกิดมาด้วย
     อย่าลืมนะครับลูกจ้างประจำมิใช้พนักงานจ้างฯนะครับ เขามีระเบียบเครื่องแบบเอาไว้เฉพาะอยู่

    สรุปทิ้งท้าย ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่มาตั้งบทความนี้ ก็เพราะมีคนถามมาสงสัย มิได้มีเจตนาอื่นใด มิได้ต้องการให้องค์กรที่ทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน ต้องมาคิดแบ่งชั้น วรรณะ ทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันหมด เพียงแต่ สิ่งใด ที่มีกฎหมายรองรับไว้ ก็ต้องหามาอ้างอิง เพื่อให้เกิดความถูกต้องในแง่กฎหมาย การทำงานที่ดีนั้น ไม่ขึ้นอยู่กับชุด ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง ข้าราชการหลายๆคน ไม่อยากใส่ชุดกากี บางครั้งต้องออกแดด ลุย ฝน ฝุ่นโคลน ชุดลุยๆ  ดังนั้นฝากทิ้งท้าย คนจะทำงานดีหรือไม่ ดูที่ผลงาน การกระทำ จิตใจ  ไม่ได้อยู่ที่ชุดครับ  บางคนชัดโก้หรู ติดเครื่องหมายเต็มอก ชี้ลูกศรให้ไปดูต่อที่ข้างหลัง แต่ทำงานไม่ได้เรื่องก็ถมไป บางคนมีชุด แต่คอรัปชั่น ก็ ..... นะ
      ขอบคุณที่ติดตาม กดไลค์ แชร์ด้วยจ้า



จั่วหัวไว้ก่อนเดี๋ยวมาพิมม์ต่อแป็บ รีเฟชอ่านเรื่อยๆผมกำลังพิมม์
#186

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดเผยว่า คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ได้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และได้มีประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง การขึ้นบัญชีและยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 นั้น จากการบรรจุแต่งตั้งไปแล้ว จำนวน 12 ครั้ง ปรากฏว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้มีการขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งต่างๆ ของแต่ละกลุ่มภาค/เขต ประกอบกับบางตำแหน่งที่ อปท. ขอใช้บัญชีเป็นตำแหน่งที่บัญชีผู้สอบได้ในกลุ่มภาค/เขตนั้นได้รับการบรรจุแต่งตั้งจนหมดบัญชีแล้ว กรมฯ จึงขอเรียกผู้สอบแข่งขันได้แต่ละตำแหน่ง ตามลำดับที่สอบได้ของแต่ละกลุ่มภาค/เขต มารายงานตัว เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นและเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสงค์จะไปบรรจุแต่งตั้ง ดังนี้

1. บรรจุในตำแหน่งที่สอบได้ และกลุ่มภาค/เขตที่ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้
2. บรรจุในตำแหน่งประเภทเดียวกันในตำแหน่งเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบได้
3. บรรจุในตำแหน่งประเภทและระดับต่ำกว่าในตำแหน่งเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบได้

โดยกำหนดให้มารายงานตัวในวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ณ หอประชุมอนุสรณ์ 100 ปี มหาดไทย สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สำหรับรายละเอียดตำแหน่งและลำดับที่เรียกรายงานตัว กำหนดวัน เวลา สถานที่มารายงานตัวเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 13 เป็นไปตาม "บัญชีเรียกมารายงานตัวเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 13 " "บัญชีเรียกมารายงานตัวเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นตำแหน่งเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบได้" และ "บัญชีเรียกมารายงานตัวเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งประเภทและระดับต่ำกว่าที่สอบได้" ซึ่งสามารถเข้าตรวจสอบรายชื่อได้ที่ www.dla.go.th

อธิบดี สถ. กล่าวว่า ขอให้ผู้สอบแข่งขันในตำแหน่งและลำดับตามบัญชีเรียกมารายงานตัวดังกล่าว ได้มารายงานตัวตาม วัน เวลา และสถานที่ตามที่กำหนด หากไม่มารายงานตัวตามกำหนดดังกล่าว จะถือว่าผู้สอบแข่งขันได้สละสิทธิ์ โดยไม่ประสงค์จะรับการบรรจุเข้ารับราชการตามที่สอบได้ (จะถูกยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้นั้นในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้) โดยผู้ที่ได้รับการเรียกให้มารายงานตัวเพื่อบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบได้ หรือในตำแหน่งประเภทระดับต่ำกว่าที่สอบได้ ให้นำคุณวุฒิการศึกษาที่ใช้ในการสมัครสอบแข่งขัน ซึ่งเป็นสาขาวิชาหรือทางที่ตรงกันกับตำแหน่งที่จะบรรจุแต่งตั้งนั้น มาแสดงในวันรายงานตัวด้วย และหากไม่ประสงค์จะรับการบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งดังกล่าว (จะยังได้รับการขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในลำดับ ตำแหน่ง และกลุ่มภาค/เขตที่สอบแข่งขันได้เช่นเดิม)

และผู้ที่ได้รับการเรียกมารายงานตัวเพื่อบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งประเภทและระดับต่ำกว่าที่สอบได้ (ในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ) ให้นำหลักฐานการศึกษาที่มีการศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์จากหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่ใช้เวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง มาแสดงในวันรายงานตัวด้วยและหากไม่ประสงค์จะรับการบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งดังกล่าว (จะยังได้รับการขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในลำดับ ตำแหน่ง และกลุ่มภาค/เขตที่สอบแข่งขันได้เช่นเดิม)

ในวันที่มารายงานตัวนั้น ขอให้ผู้สอบแข่งขันได้แต่งกายชุดสุภาพ และให้นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาแสดงตนเพื่อรายงานตัวด้วย อธิบดี สถ. กล่าว

เครดิต เจ้าของข่าวคือ Gnews
https://gnews.apps.go.th/news?news=43675&fbclid=IwAR3lDoQ4jh9_JlAWkt-7GIz6bzL2w1f7rNtFkGW6O8nEwM_GJUCjlExUpOI
#187


ชัดเจนขึ้น เรื่องค่าตอบแทน

หนังสือหารือ....นี้ จุด PEAK สุด ของหนังสือหารือ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาฯ ได้ตอบข้อหารือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัยนั้น.....
สรุปได้ว่า.....

1️⃣ ..........ผู้ได้รับมอบหมายแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ ถ้าได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งตามตำแหน่งนั้นๆ ถ้าเป็นคนปฏิบัติงาน ปฏิบัติหน้าที่ตรงตามสายงานอาชีพ และมีคุณสมบัติ ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมที่กรมบัญชีกลางจัด และมีสิทธิ์ได้รับเงินเพิ่ม คนกลุ่มนั้นไม่ได้รับค่าตอบแทนเมื่อได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งให้ตรวจรับพัสดุ แต่ถ้าเป็นคนอื่นกลุ่มอื่นมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน

2️⃣ .........รายชื่อคณะกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่ตาม ว 85 จะเป็นใครก็ตามไม่มีชั้นวรรณะ ตำแหน่งอะไร จบอะไรมา ไม่ต้องเอามาตรฐานตำแหน่งมาวัด มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนหมด

ดังนั้น พอสรุปได้ว่าเจตนา ของ พรบ.ระเบียบฯ ตลอดจน ว 85 มีเจตนาให้คนที่ทำหน้าที่ ในการจัดซื้อจัดจ้างและบริการพัสดุภาครัฐ ได้รับค่าตอบแทนอย่างถ้วนทั่วทุกตัวคน แต่ไม่ซ้ำซ้อนคะ

ซึ่งแน่นอนว่า อปท อื่น หน่วยงานอื่นเทียบเคียงกรณีนี้ได้ และเก็บไว้ตอบหน่วยตรวจสอบได้ด้วยคะ

#188


ดาวน์โหลดหนังสือที่ลิ้งค์
http://www.nitikon.com/Newdatapdf/deekabegmonney.pdf


รบกวนกดไลค์ กดแชร์ ปุ่มด้านล่างนี้ ให้ด้วยนะครับ ถ้าข้อมูลเป็นประโยชน์ ขอบคุณครับ
#190
แก้ไขไฟล์ Post.template.php ที่อยู่ใน Themes/default/Post.template.php

// Now show the subject box for this post.
   echo '
      <dt>
         <span', isset($context['post_error']['no_subject']) ? ' class="error"' : '', ' id="caption_subject">', $txt['subject'], ':</span>
      </dt>
      <dd>
         <input type="text" name="subject"', $context['subject'] == '' ? '' : ' value="' . $context['subject'] . '"', ' tabindex="', $context['tabindex']++, '" size="80" maxlength="80" class="input_text" />
      </dd>
      <dt class="clear_left">
         ', $txt['message_icon'], ':
      </dt>
      <dd>

ลองแก้ maxlength จาก 80 เป็น 200 ดูนะครับ
#191

มีเคสกรณี มีผู้โทรศัพท์มาสอบถามเวบมาสเตอร์ เกี่ยวกับ ใน อบต.ของเขา ว่าได้มีข้าราชการในองค์กร ในสำนักงานนั้นทำเอกสารขอเบิกค่าเดินทาง เป็นแบบขอใช้รถยนต์ส่วนตัวไปราชการ ซึ่ง เบิกได้ตามเลทที่กำหนดไว้  / แต่บุคคลคนนั้น พอถึงเวลาเดินทางจริง กลับเดินทางด้วยเครื่องบิน /ซึ่งเมื่อเทียบดูแล้ว ค่าเครื่องบินไปกลับ  อาจมีราคา ที่น้อยกว่า เมื่อเบิกด้วยการคำนวนระยะทางคูณด้วยอัตราที่จะได้ถ้าเบิกแบบใช้รถยนต์ส่วนตัว/ กรณี ดังกล่าวนี้ คนที่กระทำ มีความผิดหรือไม่อย่างไร
    ผมเองก็ได้ตอบไปว่า
- กรณีดังกล่าวนี้ จะเกิดมีขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ มีคนรู้เห็นและร้องเรียนไป จึงจะทำให้การตรวจสอบเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีใครรู้เห็น //คนทำรู้เห็นเพียงคนเดียวหรือคนสนิทใกล้ชิด  ที่ไม่ได้มีการร้องเรียน เรื่องก็ คง จะเงียบและจบไป  มีเพียงผีสางเทวดา เท่านั้นที่รู้ ดังนั้น  ถ้าฝ่ายตรวจสอบ หรือผู้มีหน้าที่ ถ้ารู้ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎระเบียบ ต่อไป  แต่ถ้าไม่รู้ก็ถือว่า โชคดี  จบไป ...( แต่ก็เป็นบาปกรรม นะ )
- เมื่อรู้แล้ว การดำเนินการ ในความผิดนี้ ผมก็ตอบว่า มี สามส่วน คือ อาญา 157 กระทำการโดยมิชอบในหน้าที่ทุจริตเบียดบัง / ความผิดทางวินัย / และความผิดทางละเมิด
    โทษทุกอย่างทั้งสาม ก็ต้องอยู่ที่ การสอบสวน กระบวนการต่างๆ  เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตัวบทกฏหมายของผู้ดำเนินการ  / ในส่วนความเห็นของเว็บมาสเตอร์มองว่า ถ้าการกระทำดังกล่าว มีมูลจริง และทำ ผิดดังกล่าวจริง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอ้างได้ //ผมก็ก็ฟันธงได้ว่า  ทั้งสามอย่าง ต้องได้รับการลงโทษ คือ ผิดอาญา มีโทษทางอาญาตามที่ได้บัญญัติไว้  มีโทษทางวินัย ตามฐานความผิด .. และตามหนังสือ มติคณะรัฐมนตรี โทษก็ถึงกับไล่ออกในกรณีทุจริต  ไล่ออกสถานเดียว //สุดท้ายหนี้ละเมิด  เมื่อมีความผิด ก็ต้องดูที่คณะกรรมการสอบละเมิด  ว่าก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการไหม และเขาควรคืนเต็มจำนวนหรือ ส่วนต่าง อันนี้ก็ลุ้นเอาที่คณะกรรมการสอบละเมิด  //
      ข้อแก้ตัวยอดฮิต  และระมัดระวัง  ไม่ได้มาชี้ช่อง เพราะเจตนาจริงๆ คนอื่นไม่รู้แต่ตัวเองรู้ดีและจะต้องรับโทษในการกระทำนั้น บางคนอาจอ้างหรือเป็นจริงก็ได้ เช่น ทำเรื่องเบิกแบบเอารถยนต์ส่วนตัวไป  แต่พอถึงเวลาจะเดินทาง รถเกิดเสีย ไม่ใช้เล็กน้อยเช่นยางรั่ว คงต้องดูเหตุผลที่น่ารับฟังได้จริงๆ  เมื่อสุดวิสัยรถไปไม่ได้ก็จำเป็นต้องนั่งเครื่องไป  ก็ต้องมาพิจารณาดูแหละว่า กลับมาแล้ว ควรเบิกตามจริง หรือ จะยังคงเบิกเท็จนั้นอยู่ต่อไป  การสืบหาพยานหลักฐาน เขาก็สามารถ ไปขอ หลักฐานการเดินทางที่สายการบินได้ และอื่นๆเป็นต้น
   สรุป สุดท้ายเว็บมาสเตอร์ ขอเตือนว่า ทุกอย่างควรทำจริง แบบซื่อบริสุทธิ์ แล้วท่านจะรอด
   จบข่าว

ฝากกดไลค์ ที่ปุ่มด้านล่างด้วย และแชร์วนไป
#194

สมาคมข้าราชการท้องถิ่นฯ ร้องผู้ตรวจการฯ สอบการเทียบโอนข้าราชการไม่เท่าเทียม เสนอทำบัญชีเทียบตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น ยึดหลักความเสมอภาค

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 59 ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายพิพัฒน์ วรสิทธิดำรง นายกสมาคมข้าราชการส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีการเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมี นายวทัญญู ทิพยมณฑา ผู้อำนวยการสำนักสอบสวน 1 เป็นผู้รับเรื่อง
         
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า กรณี คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ได้มีมติเห็นชอบให้เทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่ง ท้องถิ่นจังหวัด (อำนวยการสูง) สามารถเทียบเท่ากับตำแหน่ง ปลัดเทศบาล (บริหารงานท้องถิ่น ระดับสูง) จากนั้นคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล จ.นครปฐม และคณะกรรมการพนักงานเทศบาล จ.สงขลา ได้มีมติรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญสายวิชาการและสายงานอำนวยการ มาดำรงตำแหน่งสายงานบริหารนั้น ข้าราชการท้องถิ่นทั่วประเทศได้ร้องขอให้ตรวจสอบการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.), ก.ท. และ อ.ก.พ.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการเทียบตำแหน่งอำนวยการสูงไปสู่หน่วยงาน ซึ่งเป็นราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภา คก็ย่อมเทียบได้ในระดับผู้อำนวยการสูงเท่ากัน แต่เมื่อมาเทียบโอนไปราชการส่วนท้องถิ่น กลับเทียบได้ในระดับบริหารงานท้องถิ่น ระดับสูง เป็นการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเหมือนกัน
         
นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า สมาคมฯ จึงร้องต่อผู้ตรวจการฯ พิจารณาดำเนินการขอให้ยกเลิกมติการเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่งอำนวยการสูงกับบริหารงานท้องถิ่น ระดับสูง ยกเลิกมติการรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล จ.นครปฐม และเทศบาล จ.สงขลา พร้อมทั้งให้ ก.พ. ยกเลิกหนังสือการเทียบตำแหน่งระหว่างข้าราชการพลเรือนสามัญกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น และยกเลิกหนังสือการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนพิจารณาการเทียบตำแหน่ง โดยเสนอให้ ก.ท. คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.) และคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการจัดทำบัญชีเทียบตำแหน่งระหว่างข้าราชการส่วนท้องถิ่นทุกประเภท กับข้าราชการประเภทอื่น โดยให้ยึดหลักความเสมอภาค หลักธรรมาภิบาล พร้อมทั้งระงับการโอนข้าราชการประเภทอื่น เพื่อมาแต่งตั้งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นประเภทบริหารและอำนวยการไว้ก่อน

https://www.thairath.co.th/content/763826?fbclid=IwAR1LmZteYxIbhGNqiUPRZYck0b_pf5dN8wv4ef0KD5TNfZxhA8aWz4VHuT8
#195




  บทที่ ๔
                               วินัยท้องถิ่น*

          จากนี้ไปจะเรียกขาน ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตำบล และพนักงานสุขาภิบาล รวมกันว่า "ข้าราชการส่วนท้องถิ่น" และในบทนี้จะแบ่งวินัยของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ออกเป็น ๒ ยุค คือ วินัยยุคเริ่มแรก ๑ และวินัยยุคปัจจุบัน ๑

๔.๑    วินัยยุคเริ่มแรก
          นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

อ่านต่อคลิกที่นี่  http://www.nitikon.com/Newdatapdf/3.pdf
#196




บทที่ ๒
จุดมุ่งหมาย*
๒.๑    คำแปลของวินัย
          "วินัย" แปลตามศัพท์ว่า การกำจัด, การเลิกละ, ข้อนำไปให้วิเศษ หรือ ข้อนำไปให้ต่าง
๒.๒    ความหมายของวินัย       
           มี ๒ ประการ คือ
           (๑) ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ
           (๒) การควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
          อธิบาย
          (๑) ได้แก่ การประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนซึ่งทางราชการกำหนดให้เป็น "ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ" โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ กล่าวคือ ต้องประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบของ "วินัยและการรักษาวินัย" ที่เป็นกฎกติกาของสังคมราชการ
          (๒) ได้แก่ ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่า ผู้นั้นสามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎกติกาของ

อ่านต่อคลิกที่นี่   http://www.nitikon.com/Newdatapdf/2.pdf
#197




    กล่าวนำ

          การสอนครั้งนี้เป็นวิทยาทาน เพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน และ "เสริมความรู้" ที่พึงได้รับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาหลักการเป็นข้อมูลที่ยุติแล้ว (pure knowledge) ไร้การวิพากษ์วิจารณ์ หรือให้ความเห็นใด ๆ อันอาจทำให้ผู้เรียนสับสน หากจำเป็นจะหมายเหตุไว้ เมื่อนำไปใช้ขอได้ตรวจสอบกับข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ฯลฯ ที่อ้างอิงอีกครั้ง
          อนุญาตให้นำเนื้อหาที่สอนทั้งหมดไปเผยแพร่โดยไม่แต่งเติม ตัดต่อ หรือดำเนินการทางการค้าใด ๆ ถ้าพบข้อบกพร่องหรือสงสัย โปรดติดต่อผู้สอนทางห้อง LINE นี้โดยตรง

อ่านต่อคลิกที่นี่  http://www.nitikon.com/Newdatapdf/1.pdf
#199
ที่ตั้งไฟล์   
Themes/โฟลเดอร์เทมเพลทของท่าน เช่น Themes/mythem/ (ย้ำว่าไม่ใช่ Themes/default/ นะครับ)

1. index.template.php
ไฟล์ที่เป็นโครงสร้างหลักของธีม ประกอบด้วย Header และ Footer
Header และFooter ในไฟล์นี้จะเป็นเหมือนกันทุกๆหน้า จากไฟล์ตัวนี้

2. BoardIndex.template.php
  แสดงหมวดหมู่ของกระทู้ทั้งหมด ซึ่งจะแสดงในหน้าแรก

3.MessageIndex.template.php
ไฟล์นี้ แสดงกระทู้รวมในหมวดหนึ่งๆ ที่เราคลิกจากหน้าแรกมีโครงสร้างเป็นตาราง Table

4. Display.template.php
แสดงรายละเอียดของกระทู้ พร้อมทั้งคำตอบ

5. Post.template.php
ไฟล์นี้จัดการฟอร์มสำหรับโพสต์กระทู้

เมื่อรู้ว่าไฟล์ไหนทำอะไรแล้ว เวลาจะทำการจัดการแก้ไข ก็ง่ายขึ้นครับ

http://nevikup.blogspot.com/2014/06/theme-smf-core.html